วอลเตอร์ มอริสัน

เรืออากาศเอก วอลเตอร์ แมคโดนัลด์ มอริสัน (อังกฤษ: Flight Lieutenant Walter McDonald Morison; 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 – 26 มีนาคม ค.ศ. 2009) เป็นนักบินกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรที่กลายเป็นเชลยศึก และถูกส่งไปยังค็อลดิทซ์ เพราะพยายามขโมยเครื่องบินข้าศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

วอลเตอร์ แมคโดนัลด์ มอริสัน
วอลเตอร์ มอริสัน (ขวา) กับลอร์น เวลช์ หลังจากถูกจับกุมอีกครั้ง กับการสวมเครื่องแบบลุฟท์วัฟเฟอเยอรมันในปี ค.ศ. 1943
เกิด26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919
เบ็คเคนแฮม เคนต์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต26 มีนาคม ค.ศ. 2009 (อายุ 89 ปี)
รับใช้ สหราชอาณาจักร
แผนก/สังกัด กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ประจำการค.ศ. 1939–1945
ชั้นยศเรืออากาศเอก
หน่วยฝูงบินหมายเลข 103 กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง

ชีวิตช่วงแรก

เขาเกิดที่เบ็คเคนแฮม เคนต์ ในขณะปีแรกของเขาที่วิทยาลัยทรินิตี เคมบริดจ์ สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น ซึ่งเขาได้อาสาในวันเดียวกัน[1]

การเป็นทหารกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร

มอริสันเข้าร่วมกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรเมื่อเกิดสงครามในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 และได้รับการฝึกให้เป็นนักบิน (เขารู้วิธีบินเครื่องร่อนแล้ว[1]) เขาได้รับหน้าที่ในฐานะเรืออากาศตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940[2] และได้รับมอบหมายสู่ฝูงบินหมายเลข 241 ซึ่งทำการบินเวสต์แลนด์ลีแซนเดอร์[1] ในไม่ช้า เขาก็ได้รับการย้ายไปยังหน่วยฝึกในฐานะผู้สอน ก่อนเข้าร่วมฝูงบินหมายเลข 103 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942[1]

ในคืนวันที่ 5/6 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ในขณะกำลังบินเครื่องบินทิ้งระเบิดเวลลิงตันในภารกิจที่สามของเขาและเป็นครั้งแรกในฐานะกัปตัน[3] เขาถูกชนโดยเวลลิงตัน เอกซ์3339 อีกลำจากฝูงบิน 156 ที่ขับโดยจ่าอากาศเอก กาย เชมเบอร์ลิน กำลังสำรองอาสาสมัครกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ซึ่งเขาเป็นผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวจากลูกเรือบนเครื่องบินห้านาย[4] และบังเอิญ มอริสันเคยเป็นผู้ฝึกสอนของเชมเบอร์ลินที่กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรลอสซีเมาธ์ประมาณต้นปี ค.ศ. 1942[5] ลูกเรือทั้งหมดบนเครื่องบินเอกซ์3339 ถูกสังหารและฝังอยู่ในแถวเดียวกันที่สุสานสงครามป่าไรช์วัลด์ ใกล้เคลเวอ ในประเทศเยอรมนี[6]

เขากลายเป็นเชลยศึก (POW) และถูกส่งไปยังสตาลักลุฟต์ III ที่ซากัน ซึ่งเขาได้รับการเลื่อนยศให้เป็นเรืออากาศเอกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ในขณะที่ถูกจับเป็นเชลยศึก[7]

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1943 มอริสันและคนอื่น ๆ อีก 23 คน[1] หรือ 25 คนได้หลบหนีออกจากค่ายในช่วงเดเลาซิงเบรก เชลยยี่สิบสองคนออกจากค่ายพร้อมกับ "ผู้คุม" สองคน ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นเพื่อนเชลยศึกสองคนที่อยู่ในเครื่องแบบเยอรมันปลอม[1] เมื่ออยู่ข้างนอก กลุ่มก็แตกแยกกัน คนอื่น ๆ ถูกจับได้อย่างรวดเร็ว แต่เขาและเรืออากาศเอก ลอร์น เวลช์ ที่สวมเครื่องแบบปลอมได้เดินไปที่ลานบินใกล้ ๆ และพยายามขโมยเครื่องบินยุงเคิร์ส เว 34[1] พวกเขาต้องล้มเลิกความพยายามเมื่อลูกเรือตัวจริงได้ปรากฏตัวเพื่อขับเครื่องบินออกไป วันรุ่งขึ้น พวกเขาได้กลับมาและพยายามขโมยเครื่องบินปีกสองชั้น แต่ถูกจับได้และถูกส่งไปยังอ็อฟฟลัก IV-C ที่ค็อลดิทซ์[1][8]

เขาได้รับการปลดปล่อยจากค็อลดิทซ์โดยกองทัพอเมริกันในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945

ภายหลังสงคราม

หลังจากสงคราม มอริสันมีคุณสมบัติเป็นนักบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสมาคมนักการบัญชีที่ได้รับอนุญาตแห่งประเทศอังฤษ เขาทำสัญญาที่บริษัทมอริสัน ซึ่งเป็นบริษัทที่พี่น้องปู่ย่าตายายของเขาก่อตั้งขึ้น จากนั้นมอริสันทำงานที่คูเปอส์โบรส์ บริษัทที่กลายเป็นคูเปอส์แอนด์ไลแบรนด์ ก่อนที่จะกลับไปที่บริษัทของครอบครัว ซึ่งคือมอริสันสโตนแฮม เขาเป็นผู้นำบริษัทในฐานะหุ้นส่วนอาวุโสผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 ถึง 1981 ก่อนที่จะเกษียณ ในขณะที่มอริสันสโตนแฮมถูกซื้อกิจการโดยเทนนอน (ภายหลังรู้จักกันในชื่ออาร์เอสเอ็ม เทนนอน) หนึ่งในมรดกของเขาที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันคือมอริสันอินเตอร์เนชันแนล[9] ซึ่งเป็นสมาคมระดับโลกของบริษัทผู้ให้บริการระดับอาชีพ (นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ภาษี และที่ปรึกษาธุรกิจ)

เขาได้เขียนเรื่องราวชีวิตของเขาในช่วงสงครามกับผลงานชื่อแฟลคแอนด์เฟร์ริตส์ - วันเวย์ทูค็อลดิทซ์ (Flak and Ferrets - One Way to Colditz)

มอริสันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2009[1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย