ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ (ประมาณ 2890 – ประมาณ 2686 ปีก่อนคริสตกาล[1]) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของสองราชวงศ์ในสมัยช่วงต้นยุคราชวงศ์ โดยมีศูนย์กลางของราชวงศ์ที่เมืองไทนิส และมีฟาโรห์พระองค์สุดท้ายนามว่าคาเซคเอมวี ช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สองนับเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่คลุมเครือมากที่สุดในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ ราชวงศ์ที่สองปกครองอียิปต์เป็นเวลาประมาณ 204 ปี

ราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

ราว 2890 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล
รูปสลักของฟาโรห์คาเซคเอมวี, พิพิธภัณฑ์แอชโมลีน
รูปสลักของฟาโรห์คาเซคเอมวี, พิพิธภัณฑ์แอชโมลีน
เมืองหลวงไทนิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ราว 2890 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สามแห่งอียิปต์

แม้ว่าหลักฐานทางโบราณคดีของราชวงศ์ที่สองมีน้อยมากและยังคลุมเครือมากตัดกันกับข้อมูลจากราชวงศ์ที่หนึ่งและราชวงศ์ที่สามแสดงให้เห็นการพัฒนาสถาบันและเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์[2][3]

รายนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สอง

ฟาโรห์สามพระองค์แรกนั้น แหล่งข้อมูลค่อนข้างความเห็นพ้องต้องกัน และลำดับตามเวลาดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยคำจารึกบนรูปสลักของเฮเทปดิเอฟ ซึ่งทำหน้าที่ในการบูชาพระบรมศพของฟาโรห์ทั้งสามพระองค์นี้[4]

พระนามจำนวนปีที่ทรงครองราชย์สถานที่ฝังพระบรมศพ
โฮเทปเซคเอมวี 25–29สุสานช่อง เอ, ซักกอเราะฮ์?
เนบรา 10–14สุสานช่อง เอ, ซักกอเราะฮ์?
นิเนทเจอร์ 40สุสานช่อง บี, ซักกอเราะฮ์?

แต่ตัวตนของผู้ปกครองตามรายพระนามถัดไปนั้นยังคลุมเครือ แหล่งข้อมูลที่หลงเหลืออยู่อาจจะปรากฏเป็นพระนามฮอรัส หรือพระนามเนบติ และพระนามประสูติของผู้ปกครองเหล่านี้ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หรืออาจจะเป็นพระนามในตำนานก็ได้ ซึ่งอย่างไม่สามารถสรุปได้

มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่าหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์ไปแล้ว อียิปต์ถูกแยกออกและปกครองโดยผู้สืบทอดสองพระองค์ เนื่องจากการบริหารรัฐที่ซับซ้อนเกินไปของอียิปต์ทั้งหมด[5]

รายพระนามต่อไปนี้ประกอบด้วยพระนามฟาโรห์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้

พระนามคำอธิบายสถานที่ฝังพระบรมศพ
เวเนก/ วาดเจเนส ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่ของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ และอไบดอส

ปรากฏหลักฐานยืนยันเพียงในอียิปต์ล่างเท่านั้น[6]มีการยืนยันว่าพระนาม เวเนก เป็นพระนามเนบติ (หรือพระนามครองพระราชบัลลังก์) และไม่ทราบว่าพระนามฮอรัสของพระองค์คืออะไร[7]

สันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ราเนบ,[8] ฟาโรห์เซคเอมอิบ-เพอร์เอนมาอัต[9] หรือจะเป็นฟาโรห์พระองค์อื่นในราชวงศ์ที่สองโดยสิ้นเชิง

เซเนดจ์ ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ และอไบดอส

ไม่ทราบพระนามฮอรัสสันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮอรัส ซา[10]

เนเฟอร์คาราที่ 1ได้รับการยืนยันในเอกสารในช่วงหลัง ซึ่งลงช่วงเวลาหลังจากช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สองไปนานแล้ว

ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่หกของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ แต่ไม่ปรากฏในบันทึกรายพระนามแห่งอไบดอสอาจจะปกครองเพียงส่วนของอียิปต์ล่าง

เนเฟอร์คาโซคาร์ ได้รับการยืนยันในเอกสารในช่วงหลัง ซึ่งลงช่วงเวลาหลังจากช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สองไปนานแล้ว

ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่เจ็ดของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งตูริน ซักกอเราะฮ์ แต่ไม่ปรากฏในบันทึกรายพระนามแห่งอไบดอสอาจจะปกครองเพียงส่วนของอียิปต์ล่าง

ฮูดเจฟาที่ 1พระนามดังกล่าวมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ถูกลบ" หรือ "หายไป" แสดงว่าในช่วงราชวงศ์ที่สิบเก้า ซึ่งมีการเขียนบันทึกรายพระนาม ไม่ทราบหรือพระนามฟาโรห์พระองค์นี้สูญหาย

ปรากฏรายพระนามเป็นฟาโรห์พระองค์ที่แปดของราชวงศ์ในบันทึกรายพระนามแห่งซักกอเราะฮ์ แต่ไม่ปรากฏในบันทึกรายพระนามแห่งอไบดอสอาจจะปกครองเพียงส่วนของอียิปต์ล่างสันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน และอาจจะถูกลบทิ้งโดยเจตนา[11]

เซท-เพอร์อิบเซน พระนามของพระองค์เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าเซทมากกว่าที่เป็นเทพเจ้าฮอรัสตามประเพณี

ปรากฏหลักฐานยืนยัน คือ จารึกร่วมสมัย แต่ไม่ปรากฏพระนามอยู่ในบันทึกพระนามใดในภายหลังปรากฏหลักฐานยืนยันเพียงในอียิปต์บนเท่านั้น[12]

สุสาน พี, อุมม์ อัล กา'อับ
เซคเอมอิบ-เพอร์เอนมาอัต ปรากฏหลักฐานยืนยัน คือ จารึกร่วมสมัย แต่ไม่ปรากฏพระนามอยู่ในบันทึกพระนามใดในภายหลัง

สันนิษฐานว่าเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซท-เพอร์อิบเซน[13] หรือทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของพระองค์[14][15]

สุสาน พี, อุมม์ อัล กา'อับ (?)
นุบเนเฟอร์ ปรากฏพระนามประสูติ แต่ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลา

ไม่ปรากฏพระนามในบันทึกพระนามใดเลยอาจจะเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์ราเนบ[16] หรือฟาโรห์ที่ทรงครองราชย์เป็นเวลาสั้น ๆ ซึ่งปกครองในช่วงหนึ่งหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์[17]

และผู้ปกครองพระองค์สุดท้าย ซึ่งปรากฏแหล่งข้อมูลที่เห็นพ้องต้องกัน

พระนามจำนวนปีที่ทรงครองราชย์สถานที่ฝังพระบรมศพพระมเหสี
คาเซคเอมวี 17–18สุสาน วี, อุมม์ อัล กา'อับนิมาอัตฮัป

มาเนโธได้บันทึกว่า ไทนิส เป็นเมืองหลวงเช่นเดียวกับในราชวงศ์ที่หนึ่ง แต่ฟาโรห์สามพระองค์แรกถูกฝังพระบรมศพไว้ที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งบ่งชี้ว่าศูนย์กลางอำนาจได้ย้ายไปที่เมืองเมมฟิส นอกเหนือจากนี้ ไม่ค่อยทราบถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากบันทึกประจำปีบนศิลาแห่งปาแลร์โมจะคงหลงเหลือจนถึงสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์เนบราและบางส่วนของฟาโรห์นิเนทเจอร์เท่านั้น เหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การผนวกอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน อาจจะเกิดขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เคเซคเอมวี เนื่องจากนักไอยคุปต์วิทยาหลายคนถอดความพระนามของพระองค์ว่า "สองอำนาจบังเกิดขึ้น"

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.
ก่อนหน้าราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ถัดไป
ราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ ราชวงศ์แห่งอียิปต์
(ประมาณ 2890 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล)
ราชวงศ์ที่สาม
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย