วัลเลตตา

วัลเลตตา (อังกฤษ: Valletta; มอลตา: il-Belt Valletta) เป็นเมืองหลวงของประเทศมอลตาและหนึ่งใน 68 พื้นที่สภา ตั้งอยู่ระหว่าง Grand Harbour ทางตะวันออกกับ Marsamxett Harbour ทางตะวันตก โดยมีประชากรใน ค.ศ. 2021 ที่ 5,157 คน[3] วัลเลตตาเป็นศูนย์กลางการค้าสำหรับการซื้อของ บาร์ ร้านอาหาร และร้านคาเฟ่ โดยเป็นเมืองหลวงทางใต้สุดของทวีปยุโรป[4][หมายเหตุ 1] และเป็นเมืองหลวงที่เล็กที่สุดในสหภาพยุโรป โดยมีขนาดเพียง 0.61 ตารางกิโลเมตร (0.24 ตารางไมล์)[5][6]

วัลเลตตา

Il-Belt Valletta
เมืองหลวงและสภาท้องถิ่น
จากบน: ตึกระฟ้า, ซาลูติงบัตเตอรี, สวนบารักกาล่าง, อาสนวิหารร่วมนักบุญยอห์น และกำแพงเมือง
ธงของวัลเลตตา
ธง
ตราราชการของวัลเลตตา
ตราอาร์ม
สมญา: 
Il-Belt
คำขวัญ: 
City Built By Gentlemen For Gentlemen
วัลเลตตาตั้งอยู่ในประเทศมอลตา
วัลเลตตา
วัลเลตตา
แผนที่กลุ่มเกาะมอลตา แสดงที่ตั้งของวัลเลตตา
วัลเลตตาตั้งอยู่ในMediterranean
วัลเลตตา
วัลเลตตา
วัลเลตตา (Mediterranean)
พิกัด: 35°53′54″N 14°30′45″E / 35.89833°N 14.51250°E / 35.89833; 14.51250[1]
ประเทศ มอลตา
ภูมิภาคท่าเรือ
อำเภอSouthern Harbour
เมืองหลวง18 มีนาคม ค.ศ. 1571
ผู้ก่อตั้งJean de Parisot Valette
BordersFloriana
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีAlfred Zammit (PL)
พื้นที่
 • เมืองหลวงและสภาท้องถิ่น0.61 ตร.กม. (0.24 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง256 ตร.กม. (99 ตร.ไมล์)
ความสูง56 เมตร (184 ฟุต)
ประชากร
 (ม.ค. 2019)
 • เมืองหลวงและสภาท้องถิ่น5,157 คน
 • ความหนาแน่น8,500 คน/ตร.กม. (22,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง480,134[2] คน
เดมะนิมBelti (m), Beltija (f), Beltin (pl)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รหัสไปรษณีย์VLT
รหัสโทรศัพท์356
รหัส ISO 3166MT-60
นักบุญอุปถัมภ์นักบุญดอมินิก
Our Lady of Mount Carmel
นักบุญเปาโล
นักบุญออกัสติน
Day of festa3 สิงหาคม
10 กุมภาพันธ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ชื่อทางการนครวัลเลตตา
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: i, vi
อ้างอิง131
ขึ้นทะเบียน1980 (สมัยที่ 4)
พื้นที่55.5 ha

วัลเลตตามีอาคารสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 16 ที่สร้างขึ้นโดยคณะอัศวินบริบาล นครนี้ตั้งชื่อตามฌ็อง ปารีโซ เดอ วาแลต์ (Jean Parisot de Valette) ผู้ปกป้องเกาะจากการรุกรานของออตโตมันในการล้อมมอลตาได้สำเร็จ นครนี้มีเอกลักษณ์พื้นฐานแบบสถาปัตยกรรมบาโรก กับองค์ประกอบของความจริตนิยม, ฟื้นฟูคลาสสิก และสมัยใหม่ แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองทิ้งความเสียหายขนานใหญ่ในตัวนคร โดยเฉพาะการทำลายล้างโรงอุปรากรหลวงนครวัลเลตตาได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1980[7] นครนี้ีมีอนุสรณ์สถาน 320 แห่งภายในพื้นที่ 0.55 ตร.กม. ทำให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก[7] [8] ทำให้บางครั้งเรียกเป็น "พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง"[9] วัลเลตตาได้รับเลือกเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปใน ค.ศ. 2018 และยังได้รับการจัดอันดับเป็นนครที่รับแสงอาทิตย์มากที่สุดในยุโรปเมื่อ ค.ศ. 2016[10][11]

นครนี้มีชื่อเสียงจากป้อมปราการ ประกอบด้วยมุขป้อม, ม่าน และ cavaliers ร่วมกับความงดงามของพระราชวัง สวน และโบสถ์สมัยบาโรก

เมืองพี่น้อง

วัลเลตตาเป็นเมืองพี่น้องกับ:[12]

  • ปาแลร์โม ประเทศอิตาลี
  • กอร์โตนา ประเทศอิตาลี ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2022
  • บิบลอส ประเทศเลบานอน

อ่านเพิ่ม

  • Bianco, Lino (2009). "Valletta: A city in history" (PDF). Melita Theologica. University of Malta: Department of Architecture and Urban Design – Faculty for the Built Environment. 60 (2): 1–20. ISSN 1012-9588. OCLC 1587122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 March 2018.

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย