ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า มณฑลอียิปต์ที่ 1 (เปอร์เซียโบราณ: Mudrāya[8]) เป็นมณฑล (Satrapy) ของจักรวรรดิเปอร์เซียแห่งราชวงศ์อะคีเมนิด ระหว่าง 525 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล สถาปนาขึ้นขึ้นโดยกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย หลังจากการทำยุทธการที่เปลูเซียม (525 ปีก่อนคริสตกาล) การพิชิตอียิปต์ของราชวงศ์อะคีเมนิด และการขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในเวลาต่อมา ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดสิ้นสุดเนื่องจากการก่อกบฏและการขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์อไมร์เตอุส ส่วนช่วงที่สองของการปกครองของราชวงศ์อะคีเมนิดในอียิปต์นั้นอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 343–332 ปีก่อนคริสตกาล)

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
𐎸𐎭𐎼𐎠𐎹
Mudrāya
มณฑลของจักรวรรดิอะคีเมนิด
525 ปีก่อนคริสตกาล – 404 ปีก่อนคริสตกาล
Flag of ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

ธงแห่งกษัตริย์ไซรัส มหาราช

ส่วนด้านตะวันตกของจักรวรรดิอะคีเมนิด และดินแดนอียิปต์[1][2][3][4]
การปกครอง
ฟาโรห์ 
• 525–522 ปี่ก่อนคริสตกาล
แคมไบซีสที่ 2 (พระองค์แรก)
• 423–404 ปีก่อนคริสตกาล
ดาริอุสที่ 2 (พระองค์สุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์สมัยอะคีเมนิด
• ยุทธการที่เปลูเซียม
525 ปีก่อนคริสตกาล
• การก่อกบฏของอไมร์เตอุส
404 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดแห่งอียิปต์
ตราประทับทรงกระบอกสเวนิโกรอดสกีเป็นภาพกษัตริย์เปอร์เซียแทงหอกใส่ฟาโรห์อียิปต์ ขณะที่จับเชลยสี่คนด้วยเชือก[5][6][7]

ประวัติราชวงศ์

ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 3 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ ทรงพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์แคมไบซีสที่ 2 ในสมรภูมิเปลูเซียมที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตะวันออกในเดือนพฤษภาคม เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์แคมไบซีสทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในฤดูร้อนของปีนั้นอย่างช้าที่สุด ซึ่งเป็นการเริ่มต้นช่วงแรกของการปกครองของเปอร์เซียเหนืออียิปต์ (หรือที่เรียกว่า ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์) จากนั้นอียิปต์ก็เข้าร่วมกับไซปรัสและฟีนิเซียเพื่อก่อตั้งเป็นมณฑลที่หกของจักรวรรดิอะคีเมนิด โดยมีอารยันดิสเป็นผู้ว่าการประจำมณฑล

ในฐานะฟาโรห์แห่งอียิปต์ เห็นว่าในรัชสมัยของกษัตริย์แคมไบซีส ทรัพยากรทางการคลังของวิหารอียิปต์ดั้งเดิมลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งปรากฏพระราชกฤษฎีกาฉบับหนึ่งซึ่งเขียนบนกระดาษปาปิรุสด้วยอักษรเดโมติกได้สั่งจำกัดทรัพยากรสำหรับวิหารอียิปต์ทุกแห่ง ยกเว้นเมมฟิส เฮลิโอโปลิส และเวนเคม (ใกล้กับอาบูซีร์) กษัตริย์แคมไบซีสทรงเดินออกจากอียิปต์ในช่วงต้น 522 ปีก่อนคริสตกาล และสวรรคตระหว่างทางไปเปอร์เซีย และกษัตริย์บาร์ดิยา ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ทรงขึ้นปกครองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แม้ว่านักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจะเสนอความเห็นว่า กษัตริย์บาร์ดิยาที่แท้จริงแล้วคือเกามาตา และบาร์ดิยาตัวจริงถูกสังหารเมื่อหลายปีก่อนโดยกษัตริย์แคมไบซีส กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ทรงสงสัยว่ามีการแอบอ้างนี้ จึงทรงก่อรัฐประหารต่อต้าน "บาร์ดิยา" ในเดือนกันยายนของปีนั้น ทรงโค่นล้มฟาโรห์บาร์ดิยาและได้รับการสวมมงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์และฟาโรห์ในเช้าวันรุ่งขึ้น

ในฐานะกษัตริย์เปอร์เซียพระองค์ใหม่ กษัตริย์ดาริอุสทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการปราบกบฏทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์ ช่วงปลายของ 522 ปีก่อนคริสตกาล หรือช่วงต้น 521 ปีก่อนคริสตกาล ผู้ปกครองอียิปต์ในท้องถิ่นก่อการจลาจลและประกาศตนเป็นฟาโรห์เปตูบัสติสที่ 3 ซึ่งไม่ทราบสาเหตุหลักของการกบฏนี้ไม่แน่นอน แต่นักประวัติศาสตร์การทหารชาวกรีกโบราณนามว่า พอลิเอนุส ระบุว่าเกิดจากการเก็บภาษีที่กดขี่ ซึ่งกำหนดโดยอารยันดิส และพอลิเอนุสได้เขียนเพิ่มเติมอีกว่า กษัตริย์ดาริอุสทรงเดินทัพไปยังอียิปต์โดยมาถึงในช่วงที่มีการไว้ทุกข์สำหรับการสิ้นพระชนม์ของพระโคเฮรัลด์แห่งเทพพทาห์อันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริน์ดาริอุสทรงประกาศว่าพระองค์จะมอบรางวัลหนึ่งร้อยตะลันต์ให้กับชายผู้ซึ่งสามารถสถาปนาพระโคเฮรัลด์พระองค์ต่อไปได้ จึงสร้างความประทับใจให้กับชาวอียิปต์ด้วยความนับถือของพระองค์จนคนจำนวนมากแห่กันไปข้างพระองค์ ทำให้การกบฏยุติลง[9]

รูปสลักอียิปต์ของกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 ค้นพบในพระราชวังในซูซา[10]
ตราประทับทรงกระบอกจากราชวงศ์อะคีเมนิดจากอิหร่าน แสดงภาพกษัตริย์จับสิงโตกริฟฟินสองตัวที่อ่าว และอักษรอียิปต์โบราณที่อ่านว่า "เทพือธ พระผู้คุ้มครองข้า" ประมาณศตวรรษที่ 6-5 ก่อนคริสตกาล[11][12]

กษัตริย​์ดาริอุสทรงสนพระทัยกิจการภายในของอียิปต์มากกว่าแคมไบซีส มีรายงานว่าพระองค์ทรงตราประมวลกฎหมายของอียิปต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดระบบคลองที่สุเอซจนเสร็จสิ้น ทำให้สามารถเดินทางจากทะเลสาบบิตเตอร์ผ่านไปยังทะเลแดงได้ ซึ่งดีกว่าเส้นทางบนบกที่ทุรกันดารในทะเลทรายมาก ความสำเร็จนี้ทำให้กษัตริย์ดาริอุสทรงสามารถนำเข้าแรงงานและช่างฝีมือชาวอียิปต์ที่มีทักษะมาสร้างพระราชวังของพระองค์ในเปอร์เซีย ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะสมองไหลเล็กน้อยในอียิปต์ เนื่องจากการสูญเสียบุคคลที่มีทักษะเหล่านี้ ทำให้คุณภาพสถาปัตยกรรมและศิลปะของอียิปต์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตามกษัตริย์ดาริอุสก็ทรงอุทิศพระองค์ให้กับการสนับสนุนวิหารอียิปต์มากกว่ากษัตริย์แคมไบซีส ทำให้พระองค์ได้รับชื่อเสียงในด้านการยอมรับความต่างทางศาสนาในภูมิภาคดังกล่าว ใน 497 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างที่กษัตริย์ดาริอุสทรงไปเยือนอียิปต์ อารยันดิสได้ถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏ ซึ่งเป็นไปได้มากว่าอารยันดิสพยายามออกเหรียญของตนเอง จึงเห็นถึงเป็นความพยายามในการแยกอียิปต์ออกจากส่วนที่เหลือของจักรวรรดิเปอร์เซีย[13][14] กษัตริย​์ดาริอุสเสด็จสวรรคตใน 486 ปีก่อนคริสตกาล และสืบพระราชบัลลังก์ต่อโดยกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1

ทหารอียิปต์ในกองทัพอะคีเมนิด ราวประมาณ 470 ก่อนคริสตกาลทบนจารึกสุสานหลวงกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1

หลังจากการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์เซอร์ซีส อียิปต์ได้มีการก่อกบฏอีกครั้ง คราวนี้อาจจะเป็นไปได้ภายใต้ฟาโรห์พซัมติกที่ 4 ถึงแม้ว่าแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะโต้แย้งในรายละเอียดนั้นก็ตาม กษ้ตริย์เซอร์ซีสทรงปราบการกบฏอย่างรวดเร็วโดยแต่งตั้งให้อะเคเมเนส ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ขึ้นเป็นผู้ว่าการมณฑล กษัตริย์เซอร์ซีสทรงยุติสถานะพิเศษของอียิปต์ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ดาริอุส และเพิ่มความต้องการด้านอุปทานจากประเทศนี้ ซึ่งน่าจะเป็นเงินทุนในการรุกรานกรีซของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งเสริมเทพเจ้าอาฮูรา มาซดา ของศาสนาโซโรอัสเตอร์แทนที่เทพเจ้าอียิปต์ดั้งเดิม และทรงหยุดการให้เงินสนับสนุนการสร้างอนุสาวรีย์ในอียิปต์อย่างถาวร กษัตริย์เซอร์ซีสทรงถูกสังหารใน 465 ปีก่อนคริสตกาลโดยอาร์ตาบานุส โดยเริ่มต้นการต่อแย่งชิงอำนาจภายในราชวงศ์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการที่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์องค์ต่อไปและครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์

ใน 460 ปีก่อนคริสตกาล การก่อจลาจลครั้งใหญ่ของอียิปต์เกิดขึ้นอีกครั้ง นำโดยผู้ปกครองชาวลิเบียนามว่า อินารอสที่ 2 ซึ่งได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากชาวเอเธนส์แห่งกรีซ[15] โดยที่อินารอสได้เอาชนะกองทัพที่นำโดยอะเคเมเนส ซึ่งถูกสังหารในสมรภูมิดังกล่าว และเข้ายึดเมืองเมมฟิส ในที่สุดก็ได้แผ่อำนาาจควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์ ในที่สุด อินารอสและพันธมิตรชาวเอเธนส์ของเขาก็พ่ายแพ้ต่อกองทัพเปอร์เซียที่นำโดยนายพลเมกะไบซุสในปี 454 ก่อนคริสตกาล และส่งผลให้ต้องล่าถอย โดยเมกะไบซุสได้ให้สัญญาว่าจะไม่ทำอันตรายใดๆ แก่อินารอสหรือผู้ติดตามของเขา หากเขายอมจำนนและยอมจำนนต่อผู้ทรงอำนาจแห่งเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่อินารอสยอมตกลง อย่างไรก็ตาม ในที่สุดกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสก็ทรงสั่งประหารอินารอส ถึงแม้ว่าจะเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อไหร่ก็ตาม[16] กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสเสด็จสวรรคตเมื่อ 424 ปีก่อนคริสตกาล

ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสพระนามว่า เซอร์ซีสที่ 2 ซึ่งขึ้นปกครองเพียงสี่สิบห้าวัน โดยที่กษัตริย์ซอกเดียนุส ผู้เป็นพระอนุชา ได้ทรงลอบปลงพระชนม์พระองค์ และกษัตริย์ซอกเดียนุสได้ทรงถูกพระอนุชาพระนามว่า โอคัส สังหารพระองค์ และขึ้นครองพระราชบัลลังก์ในพระนามว่า กษัตริย์ดาริอุสที่ 2[17] โดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ทรงปกครองตั้งแต่ 423 ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อใกล้สิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์ การก่อจลาจลที่นำโดยอไมร์เตอุสก็เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเริ่มการก่อกบฎอย่างเร็วที่สุดเมื่อ 411 ปีก่อนคริสตกาล ใน 405 ปีก่อนคริสตกาล อไมร์เตอุส พร้อมด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาวครีตได้ขับไล่ชาวเปอร์เซียออกจากเมืองเมมฟิส และประกาศตนเป็นฟาโรห์ในปีต่อมา และการปกครองของราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์สิ้นสุด เมื่อกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ผู้ซึ่งทรงครองพระราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์ดาริอุสที่ 2 ได้ทรงพยายามเริ่มดำเนินการเพื่อยึดอียิปต์คืน แต่เนื่องจากปัญหาทางการเมืองกับพระอนุชาของพระองค์พระนามว่า ไซรัส ผู้เยาว์ พระองค์จึงทรงละทิ้งความพยายามในการดำเนินการดังกล่าว แต่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสยังคงทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์โดยชอบธรรมในบางส่วนของอียิปต์จนถึง 401 ปีก่อนคริสตกาล ถึงแม้ว่าการตอบโต้อย่างเชื่องช้าของพระองค์ต่อสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้อียิปต์สามารถประกาศเอกราชได้

ในช่วงระยะเวลาของการปกครองอิสระ ราชวงศ์พื้นเมือง 3 ราชวงศ์ได้ผลัดขึ้นมามีอำนาจ คือ ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด, ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า และราชวงศ์ที่สามสิบ โดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 (358 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ทรงพิชิตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์อีกครั้งในช่วงมณฑลอียิปต์ที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ (343 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเรียกว่าราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดแห่งอียิปต์

ราชวงศ์อะคีเมนิดได้เข้ามาปกครองอียิปต์นั้นมักถูกมองว่าอ่อนแอหรือกดขี่ การวิเคราะห์ของ เอช. พี. คอลเบิร์น (2019) ชี้ให้เห็นว่ามรดกของราชวงศ์อะคีเมนิดมีความสำคัญ และชาวอียิปต์มีประสบการณ์ที่หลากหลายในช่วงเวลานี้[18][19]

รายพระนามฟาโรห์

แจกันเศวตศิลาอียิปต์ของกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 พร้อมจารึกอักษรอียิปต์โบราณสี่ภาษาและอักษรคูนิฟอร์ม อักษรอียิปต์โบราณอ่านว่า: "กษัตริย์แห่งอียิปต์บนและล่าง เจ้าแห่งสองแผ่นดิน ดาริอุส ทรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดไป ปีที่ 36 แห่งการครองราชย์"[20][21]

ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ทรงปกครองเป็นระยะเวลาประมาณ 121 ปี นับตั้งแต่ 525 ถึง 404 ปีก่อนคริสตกาล โดยผู้ปกครองที่มีพื้นหลังสีม่วงเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ชาวพื้นเมืองที่กบฏต่อการปกครองของราชวงศ์อะคีเมนิด

พระนามรูปภาพรัชสมัยพระนามครองราชย์คำอธิบาย
แคมไบซีสที่ 2 525–522 ปีก่อนคริสตกาลเมซูติเรทรงรบชนะฟาโรห์พซัมติกที่ 3 ในยุทธการที่เปลูเซียมใน 525 ปีก่อนคริสตกาล
บาร์ดิยา/เกามาตา 522 ปีก่อนคริสตกาลอาจจะเป็นผู้แอบอ้าง
เปทูบาสติสที่ 3 522/521–520 ปีก่อนคริสตกาลเซเฮรูอิบเรทรงก่อกบฏต่อฟาโรห์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด
ดาริอุสที่ 1 หลมหาราช 522–486 ปีก่อนคริสตกาลเซเตตูเร
พซัมติกที่ 4ทศวรรษที่ 480 ก่อนคริสตกาลทรงตั้งใจก่อกบฏต่อฟาโรห์แห่งราชวงศ์อะคีเมนิด
เซอร์ซีสที่ 1 มหาราช 486–465 ปีก่อนคริสตกาล
อาร์ตาบานุส465–464 ปีก่อนคริสตกาลทรงลอบสังหารกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1 และภายหลังทรงถูกสังหารโดยกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1
อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 465–424 ปีก่อนคริสตกาล
เซอร์ซีสที่ 2425–424 ปีก่อนคริสตกาลทรงอ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์
ซอกเดียนุส424–423 ปีก่อนคริสตกาลทรงอ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์
ดาริอุสที่ 2 423–404 ปีก่อนคริสตกาลฟาโรห์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

เส้นเวลาของราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด

Darius IISogdianusXerxes IIArtaxerxes IXerxes IDarius IBardiyaCambyses II

ผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด

รายนามช่วงเวลาปกครองรัชสมัยคำอธิบาย
อารยันดิส525–522 ปีก่อนคริสตกาล;

518–ราว 496 ปีก่อนคริสตกาล

แคมไบซีสที่ 2, ดาริอุสที่ 1ถูกปลดจากตำแหน่งจากการปฏิวัติใน 522 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาได้รับการแต่งตั้งในปี 518 ก่อนคริสตกาล จากนั้นถูกปลดจากตำแหน่งอีกครั้งโดยกษัตริย์ดาริอุสที่ 1
เฟเรนดาเตสราว 496–ราว 486 ปีก่อนคริสตกาลดาริอุสที่ 1อาจถูกสังหารระหว่างการก่อจลาจล
อะเคเมเนสราว 486–459 ปีก่อนคริสตกาลเซอร์ซีสที่ 1, อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1ทรงเป็นพระอนุชาของกษัตริย์เซอร์ซีสที่ 1, ภายหลังทรงถูกสังหารโดยกบฎอินารอส
อาร์ซาเมสราว 454–ราว 406 ปีก่อนคริสตกาลอาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1, เซอร์ซีสที่ 2, อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2เป็นผู้ว่าการมณฑลอียิปต์ที่ปกครองยาวนานที่สุด

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย