ยู มย็อง-ฮี

นักจุลชีววิทยาชาวเกาหลีใต้

ยู มย็อง-ฮี (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2497) เป็นนักจุลชีววิทยาชาวเกาหลีใต้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสตรีแห่งประเทศเกาหลี[2] และเป็นนักวิจัยหลักที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศเกาหลี เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าเลขาธิการคนแรกของสำนักงานวางแผนกลยุทธ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอี มย็อง-บัก และได้ดำรงตำแหน่งจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[3][4][5][6]

ยู มย็อง-ฮี
เกิด (1954-09-05) 5 กันยายน ค.ศ. 1954 (69 ปี)
โซล
สัญชาติเกาหลีใต้
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
อาชีพนักจุลชีววิทยา
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Yu Myeonghui
เอ็มอาร์Yu Myŏnghŭi

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

ยูเกิดที่กรุงโซล[7] เธอรู้ตัวว่าสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ตอนศึกษาอยู่ระดับมัธยมต้น[8] ใน พ.ศ. 2520 ยูได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล จากนั้นเธอได้รับปริญญาเอกด้านจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ใน พ.ศ. 2525[6][7] ต่อมาเธอได้เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ใน พ.ศ. 2528[7]

อาชีพ

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

หลังจากย้ายกลับไปอยู่ที่ประเทศเกาหลี ยูทำงานที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศเกาหลีจนถึง พ.ศ. 2543[7] หลังจากนั้นเธอย้ายไปดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การวิจัยหลักที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศเกาหลี[7] งานส่วนใหญ่ของยูมุ่งเน้นไปที่การปลดล็อกโครงสร้างและการพับของโปรตีนแอลฟาวัน-แอนติทริปซินซึ่งเป็นโปรตีนเซอร์ปิน[9] ยูและทีมวิจัยของเธอได้ทำงานเพื่อค้นหาว่ากรดอะมิโนตัวไหนบ้างที่สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น การกลายพันธุ์ tsf ซึ่งส่งผลให้การพับโปรตีนบกพร่อง[10] เธอและกลุ่มนักวิจัยของเธอยังได้จดสิทธิบัตรวิธีการเตรียมอัลฟ่า-1 แอนทริทริปซินมิวทีนที่มีพันธะไดซัลไฟด์[11]

ผลงานของเธอปรากฏในวารสาร เนเจอร์,[12] The Journal of Proteome Research,[13] Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America,[14]Journal of Molecular Biology,[15] the Journal of Biological Chemistry[16] BMB Reports[17] และอื่น ๆ และได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวนมากในสาขาชีวเคมี พันธุศาสตร์ อณูชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา และจุลชีววิทยา[18]

งานสาธารณะ

ยูดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของศูนย์การทำหน้าที่ของโปรตีน (Functional Proteomics Center) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงแนวพรมแดนการวิจัยและพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Frontier R&D) ที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศเกาหลี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2553[6][7][19] ใน พ.ศ. 2553 เธอได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ในรัฐบาลเกาหลีใต้ที่มีชื่อว่าเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่ออนาคตของชาติ[19] เธอได้รับความรับผิดชอบให้ดูแลการสื่อสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาล และให้ช่วยส่งเสริมเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยคาร์บอนและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[20] เธอยังดำรงตำแหน่งประธานของสมาคมชีวฟิสิกส์แห่งประเทศเกาหลีตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2553 และยังเป็นประธานขององค์การจีโนมประเทศเกาหลี ใน พ.ศ. 2553[21][22]

รางวัลและการยอมรับ

  • รางวัล Mock-Am จาก สมาคมชีววิทยาโมเลกุลแห่งเกาหลี (พ.ศ. 2539)[7][23]
  • รางวัลลอรีอัล-ยูเนสโกสำหรับสตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2541)[9][23]
  • รางวัลวัฒนธรรมกรุงโซล (พ.ศ. 2544)[6][7][23]
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเหรียญอุงบีจากรัฐบาลเกาหลี (พ.ศ. 2547)[7][23]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย