สง่า วัชราภรณ์

สง่า วัชราภรณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 7 สมัย[1] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ปี พ.ศ. 2535 รวมระยะเวลาในการมีบทบาททางการเมืองกว่า 35 ปี มีบุตรเป็นนักการเมือง 2 คน คือ ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีและอดีต ส.ส.ศรีสะเกษ และ ดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ

สง่า วัชราภรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
เสียชีวิต25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (92 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองธรรมสังคม
เสรีธรรม
ชาติไทย
รวมไทย
เอกภาพ
กิจสังคม ( ? - ? )
คู่สมรสนางมาลี วัชราภรณ์

ประวัติ

สง่า วัชราภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 เป็นบุตรของนายชุ่ม กับนางกิมลี้ นามสกุลเดิมคือ มูลเจริญ เกิดที่บ้านริมคลองมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีพี่น้อง 4 คน อาชีพเดิมของครอบครัวคือ ทำนา บิดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเด็ก ชั้นประถมได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดไร่ขิง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย[2]

การทำงาน

หลังจากนั้นเขาได้สอบเป็นครูประชาบาล ที่โรงเรียนมหินทรศึกษาคาร ต่อมาย้ายกลับไปเป็นครูที่โรงเรียนประชาบาลวัดไร่ขิง ช่วงปดภาคเรียนก็ได้ไปเรียนต่อวิชาช่างที่โรงเรียนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ จนได้รับประกาศนียบัตรจากสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม เขาจึงลาออกไปทำงานที่บริษัทไทยนิยมแผนกสร้างทาง ได้รับมอบหมายให้ไปคุมงานก่อสร้างทางสายธนบุรี-ประจวบตีรีขันธ์ ทำงานได้ไม่นานจึงลาออกไปสมัครเข้าทำงานในเทศบาลเมืองตะกั่วป่า กระทั่งในปี พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นโยธาเทศบาลจังหวัดศรีสะเกษ[2]

สง่า ลาออกจากราชการและลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ผลปรากฏว่าได้คะแนนลำดับที่ 16 จากผู้สมัคร 31 คน[2]

หลังจากนั้นเขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ศรีสะเกษ 7 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคเสรีธรรม, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย และสมัยสุดท้ายคือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม

สง่า เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[3]

ถึงแก่อนิจกรรม

สง่า วัชราภรณ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย