แปลก สัตยานุกูล

คุณหญิงสัตยานุกูล มีนามเดิมว่า แปลก สกุลโรจนกุล เป็นนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5 และนางสนองพระโอษฐ์ (ข้าหลวงฝ่ายใน) ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รัชกาลที่ 6


สัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล)

ภาพถ่ายคุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล) เมื่อ พ.ศ. 2455 ขณะเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ 6
ภาพถ่ายคุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล) เมื่อ พ.ศ. 2455 ขณะเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ 6
เกิดแขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์
สัญชาติไทย
อาชีพนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5
นางสนองพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ 6
ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
คู่สมรสพระยาสัตยานุกูล (นุช มหานีรานนท์)
บุตร
  • ขุนสมานสมุทกรรม (บุนย์หนุน มหานีรานนท์)[1]
  • โน้ม มหานีรานนท์
  • เนิน มหานีรานนท์
  • แนบ มหานีรานนท์
  • เนียน มหานีรานนท์
  • สำราญ มหานีรานนท์

ประวัติ

คุณหญิงสัตยานุกูล นามเดิม แปลก[2][3] (สกุลเดิม: โรจนกุล) เกิดในรัชกาลที่ 4 มีนิวาสสถานเดิมอยู่ที่แขวงบ้านช่างหล่อ วังหลัง ด้านหลังโรงพยาบาลศิริราช[4] เมื่อวัยเยาว์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้คุณแปลกเข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นคุณพนักงานชั้นนางพระกำนัลส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในพระบรมมหาราชวัง[5]

สมัยรัชกาลที่ 5 คุณแปลกได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนางพระกำนัลเพื่อสมรสกับพระยาประสิทธิสงคราม (นุช) (ต้นสกุล: มหานีรานนท์) ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี (บรรดาศักดิ์เดิม: พระจินดารักษ์) ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย มีบุตรและบุตรีรวม 6 คน ซึ่งบุตรีคนที่ 4 ชื่อ แนบ มหานีรานนท์[6]

สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก) เข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ (ฝ่ายใน) ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2455[7] และโปรดเกล้า ฯ ให้ คุณแนบ มหานีรานนท์ บุตรีของคุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก) เป็นข้าหลวง (ฝ่ายใน) ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงตามมารดา[8] ซึ่งกาลต่อมาบุตรีของท่านกลายเป็นปูชนียบุคคลสำคัญด้านพระพุทธศาสนา คือ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ บรรดาศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันเป็นก่อตั้งมูลนิธิแนบมหานีรานนท์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ณ บ้านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร[9]

เมื่อ พ.ศ. 2466 ปีกุน เดือนมีนาคม คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก) ได้กราบบังคมทูลใต้ฝ่าพระบาทขอพระอนุญาตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หอพระสมุดวชิรญาณ เพื่อขอจัดพิมพ์หนังสือแจกงานปลงศพสนองคุณผู้สามีในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาสัตยานุกูล (นุช มหานีรานนท์) ผู้กำกับถือน้ำพิพัฒน์สัตยา กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นราชทินนามและตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการ เสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ จึงโปรดประทานให้พิมพ์หนังสือเรื่อง “เรื่องไทรโยคเปนอย่างไร[10] พระนิพนธ์ของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และทรงเรียบเรียงประวัติแทรกไว้เป็นที่ระลึก

คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล) มีอุปนิสัยรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ และจัดให้มีการทำบุญและสนทนาธรรมอยู่เป็นประจำ ณ นิวาสสถานของตน ส่งผลให้บุตรธิดาสนใจในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์[8]

ตำแหน่งราชการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

เชิงอรรถ
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย