สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Institute of Electrical and Electronics Engineers) หรือ ไอทริปเพิลอี (IEEE) เป็นสถาบันวิชาชีพระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่ดูแลเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดย IEEE เป็นสถาบันวิชาชีพที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลก (มากกว่า 360,000 คนใน 175 ประเทศ)

สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ก่อตั้ง1 มกราคม 1963; 61 ปีก่อน (1963-01-01)
ประเภทสมาคมวิชาชีพ
Tax ID no.
13-1656633[1]
สถานะตามกฎหมายองค์การไม่แสวงหาผลกำไร
วัตถุประสงค์ไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์, การสื่อสาร, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ[2]
ที่ตั้ง
ถิ่นดั้งเดิมการควบรวมกิจการของสถาบันวิศวกรไฟฟ้าแห่งอเมริกาและสถาบันวิศวกรวิทยุ
สมาชิก
ประมาณ 419,000 คน
บุคลากรหลัก
Thomas M. Coughlin (President and CEO)
Kathleen A. Kramer (President-Elect):
รายได้
563 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เว็บไซต์www.ieee.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ประวัติ

สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาการใหม่ๆ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1963 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการรวมตัวของ 2 สถาบัน คือ AIEE และ TRE ซึ่งดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาศาสตร์ด้านการโทรคมนาคม ระบบแสง ไฟฟ้ากำลัง และอื่นๆมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884

IEEE เป็นสถาบันที่กำกับดูแลมาตรฐานทางไฟฟ้า เป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เน้นไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบวัดคุม และอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเรื่อง Hi-Tech ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง

IEEE มีสมาชิกเป็นวิศวกร นักวิจัย ที่มีความรู้ ความสามารถจากทั่วโลก โดยสมาชิกจะแบ่งกลุ่มศึกษาเรื่องตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละบุคคล IEEE จึงมีกลุ่มศึกษาเรื่องเฉพาะด้าน หลายสิบกลุ่ม ทุกกลุ่มมีบทบาทในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทั้งจัดประชุมวิชาการประจำปี จัดประชุมวิชาเฉพาะเรื่อง กำหนดมาตรฐานทางไฟฟ้า คิดค้นนวัตกรรมและเขียนรายการเผยแพร่ในรูปวารสารวิชาการ องค์ความรู้ทั้งหมดได้ถูกรวบรวมเพื่อจัดเก็บอย่างมีระบบ และสามารถค้นคืน เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ผลงานที่สำคัญ

  • IEEE 802 - LAN/MAN
    • IEEE 802.1
      • 802.1D – Spanning Tree Protocol
      • 802.1Q – Virtual Local Area Networks (VLAN)
      • 802.1aq - Shortest Path Bridging (SPB)
    • IEEE 802.3 - Ethernet
    • IEEE 802.11 - WiFi
    • IEEE 802.16 - WiMax เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 จิกะเฮิรตซ์ (GHz)
    • IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6-4.8 กิโลเมตร มีระบบช่วยที่ช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
  • IEEE 1003 - POSIX
  • IEEE 1076 - VHDL
  • IEEE 1394 - FireWire

อ้างอิง

  • KSC Newsletter ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 2007

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย