รัฐราชสถาน

ราชสถาน (ฮินดี: राजस्थान; อังกฤษ: Rajasthan) เป็นรัฐหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย[8][9] มีพื้นที่ 342,239 ตารางกิโลเมตร (132,139 ตารางไมล์) หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 ของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมดของประเทศอินเดีย และเป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 7 รัฐราชสถานตั้งอยู่บริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย พื้นที่ของรัฐประกอบด้วยพื้นที่กว้างขวางและอยู่อาศัยไม่ได้ของทะเลทรายธาร์ และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศปากีสถาน ทางแคว้นปัญจาบทางตะวันตกเฉียงเหนือ และแคว้นสินธ์ทางตะวันตก นอกจากนี้รัฐราชสถานยังติดต่อกับรัฐปัญจาบทางเหนือ, รัฐหรยาณาและรัฐอุตตรประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐมัธยประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐคุชราตทางตะวันตกเฉียงใต้

รัฐราชสถาน
บนลงล่างและซ้ายไปขวา ทะเลทรายธาร์, หมู่มนเทียรพาโรลี, ชันตรมันตร์, โชธปุระ, เขาอาบู, ป้อมอาเมร์
ตราอย่างเป็นทางการของรัฐราชสถาน
ตรา
ที่ตั้งของรัฐราชสถานในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของรัฐราชสถานในประเทศอินเดีย
พิกัด (ชัยปุระ): 26°36′N 73°48′E / 26.6°N 73.8°E / 26.6; 73.8
ประเทศ อินเดีย
ก่อตั้ง30 มีนาคม 1949
เมืองหลวงชัยปุระ
เมืองใหญ่สุดชัยปุระ
อำเภอ
รายการ
    • อัชเมร์
    • อัลวาร์
    • พันศวร
    • บะรัน
    • บาร์เมร์
    • ภารตปุระ
    • ภิลวรา
    • พิกเนร์
    • บุนดี
    • จิตโตรครห์
    • จูรู
    • Dausa
    • โธลปุระ
    • ทุนคารปุระ
    • หนุมานคฤห์
    • ชัยปุระ
    • ชัยสัลเมร์
    • ชะลอร์
    • ฌลวร์
    • Jhunjhunu
    • โชธปุระ
    • Karauli
    • โกตา
    • Nagaur
    • ปาลี
    • ปรทปครห์
    • ราชสมันท์
    • Sawai Madhopur
    • สิกร
    • Sirohi
    • ศรีคงคานคร
    • โตงก์
    • อุทัยปุระ
การปกครอง
 • ราชยปาลกลราช มิศรา (Kalraj Mishra)[1]
 • มุขยมนตรีอโศก เกหโลต (Ashok Gehlot) (INC)
 • รองมุขยมนตรีสจิน ปิโลต (Sachin Pilot) (INC)
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (200 ที่นั่ง)
 • โลกสภาราชยสภา 10
โลกสภา 25
พื้นที่
 • ทั้งหมด342,239 ตร.กม. (132,139 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 1
ประชากร
 (2011)[2]
 • ทั้งหมด68,548,437 คน
 • อันดับที่ 8
 • ความหนาแน่น200 คน/ตร.กม. (520 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวราชสถาน (Rajasthani)
GSDP (2019–20)[3]
 • รวม10.20 แลกห์โคร (4.3 ล้านล้านบาท)
 • ต่อประชากร118,159 (50,000 บาท)
ภาษา[4]
 • ทางการภาษาฮินดี
 • ทางการเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ
 • ของภูมิภาคภาษาราชสถาน
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-RJ
ทะเบียนพาหนะRJ-
เอชดีไอ (2017)เพิ่มขึ้น 0.621[5]
ปานกลาง · ที่ 29
การรู้หนังสือ (2011)66.1%[6]
อัตราส่วนเพศ (2011)928 /1000 [6]
เว็บไซต์Rajasthan.gov.in
สัญลักษณ์ของรัฐราชสถาน[7]
การแสดง
Ghoomar
สัตว์
อูฐ และ
Chinkara
สัตว์ปีก
Godawan
ดอกไม้
Rohida
ต้นไม้
Khejri
กีฬา
บาสเกตบอล

รัฐราชสถานเป็นที่ตั้งของซากปรักหักพังของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ที่ Kalibanga กับ Balathal, หมู่ไชนมนเทียรทิลวร ศาสนสถานสำคัญของศาสนาเชน บนสถานีบนเขาแห่งเดียวของรัฐ, เขาอาบู ส่วนหนึ่งของเทือกเขาอรวัลลี และอุทยานแห่งชาติ Keoladeo National Park ที่ภารตปุระ แหล่งมรดกโลก[10]

รัฐราชสถานก่อตั้งขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม 1949 เมื่อมีการรวมแคว้นราชปุตนะ (ชื่อที่บริติชราชกำหนดใช้ให้เรียกเมืองขึ้นในภูมิภาคนี้) เข้ากับสหภาพอินเดีย[11] เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐราชสถาน คือ ชัยปุระ เมืองสำคัญอื่น ๆ ของรัฐราชสถาน ได้แก่ โชทปุระ, โกตา, พิกเนร์, อัชเมร์, ภารตปุระ และอุทัยปุระ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย