ยุทธการที่ทาลัส

ยุทธการที่ทาลัส (จีน: 怛羅斯戰役; พินอิน: Dáluósī Zhànyì; อาหรับ: معركة نهر طلاس, อักษรโรมัน: Maʿrakat nahr Ṭalās; เปอร์เซีย: نبرد طراز, อักษรโรมัน: Nabard-i Tarāz) เป็นการสู้รบระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ร่วมมือกับจักรวรรดิทิเบตเข้าต่อกรกับราชวงศ์ถังของจีนสมัยถังเฉวียนจงฮ่องเต้ ยุทธการนี้เกิด ณ เอเชียกลางในปี ค.ศ. 751 สนามรบนี้นักประวัติศาสต์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ ณ ที่ใดแต่เชื่อว่าอยู่ใกล้พรมแดนประเทศคาซัคสถานและประเทศคีร์กีซสถาน ริมฝั่งเแม่น้ำ Talas ในปัจจุบัน

ยุทธการที่ทาลัส
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตทรานส์ออกเซียนาโดยมุสลิม
วันที่พฤษภาคม–กันยายน ค.ศ. 751
สถานที่
ผลอับบาซียะฮ์ชนะ
คู่สงคราม
รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
จักรวรรดิทิเบต
ทหารรับจ้างชาวคาร์ลุก[1]
จักรวรรดิถัง
ทหารรับจ้างชาวคาร์ลุก[2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อัสซัฟฟาห์
แอบูมูสลีม
ซิยาด อิบน์ ศอเลียะห์[3]
เกา เซียนจือ
หลี่ ซี่เย่
ต้วน ซิ่วฉือ[3]
กำลัง
30,000–50,000 นาย[4]30,000–50,000 นาย[5] 91,000 นาย[6][7]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ20,000–50,000 นาย

หลังพิชิตจักรวรรดิแซสซานิดได้ในปี ค.ศ. 651 ราชวงศ์มุสลิมอุมัยยะฮ์ได้แผ่อำนาจเข้ามาในเอเชียกลางและปะทะกับชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม รวมถึงราชวงศ์ถังที่ครอบครองดินแดนในเอเชียกลางเช่นกัน ในปี ค.ศ. 715 จีนส่งทหารไปช่วยกษัตริย์อิคชิดแห่งเฟอร์กานายึดบัลลังก์คืนจากอลูตาร์ กษัตริย์องค์ใหม่ที่ได้รับหนุนจากอุมัยยะฮ์ สองปีต่อมา ทัพอุมัยยะฮ์ถูกทัพจีนตีแตกหลังล้อมเมืองอัคซู ต่อมาในปี ค.ศ. 750 อัส-ซัฟฟะห์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์โค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้สำเร็จ ก่อนจะส่งทหารไปที่เอเชียกลางเพื่อปกป้องดินแดน[8]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 751 ทัพอับบาซียะฮ์พบกับทัพราชวงศ์ถังที่ริมฝั่งแม่น้ำทาลัส โดยฝ่ายอับบาซียะฮ์มีกำลังสนับสนุนจากทิเบต ในขณะที่ฝ่ายกองทัพถังนำโดยแม่ทัพ เกาเซียนจื่อ (แม่ทัพกองกำลังอันซี Anxi รักษาดินแดนตะวันตก) มีกองทัพจากเมืองเฟอร์กานาและทหารรับจ้างชาวคาร์ลุครวมกันประมาณ 30,000 นาย (ทัพถัง 10,000 นาย คาร์ลุค 20,000 นาย) แหล่งข้อมูลหลายแหล่งบันทึกถึงกำลังพลที่ต่างกัน โดยบางแหล่งประเมินทัพทั้งสองฝ่ายไว้สูงถึง 100,000 นาย ซึ่งอาจเป็นการกล่าวเกินจริง ทั้งสองฝ่ายตั้งทัพโดยมีพลธนูและพลหอกอยู่ด้านหน้าและมีทหารม้าด้านข้าง ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ชนะเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่วันที่ 4 ทัพจีนแตกพ่ายเนื่องจากถูกทหารชาวคาร์ลุคที่แปรพักตร์โจมตีด้านข้างและถูกทัพอับบาซียะฮ์ตีขนาบจากด้านหน้า[9]

หลังยุทธการนี้ ฝ่ายอับบาซียะฮ์มีโอกาสรุกเข้าเอเชียกลางมากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายทัพถังต้องถอยร่นกลับไปที่เมืองโชวสือ (Qiuci) เพื่อเตรียมตัวโต้กลับอีกครั้ง แต่เหตุการไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อส่วนกลางได้เรียกกองกำลังกลับไปเมืองหลวง เพื่อนำกำลังไปรบกับกบฏอันลูชานที่มีต้นกำเนิดในตอนเหนือของจีน การขยายอำนาจในเอเชียกลางของอับบาซียะฮ์ทำให้ราชวงศ์นี้รับวัฒนธรรมและวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตกระดาษจากจีน[10]

อ้างอิง

42°31′30″N 72°14′0″E / 42.52500°N 72.23333°E / 42.52500; 72.23333

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย