ราชวงศ์ซาฟาวิด

ราชวงศ์ซาฟาวี (เปอร์เซีย: دودمان صفوی, อักษรโรมัน: Dudmâne Safavi,[1] ออกเสียง: [d̪uːd̪ˈmɒːne sæfæˈviː]; อังกฤษ: Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดของอิหร่านที่เข้าปกครองในค.ศ. 1501 ถึง 1736[2] การปกครองของราชวงศ์นี้มักถือเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์อิหร่านสมัยใหม่[3] และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิดินปืน[4] อีสมออีลที่ 1 ชาฮ์ซาฟาวิด สถาปนาชีอะฮ์นิกายสิบสองอิมามเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิ ถือเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์อิสลาม[5] ราชวงศ์ซาฟาวิดมีต้นตอจากคณะซาฟาวิดของนิกายศูฟี ซึ่งสถาปนาที่นครแอร์แดบีลในภูมิภาคอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน[6] โดยเป็นราชวงศ์อิหร่านที่มีต้นกำเนิดจากชาวเคิร์ด[7] แต่ในช่วงที่ปกครองแต่งงานกับบุคคลสำคัญชาวเตอร์โกแมน,[8] จอร์เจีย,[9] เซอร์แคสเซีย,[10][11] และกรีกพอนติก[12] กระนั้น ในทางปฏิบัติ พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ถูกแผลงเป็นเติร์กและพูดภาษาของกลุ่มชนเติร์ก[13] ราชวงศ์นี้ควบคุมพื้นที่เกรตเตอร์อิหร่านจากฐานที่มั่นในแอร์แดบีล และยืนหยัดอัตลักษณ์อิหร่านในภูมิภาคอีกครั้ง[14] ทำให้เป็นราชวงศ์พื้นเมืองแรกที่สถาปนารัฐชาติที่มีชื่อว่าอิหร่าน นับตั้งแต่สมัยจักรวรรดิซาเซเนียน[15]

ราชวงศ์ซาฟาวิด
พระราชอิสริยยศชาฮันชาฮ์แห่งอิหร่าน
ปกครองอิหร่านซาฟาวิด
ประมุขพระองค์แรกอีสมออีลที่ 1 (1501–1524)
ประมุขพระองค์สุดท้ายแอบบอสที่ 3 (1732–1736)
สถาปนาป. 1501
สิ้นสุดป. 1736

ฝ่ายซาฟาวิดปกครองในช่วง ค.ศ. 1501 ถึง 1722 (ฟื้นฟูในช่วง ค.ศ. 1729 ถึง 1736 และ ค.ศ. 1750 ถึง 1773) และในช่วงสูงสุดสามารถควบคุมพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออิหร่าน อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน อาร์มีเนีย จอร์เจียตะวันออก ส่วนหนึ่งของคอเคซัสเหนือ อิรัก คูเวต และอัฟกานิสถาน เช่นเดียวกันกับพื้นที่ส่วนหนึ่งของตุรกี ซีเรีย ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน

แม้ว่าจักรวรรดินี้ล่มสลายใน ค.ศ. 1736 มรดกที่ทิ้งไว้คือการฟื้นฟูอิหร่านในฐานะฐานที่มั่นทางเศรษฐกิจระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก การสถาปนารัฐและระบบข้าราชการประจำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอิงตาม"การตรวจสอบและถ่วงดุล" นวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม และการอุปถัมภ์ศิลปกรรม[3] ซาฟาวิดยังทิ้งร่องรอยจนถึงปัจจุบันด้วยการสถาปนาชีอะฮ์สิบสองอิมามเป็นศาสนาประจำชาติอิหร่าน เช่นเดียวกันกับการขยายอิสลามนิกายชีอะฮ์ไปยังพื้นที่ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง คอเคซัส อานาโตเลีย อ่าวเปอร์เซีย และเมโสโปเตเมีย[3][5]

ลำดับวงศ์ตระกูลและอัตลักษณ์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

อ่านเพิ่ม

  • Christoph Marcinkowski (tr.), Persian Historiography and Geography: Bertold Spuler on Major Works Produced in Iran, the Caucasus, Central Asia, India and Early Ottoman Turkey, Singapore: Pustaka Nasional, 2003, ISBN 9971-77-488-7.
  • Christoph Marcinkowski (tr., ed.), Mirza Rafi‘a's Dastur al-Muluk: A Manual of Later Safavid Administration. Annotated English Translation, Comments on the Offices and Services, and Facsimile of the Unique Persian Manuscript, Kuala Lumpur, ISTAC, 2002, ISBN 983-9379-26-7.
  • Christoph Marcinkowski, From Isfahan to Ayutthaya: Contacts between Iran and Siam in the 17th Century, Singapore, Pustaka Nasional, 2005, ISBN 9971-77-491-7.
  • "The Voyages and Travels of the Ambassadors", Adam Olearius, translated by John Davies (1662),

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย