ลาร์รีย์ เอลลิสัน

ลอเรนซ์ โจเซฟ เอลลิสัน (อังกฤษ: Lawrence Joseph Ellison เกิด 17 สิงหาคม 2487 รู้จักโดยทั่วไปว่า ลาร์รีย์ เอลลิสัน) เป็นนักธุรกิจ นักลงทุน และนักการกุศลชาวอเมริกัน เป็นผู้จัดตั้ง ประธานบริหาร และหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของออราเคิลคอร์ปอเรชันโดยเดือนสิงหาคม 2560 นิตยสารฟอบส์จัดเขาเป็นคนรวยที่สุดอันดับ 5 ในสหรัฐอเมริกาและอันดับ 7 ในโลก โดยมีทรัพย์สมบัติถึง 61,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,008,500 ล้านบาท)[3]

ลาร์รีย์ เอลลิสัน
(Larry Ellison)
ลาร์รีย์ เอลลิสันเมื่อปี 2559
เกิดลาร์รีย์ โจเซฟ เอ็ลลิสัน
(1944-08-17) สิงหาคม 17, 1944 (79 ปี)
แมนแฮตตัน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์
มหาวิทยาลัยชิคาโก
อาชีพประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี[1]
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2509–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของบริษัทของออราเคิลคอร์ปอเรชัน
คู่สมรส
  • Adda Quinn
    (สมรส 2510; หย่า 2517)
  • Nancy Wheeler Jenkins
    (สมรส 2520; หย่า 2521)
  • Barbara Boothe
    (สมรส 2526; หย่า 2529)
  • Melanie Craft
    (สมรส 2546; หย่า 2553)
บุตรDavid Ellison
Megan Ellison
เว็บไซต์Larry Ellison

เอลลิสันเกิดในนครนิวยอร์กและโตขึ้นในเมืองชิคาโกเขาเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์และมหาวิทยาลัยชิคาโก แต่ไม่จบการศึกษาก่อนย้ายไปอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2509เมื่อกำลังทำงานให้แก่บริษัท Ampex ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ความสนใจในงานวิจัยฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ของ ดร. Edgar F. Codd ได้ทำให้เขาจัดตั้งบริษัทซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นออราเคิลคอร์ปอเรชันในปี 2520บริษัทได้ขายระบบฐานข้อมูลในระดับล่างจนถึงกลาง แข่งขันกับ Sybase และ ไมโครซอฟท์ ซีควลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้นิตยสารฟอบส์จัดเขาว่าเป็นคนมั่งคั่งที่สุดคนหนึ่งในโลก

เอลลิสันได้บริจาคทรัพย์ของเขา 1% ให้กับการกุศลและได้ลงนามกับองค์กรสัญญาว่าจะให้ (The Giving Pledge) ซึ่งผู้ลงนามปกติสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินอย่างน้อยครึ่งหนึ่งแก่สาธารณกุศลไม่ว่าจะเมื่อยังมีชีวิตอยู่หรือเมื่อเสียชีวิตนอกจากงานที่บริษัท เอลลิสันยังประสบความสำเร็จในการแข่งเรือยอชต์โดยเป็นส่วนของทีม Oracle Team USAเขามีใบอนุญาตขับเครื่องบินและเป็นเจ้าของเครื่องบินไอพ่นทหาร 2 ลำ[4]

การกุศล

ในปี 2532 ข้อศอกของเอลลิสันแตกในอุบัติเหตุจักรยานยนต์ความเร็วสูงเมื่อเสาะหาศัลยแพทย์กระดูกที่เก่ง เขาได้พบ นพ. ไมเคิล แช็ปแมนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิสเพราะประทับใจในการดูแล เอลลิสันจึงได้บริจาคทรัพย์ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 162.5 ล้านบาท) สนับสนุนการสร้างศูนย์วิจัยกล้ามเนื้อ-กระดูกลอเรนซ์ เจ เอลลิสันต่อมาในปี 2541 ศูนย์คนไข้นอกลอเรนซ์ เจ เอลลิสัน (Lawrence J. Ellison Ambulatory Care) จึงได้เปิดที่เมืองแซคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย[5]

เพื่อจะยุติการฟ้องศาลในข้อหาการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในเนื่องกับการขายหุ้นของออราเคิลมูลค่าเกือบ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ศาลได้อนุญาตให้เขาบริจาคทรัพย์มูลค่า 100 ล้านเหรียญ (ประมาณ 3,250 ล้านบาท) ให้กับมูลนิธิการกุศลของเขาเองโดยไม่ต้องยอมรับความผิดแต่ศาลแคลิฟอร์เนียไม่ยอมให้บริษัทจ่ายค่าใช้จ่ายในการสู้คดีกว่า 24 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งทนายของเขาได้อ้างว่า ถ้าเอลลิสันจ่ายเอง อาจจะมองได้ว่าเขายอมรับความผิดการบริจาคทรัพย์ให้กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของเขา ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงความเป็นกลางของศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสองท่านผู้ได้ตรวจสอบคดีเพื่อบริษัท[6]

โดยตอบสนองต่อเหตุการณ์เหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544เอลลิสันได้เสนอบริจาคซอฟต์แวร์ให้แก่รัฐบาลกลางสหรัฐ เพื่อให้สร้างและดำเนินการฐานข้อมูลประชาชนและเพื่อให้เริ่มใช้บัตรประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้ก่อข้อโต้แย้งอย่างมาก[7]

รายการบริจาคทรัพย์เพื่อการกุศลของคนอเมริกันที่มั่งคั่งที่สุดโดยนิตยสารฟอบส์ปี 2547 แสดงว่า เอลลิสันได้บริจาคทรัพย์ $151,092,103 (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) หรือประมาณ 1% ของทรัพย์สินส่วนตัว[8]

ในเดือนมิถุนายนปี 2549 เอลลิสันประกาศว่าเขาจะกลับคำพูดว่าจะให้ทรัพย์สินมูลค่า 115 ล้านเหรียญสหรัฐแก่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพราะอธิการบดีลอเร็นซ์ ซัมเมอร์สได้ลาจากมหาวิทยาลัยไปผู้แถลงข่าวของบริษัทได้แถลงว่า "โครงการเป็นไอเดียของลาร์รีย์ ซัมเมอร์ส และเมื่อมันปรากฏว่า ลาร์รีย์ ซัมเมอร์สกำลังลาจากไป ลาร์รีย์ เอลลิสันจึงได้พิจารณาเรื่องนี้ใหม่ไอเดียนี้มาจากลาร์รีย์ เอลลิสันและลาร์รีย์ ซัมเมอร์สตั้งแต่ต้น"[9]

ในปี 2550 เอลลิสันสัญญาว่าจะให้ 500,000 เหรียญสหรัฐ (16.25 ล้านบาท) แก่ศูนย์ชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศอิสราเอล หลังจากที่พบว่า อาคารไม่ได้เสริมป้องกันการโจมตีด้วยขีปนาวุธ[10]การบริจาคเพื่อการกุศลอื่น ๆ ของเขารวมทั้งทรัพย์มูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (325 ล้านบาท) แก่องค์กร Friends of the Israel Defense Forces ในปี 2557 ซึ่งเขากล่าวว่า "ในใจของผม มันไม่มีเกียรติอื่นเหนือกว่าการสนับสนุนคนกล้าหาญที่สุดในโลกพวกหนึ่ง...ชายและหญิงเหล่านี้ร่วมมือกันเพื่อจุดหมายอันไม่มีการล้มเลิก คือ เพื่อป้องกันอิสราเอลและพยายามอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข"[11]ในปี 2560 เอลลิสันบริจาคทรัพย์ 16.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (539.5 ล้านบาท) แก่ Friends of the Israel Defense Forcesซึ่งจะช่วยสร้างอาคารสวัสดิภาพในค่ายทหารใหม่สำหรับทหารเกณฑ์ชายหญิง[12]

ในเดือนสิงหาคม 2553 มีรายงานว่า เอลลิสันเป็นหนึ่งในอภิมหาเศรษฐี 40 คนที่ได้ลงนามกับองค์กรสัญญาว่าจะให้[13][14]โดยเขาเขียนแถลงเหตุไว้ว่า "หลายปีก่อน ผมได้มอบทรัพย์สมบัติแทบทั้งหมดของผมให้แก่ทรัสต์ หมายจะให้สมบัติอย่างน้อย 95% เพื่อการกุศลผมได้ให้ทรัพย์มูลค่าเป็นร้อย ๆ ล้านเหรียญเพื่อการวิจัยทางการแพทย์และการศึกษา และผมจะให้เป็นพัน ๆ ล้านอีกต่อไปจนกระทั่งบัดนี้ ผมได้ให้อย่างเงียบ ๆ เพราะผมเชื่อมานานแล้วว่า การให้เพื่อการกุศลเป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่ควรประกาศ"[15]

ในเดือนพฤษภาคม 2559 เอลลิสันได้บริจาค 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,500 ล้านบาท) แก่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (USC) เพื่อตั้งศูนย์วิจัยมะเร็งชื่อว่า สถาบันลอเรนซ์ เจ เอลลิสันเพื่อการแพทย์เปลี่ยนชีวิตแห่ง USC

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย