สงครามจีน–พม่า

(เปลี่ยนทางจาก สงครามจีน-พม่า)

สงครามจีน–พม่า (พม่า: တရုတ်-မြန်မာ စစ်, จีน: 中緬戰爭, 清緬戰爭) หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (อังกฤษ: Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty)[9] เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์ชิงของจีนและราชวงศ์โก้นบองของพม่า จีนภายใต้จักรพรรดิเฉียนหลงเปิดการรุกรานพม่า 4 ครั้งระหว่างปี 2308 ถึง 2312 ซึ่งถือเป็น 1 ใน สิบการทัพใหญ่ของพระองค์ อย่างไรก็ตาม สงครามที่คร่าชีวิตทหารจีนไปกว่า 70,000 นายและผู้บังคับบัญชา 4 นาย[10] ได้รับการอธิบายว่าเป็น "สงครามชายแดนที่หายนะที่สุดที่ราชวงศ์ชิงเคยเผชิญมา"[9] และเป็นสงครามที่ "รับประกันเอกราชของพม่า"[11]

สงครามจีน–พม่า
ส่วนหนึ่งของ สิบการทัพใหญ่

สงครามจีน-พม่า ซึ่งกินระยะเวลาถึง 4 ปี
วันที่ธันวาคม พ.ศ. 2308 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312
สถานที่
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาน, รัฐกะชีน, มณฑลยูนนาน, พม่าตอนบน
ผล

พม่าได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์ชิง ราชวงศ์โก้นบอง
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ราชวงศ์ชิง จักรพรรดิเฉียนหลง
ราชวงศ์ชิง หลิว จ่าว
ราชวงศ์ชิง หยาง อิงจวี
ราชวงศ์ชิง หมิงรุ่ย [1]
ราชวงศ์ชิง เอ๋อเอ่อร์เติงเอ๋อ
ราชวงศ์ชิง อาหลี่กุย [1]
ราชวงศ์ชิง ฟู่ เหิง [1]
ราชวงศ์ชิง อาหลี่กุ่น 

ราชวงศ์ชิง อากุ้ย

พระเจ้ามังระ
อะแซหวุ่นกี้
มหาซีตู
เนเมียวสีหตู
บาลามินดิน
เนเมียวสีหบดี
เต็งจามินกอง

ปีแยร์เดอมิลารด์
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพแปดกองธง

ราชวงศ์ชิง กองธงเขียว

มองโกล

กองทัพไทใหญ่
กองทัพอาณาจักรพม่า
ทหารเกณฑ์ชาวพม่าและไทใหญ่
กำลัง

ครั้งที่ 1ทั้งหมด: ทหารราบ 5,000, ทหารม้า 1,000[note 1]

  • กองธงเขียว 3,500[2]
  • กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 2
ทั้งหมด: ทหารราบ 25,000, ทหารม้า 2,500[note 1]

  • กองธงเขียว 14,000 นาย[3]
  • กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 3
ทั้งหมด: 50,000[4]

  • แปดกองธงและมองโกล 30,000[5]
  • กองธงเขียว 12,000
  • กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 4
ทั้งหมด: 60,000[6]

  • แปดกองธงและมองโกล 40,000[2]
  • กองธงเขียว และ กองกำลังผสมไทใหญ่

ครั้งที่ 1ทั้งหมด: ไม่ทราบ

  • ทหารราบ 2,000, ทหารม้า 200 (กองทัพอาณาจักรพม่า)[note 1]
  • กองหนุนไทใหญ่เมืองกองตน

ครั้งที่ 2
ทั้งหมด: ไม่ทราบ

  • ทหารราบ 4,500, ทหารม้า 200[note 1]
  • ทหารเมืองกองตน

ครั้งที่ 3
ทั้งหมด: ~ทหารราบ 30,000, ทหารม้า 2,000[note 2]


ครั้งที่ 4

ทั้งหมด: ~40,000[note 3]
ความสูญเสีย

'ครั้งที่ 2: ~20,000
'ครั้งที่ 3: 30,000+[note 4]
'ครั้งที่ 4: 20,000+[7]
ทั้งหมด: 70,000+

ถูกจับ 2,500 [8]
ไม่ทราบจำนวน แต่น้อย

การสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างการทำสงครามของอาณาจักรโก้นบองกับอาณาจักรอยุธยา และยาวไปจนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2310 ในพงศาวดารพม่าระบุว่า พระเจ้ามังระมีพระราชสาส์นให้นายทหารและแม่ทัพในสงครามคราวนี่เร่งรีบกระทำการ และรีบเดินทางกลับอังวะเพื่อที่จะเตรียมการรับสงครามคราวนี้[ต้องการอ้างอิง]

เหตุแห่งสงครามมาจากความขัดแย้งระหว่างพม่ากับจีนในเรื่องหัวเมืองไทใหญ่ ซึ่งกองทัพพม่าได้ยกเข้าดินแดนไทใหญ่และรุกคืบไปเรื่อยๆ ทำให้พวกเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากจีน ซึ่งทั้งสองมีพรมแดนติดต่อกันระหว่างจีนกับพม่าทางมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ซึ่งเคยมีปัญหามาก่อนตั้งแต่ยุคพระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอู โดยในครั้งนี้ราชวงศ์ชิงซึ่งปกครองโดยจักรพรรดิเฉียนหลง ได้ส่งกองทหารจากแปดกองธงอันเกรียงไกรเข้าทำลายพม่าแต่ก็ต้องผิดหวังทุกครั้ง โดยในระหว่างสงคราม หลิวเจ้าแม่ทัพกองธงเขียว (บุกครั้งที่ 1) หยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว (บุกครั้งที่ 2) รวมถึงพระนัดดาหมิงรุ่ยแห่งกองธงเหลือง (ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้) ขุนพลเอกแห่งราชวงศ์ชิงผู้พิชิตมองโกลและเติร์ก (บุกครั้งที่ 3) ต้องฆ่าตัวตายหนีความอัปยศเพราะความพ่ายแพ้ โดยในการบุกครั้งที่ 4 จักรพรรดิเฉียนหลงได้เรียกเสนาบดีระดับสูงให้มารวมตัวกันครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์ ประกอบด้วยองค์มนตรีฟู่เหิงแห่งกองธงเหลืองขลิบซึ่งเป็นลุงของหมิงรุ่ยผู้มีประสบการณ์ในการรบกับมองโกลมาแล้วอย่างโชกโชน พร้อมด้วยเสนาบดีอีกหลายนายเช่น เสนาบดีกรมกลาโหมอากุ้ยแห่งกองธงขาว(ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นบิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจี่ยชิ่งเช่นเดียวกับฟู่เหิง) [12] แม่ทัพใหญ่อาหลีกุ่น รวมทั้งเอ้อหนิงสมุหเทศาภิบาลมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว (ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกรมกลาโหม) ให้เตรียมการบุกพม่าเป็นครั้งที่ 4 และทำพิธีส่งกองทัพนี้อย่างยิ่งใหญ่โดยจักพรรดิเฉียนหลงเป็นประธานในพิธี กองทัพนี้ประกอบไปด้วยกำลังพลจากทั้งแปดกองธงและกองธงเขียว ในครั้งนี้กองทัพต้าชิงสามารถรุกเข้าไปในดินแดนของพม่าได้ลึกพอสมควร แต่กองทัพของเนเมียวสีหบดีก็กลับมาได้ทัน สงครามเป็นไปอย่างดุเดือดสุดท้ายกองทัพพม่าสามารถล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ แต่อะแซหวุ่นกี้ได้ตัดสินใจยุติสงครามที่เปล่าประโยชน์ครั้งนี้ลง ด้วยการบีบให้กองทัพต้าชิงซึ่งติดอยู่ในวงล้อมตัดสินใจเจรจา

สงครามสิ้นสุดลงด้วยการเจรจาและบรรลุสนธิสัญญาก้องโตน โดยยึดเอาแนวเขตพรมแดนเดิม[13] โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างชัยชนะในสงครามครั้งนี้ และสงครามครั้งนี้ยังทำให้พระเกียรติยศของพระเจ้ามังระเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หลังจากก่อนหน้านี้กองทัพของพระองค์ก็สามารถพิชิตอยุธยาได้ในเวลาไล่เลี่ยกัน รวมถึงอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพฝ่ายพม่าเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา ก่อนที่จะมีบทบาทสำคัญต่อมาอีกหลายครั้งในภายหลังทั้งทางด้านการเมืองและการศึกสงคราม

การบุกทั้ง 4 ครั้งของต้าชิง

  • การบุกครั้งที่ 1 ต้าชิงเลือกใช้กองธงเขียวของมณฑลหยุนหนาน ผสมกับกองกำลังไทใหญ่โดยมีหลิวเจ้าเป็นแม่ทัพ ซึ่งหลิวเจ้าถูกเนเมียวสีหตู แสร้งทำเป็นแพ้ หลิวเจ้าหลงกลตามไป ถูกกองทัพของเนเมียวสีหตูซุ่มโจมตีจนพ่ายแพ้
  • การบุกครั้งที่ 2 ต้าชิงยังเลือกส่งหยางอิงจวี่แห่งกองธงเขียว มาผสมกับกองกำลังไทใหญ่เช่นเดิมหมายพิชิตพม่าให้ได้ แต่บาลามินดินสามารถต้านทานการบุกของต้าชิงที่เมืองก้องโตนได้อย่างเด็ดขาด ประกอบกับการดักซุ่มโจมตีตัดเสบียงของเนเมียวสีหตู ทำให้กองทัพต้าชิงพ่ายแพ้เป็นครั้งที่ 2
  • การบุกครั้งที่ 3 จักรพรรดิเฉียนหลง เห็นแล้วว่ากองธงเขียวไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ จึงได้ส่งกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงในยุคนั้นอย่างกองทัพแปดกองธง และยังส่งแม่ทัพที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ชิงอย่าง หมิงรุ่ยแห่งกองธงเหลือง ผู้พิชิตมองโกลและซินเจียงมาแล้ว โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน แต่ครั้งนี้กองทัพต้าชิงก็ต้องมาเจอกับแม่ทัพที่ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคอย่างอะแซหวุ่นกี้ ที่สามารถวางแผนล่อกองทัพต้าชิงมายังจุดที่ต้องการได้ โดยแสร้งทำเป็นแพ้ให้กองทัพต้าชิงบุกลึกเข้ามาเผชิญหน้ากับพระเจ้ามังระ หมิ่งรุ่ยไม่สามารถเอาชนะได้ทำให้กองทัพถูกตรึงเอาไว้แถบชานเมืองอังวะ ในขณะนั้นเองพระเจ้ามังระได้ตัดสินใจส่งกองกำลังพิเศษของพระองค์นำโดยเนเมียวสีหตู และเตงจามินกองออกไปทำส่งครามกองโจรตัดเสบียงที่ส่งมาจากเมืองแสนหวีอย่างได้ผล ทำให้กองทัพของหมิงรุ่ยที่บุกลึกเข้ามาเริ่มอดอาหาร ส่วนอะแซหวุ่นกี้ก็นำทัพกลับมาตีตลบหลังสามารถยึดเมืองแสนหวี และเมืองต่างๆกลับคืนมาได้หมด ทำให้เส้นทางเสบียงของหมิ่งรุ่ยถูกตัดขาด อีกทางบาลามินดินก็สามารถใช้กำลังทหาร 7,000 นาย ต้านทานกองทัพต้าชิง 20,000 นาย เอาไว้ได้ที่เมืองก้องโตน สุดท้ายกองทัพต้าชิงที่บุกทางเส้นนี้ต้องถอยเนื่องจากเสียหายอย่างหนัก ในตอนนี้ทัพรองแตกพ่าย ทัพหนุนถูกทำลาย เส้นทางเสบียงถูกตัดขาด หมิงรุ่ยรู้จุดจบของศึกครั้งนี้ทันที แต่เขาก็เลือกที่จะสู้เป็นครั้งสุดท้ายพร้อมทหารแปดกองธงที่ยังภักดีต่อเขา แต่แล้วกองทัพของพระเจ้ามังระและอะแซหวุ่นกี้ก็สามารถพิชิตกองทัพของหมิงรุ่ยลงได้ในยุทธการเมเมียว คำสั่งสุดท้ายของหมิงรุ่ยคือให้ทหารที่เหลือไม่ถึง1พันนายยอมแพ้ ส่วนหมิงรุ่ยเลือกที่จะจบชีวิตตนอย่างมีเกียรติในแผ่นดินอังวะนั่นเอง
  • การบุกครั้งที่ 4 จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งต่อความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ยยอดแม่ทัพแห่งราชวงศ์ชิง ครั้งนี้พระองค์ทรงเรียกองคมนตรีฟู่เหิงนักการทหารผู้ยิ่งใหญ่แห่งต้าชิง กลับมารับตำแหน่งผู้บัญชาการ รวมถึงเสนาบดีกลาโหมอากุ้ย แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน และเอ้อหนิงข้าหลวงใหญ่แห่งยูนานและกุ้ยโจว ซึ่งล้วนแต่เจนจบในพิชัยสงครามให้มารวมตัวกันเพื่อหวังพิชิตพม่าเป็นครั้งที่ 4 โดยคุมกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงอย่างแปดกองธงมาอีกครั้งเพื่อจะสยบพระเจ้ามังระให้ได้ แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ต้าชิงต้องมาเจอกับยอดแม่ทัพของพระเจ้ามังระอย่าง อะแซหวุ่นกี้ บาลามินดิน เนเมียวสีหตู รวมถึงเนเมียวสีหบดีที่กลับมาจากการศึกกับอยุธยา ซึ่งทั้งสี่คนนับเป็นหัวใจหลักที่สามารถต้านทานการบุกทั้งทางบกและทางทะเลของต้าชิงเอาไว้ได้ โดยครั้งนี้พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพไปรบแถบชายแดน เพื่อไม่ให้กองทัพต้าชิงรวมตัวกันได้ในพื้นที่ภาคกลางเหมือนการบุกครั้งที่3 การบุกครั้งนี้แม้ฝ่ายจีนจะพยายามอย่างมากในการเข้ายึดเมืองก้องโตนอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ก็เป็นอีกครั้งที่บาลามินดินสามารถต้านทานกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งกองทัพจีนก็รุกคืบได้ช้ามาก เนื่องจากอะแซหวุ่นกี้ได้ส่งเนเมียวสีหตูคอยทำสงครามปั่นป่วนแนวหลังของต้าชิงเอาไว้ และด้วยความชำนาญการรบแบบจรยุทธของเนเมียวสีหตูนี้เองทำให้กองทัพจีนประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะต้องคอยพะวงหลังตลอดการศึก ถึงอย่างนั้นอะแซหวุ่นกี้เองก็มีกำลังไม่มากพอที่จะเอาชนะต้าชิงในตอนนี้ จนจุดเปลี่ยนสำคัญได้มาถึงเมื่อกองทัพของเนเมียวสีหบดีเสร็จศึกกับอยุธยา ทำให้อะแซหวุ่นกี้ที่ตอนนี้มีกำลังพลมากพอ สามารถเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากที่คอยตั้งรับอย่างเหนียวแน่น เป็นการรุกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยสั่งทหารเข้าโจมตีจุดสำคัญของต้าชิงพร้อมๆกัน จนทำให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ต้องถอยร่นมารวมตัวกัน จากนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงใช้วิธีโอบล้อมโจมตีกองทัพต้าชิงโดยค่อยๆบีบเข้ามาเรื่อยๆ การสู้รบครั้งนี้เป็นไปอย่างดุเดือด สุดท้ายกองทัพต้าชิงถูกกองทัพของพม่าล้อมเอาไว้ได้ แม้ชัยชนะจะอยู่ต่อหน้าแล้ว แต่อะแซหวุ่นกี้ก็เลือกจบสงครามครั้งนี้ลง ด้วยการบีบกองทัพต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมให้ตัดสินใจเจรจา เกิดเป็นสนธิสัญญาก้องโตน เป็นการจบสงครามระหว่าง พระเจ้ามังระ กับ จักรพรรดิเฉียนหลง ลงในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312

ความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย

  • ฝ่ายจักรพรรดิเฉียนหลง พระองค์ต้องสูญเสียมหาบัณฑิตแห่งต้าชิงฟู่เหิง, แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน และเสนาบดีกลาโหมที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ชิงอย่างหมิงรุ่ยไปในศึกครั้งนี้ ที่สำคัญแม้พระองค์จะมีทหารกองธงเขียว(ทหารชาวฮั่น) อยู่นับล้านนาย แต่การต้องสูญเสียทหารแปดกองธง(ทหารอาชีพแมนจู) ที่ได้ชื่อว่าเป็นกองทัพดีที่สุดของราชวงศ์ชิงเกือบแสนนาย จากที่มีอยู่สองแสนห้าหมื่นนาย[14] คือความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์
  • ฝ่ายพระเจ้ามังระ พระองค์ต้องสูญเสียกำลังพลหลักไปเกือบสองหมื่นนายตลอดการศึกทั้งสี่ครั้ง แม้จะน้อยกว่าฝั่งต้าชิงมากแต่เมื่อเทียบอัตราส่วนของจำนวนประชากรแล้วก็นับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของพระองค์เช่นเดียวกัน

ต่างอ้างชัยชนะ

  • ฝ่ายพระเจ้ามังระ อ้างชัยชนะเนื่องจากสามารถชนะสงครามได้ทุกครั้ง สามารถครอบครองอาณาเขตต่างๆได้ตามเดิม และปกป้องแผ่นดินเอาไว้ได้

บทสรุปของสงคราม

  • ฝ่ายราชวงศ์ชิง ในสงครามจีน-พม่านี้นับเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของราชวงศ์ชิง และถือเป็นรอยด่างเล็กๆของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของโลกจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ถึงแม้จะไม่สามารถสยบพม่าได้อย่างราบคาบ แต่นั้นก็ทำให้พม่าเห็นถึงศักยภาพในการระดมกองทัพขนาดใหญ่ ที่สามารถสั่นคลอนราชวงศ์โก้นบองได้ตลอดเวลา
  • ฝ่ายราชวงศ์โก้นบอง เป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดและสูญเสียมากที่สุดในยุคของพระเจ้ามังระ แต่นั้นก็ทำให้ได้เห็นถึงความแข็งแกร่งของพระองค์ รวมถึงการใช้คนแบ่งงานให้แม่ทัพแต่ละนายได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ แม้จะสูญเสียทหารไปมากแต่ก็สามารถรักษาแผ่นดินเอาไว้ได้ ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่พระองค์ฝากไว้ให้ราชวงศ์โก้นบอง หลังจากสิ้นยุคพระองค์ไปแล้วขีดความสามารถทางการทหารของพม่าก็ไม่เคยกลับไปอยู่จุดสูงสุดได้อีกเลย[15]

หมายเหตุ

  • จำนวนทหารที่อ้างอิงข้างต้นนั้นเป็นการอิงจากพงศาวดารฝ่ายจีนแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนในบันทึกของฝ่ายพม่านั้นกล่าวว่ากองทัพจีนในครั้งที่ 3 มีจำนวนเกิน 100,000 นาย ส่วนครั้งที่ 4 นั้นอาจมีถึง 150,000-200,000 นาย ส่วนฝ่ายพม่าก็บอกถึงจำนวนที่ใช้รับศึกในครั้งนี้มีถึง 70,000 นายในช่วงแรก และเพิ่มเป็น 120,000 นายหลังการกลับมาถึงของเนเมียวสีหบดี
  • หมิงรุ่ยในพงศาวดารพม่าบันทึกไว้ว่าเป็นราชบุตรเขยของจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ในบันทึกของฝ่ายจีนกล่าวว่าหมิงรุ่ยเป็นแต่เพียงหลานของฟู่เหิงซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องชายของจักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน ฮองเฮาองค์แรกของจักรพรรดิเฉียนหลง โดยลูกของฟู่เหิงอย่าง ฟู่คังอันได้รับแต่งตั้งให้มียศเสมอด้วยบุตรบุญธรรมของจักรพรรดิเฉียนหลง
  • สงครามครั้งนี้มีเสนาบดีกลาโหมของจีนร่วมมาทำศึกด้วยถึง 4 นายประกอบด้วย ฟูเหิง (ภายหลังสละสิทธิเป็นองคมนตรี) หมิงรุ่ย (คนที่สอง), อากุ้ย (คนที่สามได้รับแต่งตั้งหลังหมิงรุ่ยตาย), เอ้อหนิง (คนที่สี่ได้รับแต่งตั้งหลังอากุ้ยตาย)

อ้างอิง

แหล่งที่มา

  • Burney, Col. Henry (August 1840). Four Years' War between Burmah and China. The Chinese Repository. Vol. 9. Canton: Printed for Proprietors.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Dai, Yingcong (2004). "A Disguised Defeat: The Myanmar Campaign of the Qing Dynasty". Modern Asian Studies. Cambridge University Press. doi:10.1017/s0026749x04001040.{{cite journal}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Fernquest, Jon (Autumn 2006). "Crucible of War: Burma and the Ming in the Tai Frontier Zone (1382–1454)". SOAS Bulletin of Burma Research. 4 (2).{{cite journal}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Giersch, Charles Patterson (2006). Asian borderlands: the transformation of Qing China's Yunnan frontier. Harvard University Press. ISBN 0-674-02171-1.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Haskew, Michael E., Christer Joregensen, Eric Niderost, Chris McNab (2008). Fighting techniques of the Oriental world, AD 1200–1860: equipment, combat skills, and tactics (Illustrated ed.). Macmillan. ISBN 978-0-312-38696-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Jung, Richard J. K. (1971). "The Sino-Burmese War, 1766–1770: War and Peace Under the Tributary System". Papers on China. Vol. 24.{{cite news}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • George C. Kohn (2006). Dictionary of wars. Checkmark Books. ISBN 0-8160-6578-0.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Kyaw Thet (1962). History of Union of Burma (ภาษาพม่า). Yangon: Yangon University Press.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Sir Arthur Purves Phayre (1884). History of Burma: including Burma proper, Pegu, Taungu, Tenasserim, and Arakan. From the earliest time to the end of the first war with British India. Trübner & co.
  • Whiting, Marvin C. (2002). Imperial Chinese Military History: 8000 BC – 1912 AD. iUniverse. pp. 480–481. ISBN 978-0-595-22134-9.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Woodside, Alexander (2002). Willard J. Peterson (บ.ก.). The Cambridge history of China: The Ch'ing Empire to 1800, Volume 9. United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-24334-6.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Draft History of Qing, Chapter 327, Biographies 114 《清史稿》卷327 列傳一百十四 (ภาษาจีน). China.
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย