สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์

สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์ หรือ สมศักดิ์ สิงห์ชัชวาลย์ มีชื่อจริงว่า สมศักดิ์ ต๊ะสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นแชมป์โลกมวยสากลของ WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท ที่คว้าแชมป์มาครองได้อย่างสะใจคนไทย ด้วยการชนะทีเคโอแชมป์โลกถึงถิ่นที่ประเทศฝรั่งเศสอย่างดุเดือด แม้จะได้ครองตำแหน่งเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม

สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์
ชื่อจริงสมศักดิ์ ต๊ะสิทธิ์
ฉายาสิงห์หน้าหยก
นักชกใจเพชร
รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท
ซูเปอร์แบนตัมเวท
ซูเปอร์เฟเธอร์เวท
เกิด17 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 (46 ปี)
จังหวัดลำปาง
ชกทั้งหมด68 (ไม่มีการตัดสิน 1 ครั้ง)
ชนะ60
ชนะน็อก44
แพ้4 (น็อก 3)
เสมอ3
ผู้จัดการก่อเกียรติ พณิชยารมณ์
สุชาติ เกิดเมฆ
ค่ายมวยก่อเกียรติกรุ๊ป
เทรนเนอร์บ็อบบี้ วิลลาเวอร์

ประวัติ

ในวัยเด็กสมศักดิ์เป็นเด็กที่เกเรพอสมควร และมีนิสัยส่วนตัวชอบเลี้ยงไก่แจ้ สมศักดิ์เมื่อชกมวยสากลอาชีพ สามารถคว้าแชมป์เงาของ IBF จูเนียร์แบนตัมเวท มาได้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ที่ประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่ได้ป้องกันตำแหน่งเลยสักครั้ง จึงสละมาเพื่อชิงแชมป์โลกในรุ่นที่ใหญ่กว่าคือ ซูเปอร์แบนตัมเวท ของ WBF ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 จากนั้นได้ป้องกันตำแหน่งไว้ได้อีก 5 ครั้ง ก่อนที่จะสละตำแหน่งแชมป์ไปในปี พ.ศ. 2544 เพื่อขึ้นชิงแชมป์เฉพาะกาล PABA (สมาคมมวยแห่งทวีปเอเชีย Pan Asian Boxing Association) ในรุ่นเดียวกัน โดยการเอาชนะน็อกนักมวยชาวญี่ปุ่น จากนั้นจึงได้เคลื่อนไหวชกอีก 2 ครั้ง ก่อนจะได้ชิงแชมป์จริงโดยชนะน็อกนักมวยชาวอินโดนีเซียไปได้ และสามารถป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ถึง 18 ครั้ง

ต่อมา สมศักดิ์มีอันดับโลกของWBA ในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท อันดับที่ 1 จึงได้ขึ้นแชมป์โลกในไฟท์บังคับ กับ มาห์ยาร์ มงชิปัวร์ นักมวยชาวฝรั่งเศส ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ที่จังหวัดโอดแซน ถิ่นของเจ้าของตำแหน่งเอง การชกในครั้งนั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้น เพราะทั้งคู่ผลัดกันรุกผลัดกันรับตลอดเวลา ก่อนที่สมศักดิ์จะเป็นฝ่ายเอาชนะที.เค.โอ.ไปได้ในยกที่ 10 อย่างไม่มีใครคาดคิด เพราะก่อนชกบ่อนการพนันถูกกฎหมายที่ฝรั่งเศส ให้ราคาต่อรองแทงหนึ่งจ่ายถึงสี่เท่าหากสมศักดิ์เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งต่อมาในปลายปีการชกคู่นี้ทาง WBA ให้ยกย่องให้เป็นไฟต์ดุเดือดที่สุดแห่งปีด้วย และทำให้สมศักดิ์กลายเป็นนักมวยไทยรายแรกที่ได้แชมป์โลกที่ทวีปยุโรป และได้อีกหนึ่งฉายาคือ "นักชกใจเพชร"

แต่เมื่อป้องกันตำแหน่งเพียงครั้งแรก สมศักดิ์ก็เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอ​เพียงแค่ยก 3 ต่อ เซเลสติโน กาบาเยโร นักมวยแชมป์เฉพาะกาล WBA รุ่นเดียวกันชาวปานามาไปในปลายปีเดียวกันอย่างไม่มีใครคาดคิดอีกเช่นกัน

จากนั้นสมศักดิ์จึงชกเคลื่อนไหวอีกหลายครั้ง ทำฟอร์มชนะรวด และต้องมาชกตัดเชือกเพื่อค้นหาผู้ที่จะได้ขึ้นชิงแชมป์โลก WBA ในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท ต่อไป กับ พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม นักมวยไทย อดีตแชมป์เฉพาะกาลของ WBA รุ่นแบนตัมเวท เมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ที่ศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม การกีฬาแห่งประเทศไทย[1] ซึ่งมวยคู่นี้เป็นที่สนใจอย่างมากของแฟนมวยชาวไทย และผลปรากฏว่าสมศักดิ์เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยกที่ 11 ไป จนในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 สมศักดิ์แพ้น็อกยกที่ 4 ต่อ เฟอร์นันโด ออติช นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่ที่ว่าการอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมศักดิ์จึงประกาศแขวนนวมไปในที่สุด

ชีวิตส่วนตัว สมศักดิ์สมรสแล้ว มีลูกสาว 1 คน และลูกชาย 2 คน ปัจจุบันตั้งรกรากใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหลังแขวนนวมแล้ว สมศักดิ์มีอาชีพเป็นอาจารย์ประจำสถาบันการพลศึกษาเชียงใหม่ โดยสอนมวยไทยและมวยสากล ทั้งสอนมาตั้งแต่ยังชกมวยอยู่ และยังสอนที่ศูนย์กีฬาแห่งความเป็นเลิศ ของสถาบันการพลศึกษาเชียงใหม่อีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นกรรมการตัดสินมวย และยังเป็นเจ้าของค่ายมวย "ส.สมศักดิ์" ที่ลูกชายทั้ง 2 ก็เป็นนักมวยอยู่ด้วย[2]

ชื่อนักมวยอื่นๆ

  • สมศักดิ์ ก่อเกียรติยิม

เกียรติประวัติ

  • แชมป์เงา IBF รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท (2539 -2540)
    • ชิง, 7 ธันวาคม 2539 ชนะน็อคยกที่ 11 ริคกี้ มาทูเลสซี่ (อินโดนีเซีย) ที่ สุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย
    • พ.ศ. 2540 สละแชมป์
  • แชมป์โลก WBF รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (2541 - 2544)
    • ชิง 27 ธันวาคม 2541 ชนะน็อค ยก 5 เอลจอน ทาโบส (  แอฟริกาใต้) ที่ วงเวียนใหญ่ กทม.
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 9 กรกฎาคม 2542 ชนะคะแนน เจฟฟรีย์ มูนิกา (  เคนยา) ที่ จ.อ่างทอง
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 29 ตุลาคม 2542 ชนะน็อค ยก 4 อัลฟา ริซี่ (  อินโดนีเซีย) ที่ จ.ลำปาง
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 10 ธันวาคม 2542 เสมอกับ ฮารุโกะ คาวาอิ (  ญี่ปุ่น) ที่ จ.สุพรรณบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 11 มิถุนายน 2543 ชนะน็อค ยก 3 เฮร์รี มากาวิมบัง (อินโดนีเซีย) ที่ เถาเหยิน ไต้หวัน
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 25 พฤศจิกายน 2543 ชนะคะแนน ฮาซัน อัมบน (อินโดนีเซีย) ที่ จ.กาญจนบุรี
    • พ.ศ. 2544 สละแชมป์
  • แชมป์เฉพาะกาล PABA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (2544)
    • ชิง 9 มิถุนายน 2544 ชนะน็อค ยก 7 ทากาโอะ อิเกดะ (ญี่ปุ่น) ที่พัทยา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 ตุลาคม 2544 ชนะน็อค ยก 2 อลัน เมอร์เร (  ฟิลิปปินส์) ที่ จ.สุพรรณบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 27 ธันวาคม 2544 ชนะน็อค ยก 3 ไมเคิล โดมิงโก (ฟิลิปปินส์) ที่ วงเวียนใหญ่ (ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นแชมป์จริง)​
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 8 มีนาคม 2545 ชนะน็อค ยก 3 ฮารี ซูฮารียาดี (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดนครราชสีมา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 16 สิงหาคม 2545 ชนะน็อค ยก 6 แอบแรม ลูบิซี่ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.ฉะเชิงเทรา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 14 พฤศจิกายน 2545 ชนะคะแนน แอนดรีส ดิก (แอฟริกาใต้) ที่ ตลาดกรุงเทพฯ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 27 ธันวาคม 2545 ชนะน็อค ยก 12 เอ็ดเวิร์ด มโพฟู (แอฟริกาใต้) ที่ วงเวียนใหญ่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 11 เมษายน 2546 ชนะน็อค ยก 12 เทรเวอร์ กูซ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.ชุมพร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 5 มิถุนายน 2546 ชนะคะแนน อเล็กซานเดอร์ เอสคาสเนอร์ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.อุตรดิตถ์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 1 สิงหาคม 2546 ชนะคะแนน โรเบิร์ต ดาลินเซ (ฟิลิปปินส์) ที่ ห้างเดอะมอลล์ ท่าพระ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 12 กันยายน 2546 ชนะน็อค ยก 8 มาเซล คาซิมอฟ (  รัสเซีย) ที่ จ.หนองคาย
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11, 28 พฤศจิกายน 2546 ชนะน็อค ยก 7 ทาเคียร์ อิบรากิมอฟ (  คาซัคสถาน) ที่ จ.เชียงราย
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12, 27 กุมภาพันธ์ 2547 ชนะน็อค ยก 7 เออร์ซิน คาลูลอฟ (คาซัคสถาน) ที่ กรุงเทพฯ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13, 25 มีนาคม 2547 ชนะคะแนน ดอน ดอน ลาปุส (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ตราด
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 14, 29 เมษายน 2547 ชนะน็อค ยก 2 สตีเว่น โทเกลัง (อินโดนีเซีย) ที่ จ.นครราชสีมา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15, 13 สิงหาคม 2547 ชนะคะแนน ซิมสัน บูต้า บูต้า (อินโดนีเซีย) ที่ พัทยา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16, 1 กุมภาพันธ์ 2548 ชนะน็อค ยก 6 ยูริ จาร์คอฟ (คาซัคสถาน) ที่ ลานพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 17, 24 มีนาคม 2548 ชนะน็อค ยก 2 โยกี้ กอนซาเลซ (อินโดนีเซีย) ที่ จ.แพร่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 18, 19 เมษายน 2548 ชนะน็อค ยก 6 ซอลต์ โพโทสต์ (  เช็กเกีย) ที่ สวนลุมไนท์บาซ่าร์ พระราม4
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 19, 29 มิถุนายน 2548 ชนะน็อค ยก 5 วูยิไยต์ เบเบ้ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.อุบลราชธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 20, 20 กันยายน 2548 ชนะน็อค ยก 6 อัลมาซ แอสซานอฟ (คาซัคสถาน) ที่ จ.พังงา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 21, 21 พฤศจิกายน 2548 ชนะน็อคยกที่ 6 แอดเรียนุส คาอาอูนี่ (อินโดนีเซีย) ที่ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
    • พ.ศ. 2549 สละแชมป์
  • แชมป์โลก WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (2549)
  • แชมป์เฉพาะกาล PABA รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท
    • ชิง 12 มิถุนายน 2552 ชนะคะแนน เอ็ดดี้ โคมาโร (อินโดนีเซีย) ที่ มุกดาหาร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 9 ตุลาคม 2552 เสมอ ดันเต้ เปาลิโน (ฟิลิปปินส์) ที่ สงขลา
  • เ​คยชิงแชมป์​ต่อไปนี้แต​่ไม่สำเร็จ
    • ชกคัดเลือกผู้ท้าชิงแชมป์โลก WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท, 31 มีนาคม 2551 แพ้ทีเคโอยก 11 พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม ที่ศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย