ลีลาวดี วัชโรบล

ลีลาวดี วัชโรบล (ชื่อเล่น: ลี) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พวงเพ็ชร ชุนละเอียด) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองนางสาวไทยอันดับ 1 และอดีตนักแสดง

ลีลาวดี วัชโรบล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เขตเลือกตั้งเขต 5
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2510 (57 ปี)
จตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชากรไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
บุพการี
  • ตะนัย วัชโรบล (บิดา)
  • จินตนา วัชโรบล (มารดา)
การศึกษาโรงเรียนจิตรลดา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (กศ.บ.)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (นศ.ม.)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ค.ด.)
อาชีพนักการเมือง นักแสดง นักร้อง พิธีกร นางงาม
ทรัพย์สินสุทธิ21 ล้านบาท (2557)
ชื่อเล่นลี
อาชีพแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2528–2548
ผลงานเด่นหทัย - แม่ผัวมหาภัยกับสะใภ้สารพัดพิษ (2534)
แม่นาค - แม่นาคพระโขนง (2537)
การประกวดความงาม
ผู้ดำรงตำแหน่งการประกวดความงาม
รางวัลนางสาวไทย 2528
(รองชนะเลิศอันดับที่ 1)

ประวัติ

ลีลาวดี วัชโรบล เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2510 ที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวของ พลอากาศตรี ตะนัย และนางจินตนา วัชโรบล และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของ ศ.ดร.คลุ้ม วัชโรบล อดีตนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยที่มีชื่อเสียง

จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และปริญญาเอก ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2559 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายจับข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่[1] และ ปี พ.ศ. 2560 ตำรวจกองปราบปรามได้แจ้งข้อหา กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116[2]

ชีวิตส่วนตัว

ยังคงเป็นโสด และเป็นผู้ปฏิบัติธรรมโดยมีความศรัทธาต่อวัดพระธรรมกายอย่างเหนียวแน่น[3]

ผลงานเพลง

ลีลาวดี วัชโรบล มีผลงานการแสดง ภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง คือเรื่อง 18 กะรัต ร่วมกับศิลปินอื่น ๆ ในค่ายนิธิทัศน์ โปรโมชั่นและมีผลงานเพลงกับทางค่ายด้วย 5 ชุด ชุดละ 1 เพลง ดังต่อไปนี้ คือ

ชุด พบดาว (พ.ศ. 2527) เพลง "รักใต้ร่มไทร" โดยร้องคู่กับ โป้ง - ทรรศิน บุญแต่ง

และร้องเพลงคู่กันมาตลอด ที่มีผลงานเพลงร้องคู่ คือ ตั้งแต่ ชุด "พบดาว" จนถึง "18 กะรัต ชุดที่ 3" และแสดงภาพยนตร์คู่กัน เรื่อง 18 กะรัต

18 กะรัต ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2527) เพลง "ชื่นชมสมรัก" (โป้ง & ลี)

18 กะรัต ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2528) เพลง "ชมไพรในฝัน" (โป้ง & ลี)

18 กะรัต ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2529) เพลง "อย่าโกรธกันเลย" (โป้ง & ลี)

18 กะรัต ชุดพิเศษ (พ.ศ. 2530) เพลง "โลกสวยด้วยยิ้ม" (ร้องเดี่ยว)

วงการบันเทิง

มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักการเป็นรองนางสาวไทยอันดับที่ 1 จากการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ สวนสยาม และตำแหน่งขวัญใจช่างภาพโดยนางสาวไทยปีนั้นคือ ธารทิพย์ พงษ์สุขและเป็นตัวแทนสาวไทยไปประกวด มิสเอเชียแปซิฟิก ปี 1985 ที่ เกาะฮ่องกง[4]

การแสดง

จากนั้นได้เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการแสดงเป็นนางเอก ได้แสดงในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง อาทิ นายร้อยสอยดาว เมื่อปี พ.ศ. 2529 คู่กับ อธิป ทองจินดา, รักกันเล่นๆ (ไม่เห็นเป็นไร) ในปีเดียวกัน คู่กับ สรายุทธ คณานุรักษ์, ปืนเถื่อน ในปีเดียวกัน คู่กับ สรพงษ์ ชาตรี, ไฟซ่อนเชื้อ ในปี พ.ศ. 2530, กองร้อยสบาย สบาย ในปี พ.ศ. 2533 คู่กับ รอน บรรจงสร้าง ก่อนที่จะมีบทบาทการแสดงครั้งสุดท้ายคือ ละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 เรื่อง มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต ออกอากาศปี พ.ศ. 2548 โดยรับบทเป็น สุภาพ ทัศนพยัคฆ์ ภรรยาของครู รังสี ทัศนพยัคฆ์

ผลงานภาพยนตร์

  • 18 กะรัต (2528)
  • นายร้อยสอยดาว (2529) คู่กับ อธิป ทองจินดา
  • รักกันเล่นๆ (ไม่เห็นเป็นไร) (2529)
  • ปืนเถื่อน (2529)
  • ไฟซ่อนเชื้อ (2530)
  • มันแอบอยู่ในหอ (2530)
  • กองร้อยสบาย สบาย (2532)
  • วัยดิบ (2533)

ผลงานละครโทรทัศน์

ผลงานละครเวที

  • 2534 สัญญาณเลือดสัญญารัก
  • 2536 ทู้ตซี่
  • 2537 สาวสติเสีย

ผลงานพิธีกร

วงการการเมือง

ลีลาวดีได้เข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการที่ตัวเองและแม่มีความนับถือนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทย เคยมีตำแหน่งเป็นโฆษกและกรรมการบริหารพรรคประชากรไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 ในสังกัดพรรคประชากรไทยแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน เขต 1 กรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก[5] แต่ได้รับตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สมชาย วงศ์สวัสดิ์) ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช[6] ซึ่งก่อนนั้นยังเคยเป็นโฆษกและอนุกรรมาธิการการศาสนา วุฒิสภา, รองโฆษกและผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา มาก่อน

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตที่ 5 (ราชเทวี - ดุสิต) และได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยได้คะแนนไป 38,206 คะแนน ชนะ นางสาวจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ที่ได้คะแนน 37,528 คะแนน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และเธอได้ลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา (พ.ศ. 2566) โดยสังกัดพรรคเดิม[7] แต่มิได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย