สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (อังกฤษ: Chao Phraya Sky Park) เป็นสวนสาธารณะแนวยาวลอยฟ้าในกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นบนเกาะกลางสะพานพระปกเกล้าซึ่งเคยเป็นโครงสร้างโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินที่ถูกยกเลิก ทางเดินดังกล่าวมีความยาวประมาณ 280 เมตร ออกแบบโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563[1] ถือเป็นสวนลอยฟ้าแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [2]

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา
แผนที่
ประเภทสวนสาธารณะแนวยาวในเมือง
ที่ตั้งแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
พื้นที่แนวยาว 280 เมตร บนเกาะกลางสะพานพระปกเกล้า
เปิดตัว24 มิถุนายน พ.ศ. 2563; 3 ปีก่อน (2563-06-24)
ฝาท่อระบายน้ำบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

ประวัติ

พืชในสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา
วิวแม่น้ำเจ้าพระยาจากสวนลอยฟ้า

สะพานแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลิน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของกรุงเทพมหานคร มีการศึกษาเส้นทางการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนเริ่มลงนามในสัญญาก่อสร้างในปี พ.ศ. 2533 หลังจากนั้นเพียง 2 ปี บริษัทลาวาลินประสบปัญหาทางการเงินจึงต้องล้มเลิกโครงการไปเหลือเพียงสะพาน ต่อมากรุงเทพมหานครได้ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (ศปพ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาภูมิทัศน์บริเวณชุมชนกุฎีจีน จนถึงเขตคลองสาน[3] [4]

ดังนั้น จึงได้มีโครงการปรับปรุงซากสะพานร้างแห่งนี้ให้เป็นสวนสาธารณะกลางแม่น้ำ ออกแบบโดย บริษัท เอ็นเจ็ดเอ จำกัด ซึ่งดูแลด้านสถาปัตยกรรม และบริษัท แลนด์ โปรเซส จำกัด ซึ่งดูแลด้านภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งเดิมชื่อว่า "สวนลอยฟ้าพระปกเกล้า" ต่อมาได้ส่งมอบให้กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2561 โดยบริษัท SGR ซึ่งเสนอราคาโครงการในราคา 122 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 และเสร็จสิ้นตามสัญญาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 กทม. จัดประกวดชื่อสวนสาธารณะกลางสายน้ำแห่งนี้ ชื่อที่ชนะการประกวดคือ "สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา" และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563[5]

การออกแบบ

จักรดาว นาวาเจริญ สถาปนิกจาก N7A กล่าวว่า โจทย์ที่ได้มาตอนแรกนั้นยากมาก โครงสร้างเดิมถูกสร้างมาสำหรับโครงการรถไฟฟ้า ข้อจำกัดอย่างแรกคือตำแหน่งของโครงการอยู่ระหว่างทางรถวิ่งเป็นถนน 3 เลนทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้ทางเดินข้ามสะพานนี้ค่อนข้างแคบ อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งของโครงการก็ได้เปรียบ แม้ว่าจะถูกแนวจราจรบนสะพานพระปกเกล้าบังอยู่ แต่ก็ยังสามารถมองเห็นทั้งสะพานพระพุทธยอดฟ้าและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารได้[6]

ที่ตั้ง

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ตั้งอยู่ตรงเกาะกลางของสะพานพระปกเกล้า [7]

จุดสำคัญบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

  • การออกแบบทางเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา - มีทางเดินและทางจักรยานยาวประมาณ 280 เมตร กว้าง 8.50 เมตร มีราวกันตกสูง 2-3 เมตร พร้อมลิฟต์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
  • ปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด - มีพื้นที่สีเขียวตลอดทางเดิน โดยเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะกับสภาพอากาศของกรุงเทพฯ ต้นมะกอกน้ำเป็นไม้ยืนต้นหลักและพันธุ์ไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิด เช่น ไม้ด่าง ยี่โถ เหยือกสีม่วง กระเบน และ ดอกดิน เพิ่มพื้นที่สีเขียวและต้นไม้ให้กับเมือง อีกทั้งพืชบนสวนลอยฟ้ายังมีประโยชน์ต่อแมลงและระบบนิเวศโดยรวม
  • ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาแบบ 360 องศา – โดยแบ่งจุดชมวิวออกเป็น 3 จุด ประกอบด้วย ลานอรุณรุ่ง, ลานใจเจ้าพระยา และลานตะวันรอน เพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานครที่มีชีวิตชีวาและมีความหมายต่อเมืองเก่าสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  • ทางเดินบนสวนลอยฟ้า - เมื่อสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาได้เชื่อมต่อการสัญจรระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร และเชื่อมพื้นที่และส่งเสริมภูมิทัศน์บริเวณชุมชนกุฎีจีนถึงย่านคลองสาน เชื่อมสวนป่ากรุงเทพมหานครพระปกเกล้า สะพานเข้าสวนพระปกเกล้า เขตพระนคร เรื่อยมาจนถึงบริเวณคลองรอบกรุงรัตนโกสินทร์และเขตอื่น ๆ ทำให้สามารถเดินไปยังจุดอื่น ๆ ในระยะใกล้ได้ เช่น ไปรษณียาคาร, สะพานพระพุทธยอดฟ้า, วัดประยุรวงศาวาส, วัดซางตาครู้ส และชุมชนกุฎีจีน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′20″N 100°29′54″E / 13.738764°N 100.498364°E / 13.738764; 100.498364

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย