ยง ภู่วรวรรณ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เป็นแพทย์ชาวไทย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

ยง ภู่วรวรรณ
ยง ในปี พ.ศ. 2550
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 (73 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีชื่อเสียงจากที่ปรึกษาสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
รางวัลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล–บี. บราวน์ (2546)
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (2540)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาตับในกุมารเวชศาสตร์
วิทยาไวรัส
สถาบันที่ทำงานคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เขาได้รับการยอมรับในสาขาวิทยาตับเด็ก, ไวรัสตับอักเสบ และได้รับการเชื่อถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนก H5N1 ในประเทศไทย[2] ต่อมาเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] ในระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบทบาทในการสนับสนุนวัคซีนของซิโนแว็กซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นไปโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ[4] และยังมีการแจ้งความต่อผู้วิจารณ์

ประวัติ

ยงเกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นแฝดผู้น้องของยืน ภู่วรวรรณ มีบุตรสาวชื่อพญ. ณัฏยาดา ภู่วรวรรณ จบจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่ภูมิลำเนาเดิมของแม่ ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จบการศึกษามัธยมจากพระปฐมวิทยาลัย และ มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หลังจากนั้น เข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขากุมารเวชศาสตร์ (2518-2521) จากนั้นบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และได้ไปฝึกอบรมเป็น research fellow ที่ King’s College Hospital Medical School กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

เขาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคระบาดทางเดินอาหาร คลินิกศูนย์กุมารเวชเฉพาะทาง โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล[5] ที่เดียวกับบุตรสาว[6] เขาเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก และหัวหน้าโครงการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทบาททางการแพทย์และสาธารณสุข

เมื่อครั้งที่มีการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ยงเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] ใน พ.ศ. 2564 ขณะการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เขาถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบทบาททางด้านนโยบาย โดยเฉพาะการสนับสนุนวัคซีนของซิโนแว็กโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ อาทิ สนับสนุนการตัดสินใจรอการสั่งซื้อวัคซีนไปจนถึงปี 2565 โดยอ้างว่าควรรอให้ตลาดเป็นของผู้ซื้อเพื่อให้ซื้อวัคซีนได้ในราคาถูก[7] ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนวัคซีนซิโนแวกอย่างต่อเนื่อง[8][9] แนะนำให้ฉีดวัคซีนซิโนแวกหรือซิโนฟาร์มสามเข็มเพื่อป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าว่า "จะทำให้ภูมิต้านทานสูงเป็นน้อง ๆ ของไฟเซอร์" "เพียงพอในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา"[10][11] แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรองรับในขณะนั้น[12] แต่ต่อมายงได้ออกมาปฏิเสธว่าตนไม่เคยพูดและข้อความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม[13] สนับสนุนการขยายเวลาการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกาเข็มที่สองออกไปเป็น 16 สัปดาห์ขัดกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกซึ่งระบุระยะการฉีดระหว่างโดสแรกและโดสที่สองไว้ที่ 8–12 สัปดาห์[14] หรือเปิดเผยผลงานวิจัยที่มีขนาดตัวอย่างเพียง 2 รายจนเป็นที่ถกเถียงถึงความน่าเชื่อถือของงานวิจัยดังกล่าว[15][16] เป็นผลให้ถูกเสนอให้ถอดถอนชื่อออกจากการเป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก[4]

ความคิดเห็นส่วนตัวของเขาต่อโควิด-19 ตามที่ปรากฏในสื่อ เช่น โควิด-19 คงไม่รุนแรงไปกว่าไข้หวัดใหญ่ปี 2009,[17] วัคซีนแบบเชื้อตายเช่นซิโนแวค มีความปลอดภัยว่าวัคซีนแบบ mRNA[18][19] และอาจป้องกันไวรัสข้ามสายพันธุ์ได้ดีกว่า,[20] วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนก้า สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100%,[21][22] ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนก็ไม่ต่างกัน,[23] วัคซีนเชื้อตายเป็นวัคซีนปูพื้นที่ดีกว่าชนิด mRNA[24], หรือการให้วัคซีนเชื้อตายร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นอาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์[25]

บทความของเขาบนวิกิพีเดียภาษาไทยถูกก่อกวนเพิ่มข้อมูลอ้างว่าเขาเป็น "เซลล์ขายวัคซีน Sinovac" ซึ่งต่อมาผู้ก่อเหตุถูกตำรวจจับกุมตัวในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา[26] ในเดือนธันวาคม มีข่าวว่าเขาแจ้งความให้ดำเนินคดีต่อผู้วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้บนแอพติ๊กต็อก[27]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย