วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

วัดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(เปลี่ยนทางจาก วัดพระบรมธาตุไชยา)

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนคร และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
พระบรมธาตุไชยา ปูชนียสถานสำคัญภายในวัด
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระธาตุไชยา
ที่ตั้งทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4011 ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
นิกายเถรวาท
พระประธานพระเจ้าโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธรูปศิลา สกุลช่างไชยา
กิจกรรมนมัสการพระบรมธาตุไชยา
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา

ลำดับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง

ระดับแรก(เริ่มต้น) วัดพระธาตุไชยา(วัดราษฎร์)

ระดับที่สอง วัดพระบรมธาตุไชยา พระอารมหลวง(พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ)

ระดับที่สาม วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร(พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร)

ข้อมูล

  • พุทธศตวรรษที่ 13 - พุทธศตวรรษที่ 14 ในสมัยศรีวิชัย ได้สร้างวัดพระบรมธาตุไชยา วัดมี โบสถ์ หรือพระอุโบสถ หันไปทางทิศตะวันตก
  • วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นโบราณสถาน รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็ก 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง 4 ด้าน
  • พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • ภาพเจดีย์พระบรมธาตุ เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองลูกเสือจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร
  • สมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆัง
  • พระพุทธรูปทำด้วยศิลา สูง 104 เซนติเมตร ปางสมาธิประทับอยู่บนฐานบัว มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย แบบราชวงศ์คุปตะ สกุลช่างสารนาถ
  • พุทธศตวรรษที่ 14 ได้สร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) สองกรสำริด ประติมากรรมในชวา (ประเทศอินโดนีเซีย) ภาคกลาง จารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสกุลวงศ์ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา) และราชวงศ์ไศเลนทรในชวาภาคกลาง
  • พุทธศตวรรษที่ 15 ได้สร้างพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรสองกรศิลา ศิลปะจามพุทธ
  • สมัยอยุธยา ได้สร้างพระพุทธรูปศิลาทราย ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา

ภาพประกอบ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

9°23′04″N 99°11′03″E / 9.3843844°N 99.1840349°E / 9.3843844; 99.1840349

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย