สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นส่วนราชการไทยประเภทกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา 3/1 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 เป็นหน่วยงานทั้งของรัฐและรัฐวิสาหกิจ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
Office of the Public Sector Development Commission
สำนักงาน ก.พ.ร.
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545; 21 ปีก่อน (2545-10-03)
สำนักงานใหญ่59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
งบประมาณต่อปี179.313 ล้านบาท (พ.ศ. 2564)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ[2], เลขาธิการ
  • วิริยา เนตรน้อย, รองเลขาธิการ
  • อารีย์พันธ์ เจริญสุข, รองเลขาธิการ
  • สุรุ่งลักษณ์ เมฆะอำนวยชัย[3], รองเลขาธิการ
  • ศิริเนตร กล้าหาญ[4], รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดหน่วยงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์opdc.go.th

ประวัติ

การปฏิรูประบบราชการเมื่อปี พ.ศ. 2545 ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารงานและการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการในทุกกระทรวง ทบวง กรม ครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ได้มุ่งเน้นให้การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ และกำหนดให้มี คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังกล่าว โดยมี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบราชการ ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

จึงนับได้ว่าสำนักงาน ก.พ.ร. ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 โดยในครั้งนั้นได้กำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. มีลักษณะเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ต่อมา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550 ได้กำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ ก.พ.ร. และหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือ ก.พ.ร. กำหนด โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงาน ก.พ.ร. และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จึงถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงาน ก.พ.ร.

คณะกรรมการ

คณะรัฐมนตรีไทย มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 แต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการดังรายนามต่อไปนี้

  1. ด้านการเงินการคลัง รองศาสตรจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
  2. ด้านเศรษฐศาสตร์ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล
  3. ด้านรัฐศาสตร์ นายนรชิต สิงหเสนี
  4. ด้านรัฐศาสตร์ นายไมตรี อินทุสุต
  5. ด้านนิติศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
  6. ด้านนิติศาสตร์ นายปกรณ์ นิลประพันธ์
  7. ด้านบริหารรัฐกิจ ศาสตราจารย์พิเศษทศพร ศิริสัมพันธ์
  8. ด้านบริหารธุรกิจ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
  9. ด้านจิตวิทยาองค์การ นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์[5]
  10. ด้านสังคมวิทยา นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

รายนามเลขาธิการ

รายนามวาระการดำรงตำแหน่ง
1.ศ.พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556[6] (ครั้งที่ 1)
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559[7] - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (ครั้งที่ 2)
2. ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
3. พงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล27 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558
4. ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[8] - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
5. ปกรณ์ นิลประพันธ์29 มิถุนายน พ.ศ. 2561[9] - 30 มกราคม 2563
6. อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 [10] - ปัจจุบัน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย