มหาสงครามซู ค.ศ. 1876

มหาสงครามซู ค.ศ. 1876 หรือสงครามแบล็กฮิลส์ เป็นชุดยุทธการและการเจรจาซึ่งเกิดระหว่าง ค.ศ. 1876 ถึง 1877 ระหว่างฝ่ายซูลาโคตาและไชแอนเหนือกับสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการค้นพบทองในแบล็กฮิลส์ ผู้อพยพเริ่มเข้าเบียดเบียนพื้นที่ของอินเดียนแดง และรัฐบาลกลางสหรัฐกดดันชาวอินเดียนแดงให้อยู่ในเขตสงวนซู เดิมกองทัพและนักประวัติศาสตร์สหรัฐกำหนดลาโคตาเป็นหัวใจของเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูจากตัวเลข แต่ชาวอินเดียนแดงบางคนเชื่อว่าไชแอนเป็นเป้าหมายหลักของการทัพสหรัฐ การตีความอีกอย่างหนึ่งนี้แนะว่า ชาวอินเดียนจะเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "มหาสงครามไชแอน"[1]

มหาสงครามซู ค.ศ. 1876
ส่วนหนึ่งของ สงครามซู, สงครามอินเดียนแดง

การยืดหยัดครั้งสุดท้ายของคัสเตอร์ที่ลิตเติลบิกฮอร์น
วันที่1876–1877
สถานที่
ดินแดนมอนทานา, ดินแดนดาโกตา, ดินแดนไวโอมิง
ผลสหรัฐอเมริกาชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐ
โชชอน
คราว
ปาวนี
ลาโกตา
ไชแอน
อาปาโฮ
กลุ่มโจรนอกกฎหมาย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เนลสัน เอ ไมล์
จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์
จอร์จ ครูก
เวสลีย์ เมอร์ริตต์
เครซี ฮอร์ส #
ซิตติง บูล #
ลิตเติลวูฟล์
ชาวมีดดัลล์
ความสูญเสีย
~500~250-280
แม่แบบ:Campaignbox 1876 North Plains Campaign
แม่แบบ:Campaignbox Sioux Wars

หนึ่งในบรรดายุทธการและการรบปะทะในสงครามนี้ คือ ยุทธการที่ลิตเติลบิกฮอร์น ซึ่งมักรู้จักกันในนาม "การยืนหยัดครั้งสุดท้ายของคัสเตอร์" เป็นที่กล่าวขานกันมากที่สุดระหว่างกองทัพสหรัฐและชาวอินเดียนแดงพื้นราบที่ขี่ม้า แม้ชัยชนะของอินเดียนแดงดังกล่าว แต่สหรัฐอเมริกาที่มีทรัพยากรเหนือกว่าก็สามารถบีบอินเดียนแดงให้ยอมจำนนได้ในเวลาไม่นาน โดยการเข้าตีและทำลายค่ายและทรัพย์สินของพวกเขาเป็นหลัก มหาสงครามซูเกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดียูลิสซิส เอส. แกรนท์และรัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์

พลรบ

พันโท จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ ซึ่งถูกสังหารในยุทธการที่ลิตเติลบิกฮอร์นพร้อมกับทหาร 268 นาย

นักรบชาวอินเดียนประมาณการว่ามีอยู่ระหว่าง 900 ถึง 4,000 คน[2]

ซิตติง บูล ชาวฮังปาคา หนึ่งในผู้นำที่สำคัญของชาวซู

นักรบของดาโกตาซูจำนวน 7 กองในทศวรรษ 1870 อยู่ที่ประมาณ 15,000 นาย ซึ่งมีทั้งชาย หญิง และเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณสงวนให้ซูและเป็นพลเรือน สายข่าวชาวอินเดียนกล่าวในเดือนพฤศจิกายน 1875 ว่า มีชาวอินเดียนอาศัยในพื้นที่ดังกล่าว "ที่เป็นนักรบมีไม่กี่ร้อยคน"[3] นายพลครูกประเมินว่าเขาอาจเผชิญกับนักรบมากถึง 2,000 คน[4] ชาวซูที่ยังคงอยู่ในพื้นที่นั้นในช่วงที่เกิดสงครามเป็นชาวโอกลาลาและฮันค์ปาปา มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 5,500 คน[5] ในจำนวนนี้เมื่อรวมชาวไชแอนเหนือประมาณ 1,500 คนและชาวอาปาโฮแล้ว ชาวอินเดียนที่ไม่เป็นมิตรต่ออเมริกันจากทั้งหมด 7,000 คนโดยประมาณจึงมีนักรบได้มากถึง 2,000 นาย ส่งผลให้มีนักรบชาวอินเดียนเข้าร่วมการต่อสู้ในยุทธการที่ลิตเติลบิกฮอร์นระหว่าง 900 ถึง 2,000 คน[6]

ชาวอินเดียนมีข้อได้เปรียบในด้านการเคลื่อนที่ที่รวดเร็วและความชำนาญภูมิประเทศ แต่ชาวอินเดียนทั้งหมดล้วนเป็นนักรบเฉพาะกาล ในฤดูใบไม้ผลิ พวกเขามักอยู่กับที่กับเหล่าม้าเพื่อความอยู่รอดตลอดฤดูหนาวอันยาวนาน ในขณะที่ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงก็ใช้เวลาไปกับการล่ากระบือเพื่อเลี้ยงชีพครอบครัว นักรบชาวอินเดียนกึ่งหนึ่งติดอาวุธปืนคาบศิลาที่ค่อนข้างเก่า ที่เหลือติดธนูและหอก ซึ่งหอกของชาวอินเดียนถูกออกแบบมาเพื่อการต้อนฝูงม้าและสังหารในระยะใกล้ แต่แทบจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เมื่อใช้สังหารศัตรูที่อยู่ไกลหรือมีการป้องกันเป็นอย่างดี นักรบอินเดียนใช้การต่อสู้แบบดั้งเดิมเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของแต่ละคนเองมากกว่าการต่อสู้ต่อเป้าหมายอย่างมียุทะศาสตร์ ถึงแม้ว่าเครซีฮอร์สจะปลูกฝังความคิดในการสมานฉันท์กันระหว่างชาวซูด้วยกันก็ตาม ในขณะที่ไชแอนมีความเป็นเอกภาพและมีการจัดการที่ดีที่สุดในเหล่าอินเดียนราบด้วยกัน ทำให้ทั้งชาวซูและไชแอนอยู่ในสงครามอย่างยาวนาน โดยมีคู่สงครามที่มีความแค้นฝังลึกอย่างยาวนานอย่างชาวคราวและโชชอนคอยตัดเสบียงอยู่เรื่อยๆ

ในการต่อสู้กับซู กองทัพอเมริกันล้อมรอบพื้นที่สงวนซูและพื้นที่ใกล้เคียง กองทัพที่ใหญ่ที่สุดในการประจัญหน้ากับชาวอินเดียนที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน ค.ศ.1876 บริเวณพื้นที่สงวนดังกล่าว ประกอบด้วยทหารประมาณ 2,500 นาย เหล่าแมวเซาและพลเรือนอีกนับร้อยคน[7] ทหารส่วนมากเดิมเป็นผู้อพยพและไร้ประสบการในการสู้รบตามแนวชายแดน ทั้งยังใช้การรบในรูปแบบอินเดียนดั้งเดิม[8] ในขณะที่กองทัพทหารม้าของสหรัฐอเมริกาติดอาวุธปืนคาลิเบอร์ .45 รีวอลเวอร์จังหวะเดียวและสปริงฟิลด์แบบ 1873 ซึ่งเป็นปืนไรเฟิลจังหวะเดียวและโหลดกระสุนจากพานท้ายปืน ซึ่งช่วยให้ทหารอเมริกาได้เปรียบอย่างมากจากระยะการยิงที่เหนือกว่าอาวุธของชาวอินเดียน

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย