มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย

มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (เยอรมัน: Österreichische Kaiserkrone หรือ Krone des Kaisertums Österreich, อังกฤษ: Imperial Crown of Austria) เป็นมงกุฎที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งออสเตรียของจักรวรรดิออสเตรีย เดิมเป็นของสมเด็จพระจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บางครั้งจึงเรียกว่า “มงกุฎจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2” หรือ “มงกุฎแห่งจักรวรรดิออสเตรีย”

มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
Österreichische Kaiserkrone

ด้านหน้ามงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
ตราสัญลักษณ์
รายละเอียด
สำหรับ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (จนถึง ค.ศ. 1806)
 ออสเตรีย (ค.ศ. 1806-1867)
 ออสเตรีย-ฮังการี (หลัง ค.ศ. 1867)
ผลิตเมื่อค.ศ. 1602
ผู้ครอบครองรัฐบาลออสเตรีย
จำนวนโค้ง1 โค้ง
วัตถุดิบหลักทองคำ
วัสดุซับในกำมะหยี่สีแดง
อัญมณีสำคัญสปิเนล ไข่มุก เพชร มรกต เพทาย
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงมงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และทรงถือคทาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมงกุฎในพระหัตถ์

ประวัติ

เมื่อเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกเก็บรักษาไว้ที่เมืองเนิร์นเบิร์กในเยอรมนีปัจจุบัน และจะนำออกจากเมืองได้ก็ต่อเมื่อมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประมุขของจักรวรรดิบางพระองค์จึงทรงสร้างมงกุฎส่วนพระองค์ เช่นสำหรับในโอกาสที่ทรงเข้าร่วมการประชุม “ราชสภาเยอรมัน” (Reichstag (Imperial Diet)) ที่ทรงใช้มงกุฎของพระองค์เอง รูปที่เก่าที่สุดในการสวมมงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรียเป็นภาพของสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิลเลียนที่ 1ที่สร้างโดยอัลเบรชท์ ดือเรอร์ซึ่งเป็นภาพที่อาจจะมีอิทธิพลต่อการออกแบบ “มงกุฎจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2” ที่สร้างต่อมา

อันที่จริงแล้วมงกุฎจักรพรรดิไม่เคยได้ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสำหรับจักรวรรดิออสเตรียเพราะตามการสืบสันตติวงศ์โดยตรงของราชวงศ์ฮับส์บวร์กซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องมีการสวมมงกุฎ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงเป็นเพียงการแสดงโอกาสเป็นทางการว่าได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเท่านั้น

“มงกุฎจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2” สร้างในปี ค.ศ. 1602 ที่ปรากโดยยาน เวร์เมเย็น (Jan Vermeyen) ช่างทองผู้มีฝีมือคนหนึ่งของสมัยนั้นผู้ถูกเรียกตัวมาเป็นพิเศษจากอันท์เวิร์พ มงกุฎแบ่งเป็นสามส่วน: ฐานมงกุฎ (circlet หรือ “Kronreif”), โค้งมงกุฎ (Kronbügel) และโดมมงกุฎ (Mitre หรือ “Mitra”) ฉะนั้นจึงมีลักษณะเป็นมงกุฎแบบโดม (Mitral crown) ที่มาจากเครื่องสวมศีรษะของบาทหลวง

ฐานมงกุฎ

วงล่างของมงกุฎใช้เป็นฐาน— ส่วนที่เป็นโดมหรือยอดสร้างบนฐานที่เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจ เหนือฐานแยกเป็นกลีบลิลีแปดกลีบซึ่งอาจจะมีอิทธิพลมาจากมงกุฎเซนต์เวนสลาส (Crown of Saint Wenceslas) ของโบฮีเมีย นอกจากนั้นดอกลิลีก็มีความเกี่ยวข้องกับเฟลอ-เดอ-ลีส์[1] (fleur-de-lis) ของราชวงศ์วาลัวส์ เลขแปดมาจากมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เพราะฐานมงกุฎทำจากแผ่นโลหะแปดแผ่น ภายในฐานฝังอัญมณีมีค่าเช่น สปิเนล (spinel), แร่รัตนชาติ (zircon) และไข่มุก แร่รัตนชาติตัดแบนด้านหน้า เพราะการตัดและเจียรนัยอัญมณีในขณะนั้นยังเป็นเทคนิคใหม่

โค้งมงกุฎ

โค้งมงกุฎมีอิทธิพลมาจากมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และฝังด้วยเพชรแปดเม็ดที่เป็นสัญลักษณ์ของพระเยซู เพราะพระมหาจักรพรรดิถือกันว่าเป็นผู้แทนทางศาสนาฝ่ายฆราวาส บนโค้งเป็นมรกตสีน้ำเงินเขียวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ เป็นมรกตขัดที่มิได้เจียรนัย

โดมมงกุฎ

โดมมงกุฎเป็นสัญลักษณ์ของเทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ในการปกครอง, สัญลักษณ์ของตำแหน่งทางความศรัทธา เพราะทรงได้รับสถาปนาให้เป็นผู้นำทางศาสนาของฝ่ายฆราวาสในขณะเดียวกัน วิธีตั้งก็ให้เห็นส่วนโค้งจากหน้าไปหลังเช่นเดียวกับมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดมทำด้วยทองที่มีแถบลงยา (vitreous enamel) เป็นลวดลายนกและไม้

โดมแบ่งออกเป็นสี่ส่วนที่เป็นสัญลักษณ์อันมีเกียรติสี่อย่างของจักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 ส่วนแรกเป็นภาพจากพระบรมราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่เรเกนสเบิร์กเมื่อทรงคุกเข่าขณะที่ทรงรับมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนที่สองเป็นภาพพระองค์ทรงม้าขึ้นไปยังเนินพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่บราติสลาวาเมื่อทรงสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี ส่วนที่สามเป็นภาพขบวนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเมืองปรากในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย และส่วนสุดท้ายเป็นอุปมานิทัศน์ของชัยชนะของพระองค์ต่อการรุกรานของจักรวรรดิออตโตมัน ที่มิได้เกิดขึ้นจึงไม่ถูกต้องตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ คำจารึกด้านในเป็นภาษาละตินว่า: RVDOLPHVS II ROM(ANORVM) IMP(ERATOR) AVGVSTUS HVNG(ARIAE) ET BOH(EMIAE) REX CONSTRVXIT MDCII (สร้างสำหรับรูดอล์ฟที่ 2, จักรพรรดิโรมัน, พระมหากษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย, ในปี 1602)

คทาและลูกโลกประดับกางเขน

คทา, ลูกโลกประดับกางเขนและมงกุฎจักรพรรดิ

เครื่องราชกกุธภัณฑ์อีกสองชิ้นที่เป็นของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งออสเตรียคือคทาและลูกโลกประดับกางเขน (Globus cruciger) ที่พระอนุชาผู้สืบราชสมบัติต่อมาของจักรพรรดิรูดอล์ฟสมเด็จพระจักรพรรดิแม็ทไธยัส ทรงสั่งทำในปี ค.ศ. 1612 ที่สร้างโดยอันเดรียส์ อ็อคเซ็นบรุค (Andreas Ochsenbruck) รูปทรงมีอิทธิพลมาจากตัวมงกุฎโดยเฉพาะงานลงยาก็เป็นงานที่เลียนแบบงานที่ทำบนมงกุฎ สิ่งที่น่าสนใจของคทาคือบางส่วนกล่าวกันว่าทำจาก “เขายูนิคอร์น” คทาและลูกโลกประดับกางเขนใช้มาก่อนหน้าการประกาศเป็นจักรวรรดิของออสเตรียและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งโบฮีเมียและเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของอาร์คดยุคแห่งออสเตรีย

มงกุฎจักรพรรดิ, คทาและลูกโลกประดับกางเขนในปัจจุบันตั้งอยู่ที่คลังพระราชสมบัติในพระราชวังฮอฟเบิร์กในกรุงเวียนนา

การใช้อย่างอื่น

ตราอาร์มของอัมสเตอร์ดัมที่มีมงกุฎจักรพรรดิออสเตรีย
  • เบียร์หลายตราใช้มงกุฎจักรพรรดิออสเตรียบนโลโก เช่นเบียร์จากบริษัท Krušovice ในสาธารณรัฐเช็ก
  • ตราประจำเมืองบางเมืองก็ใช้ตราอาร์มโดยมีมงกุฎจักรพรรดิอยู่เหนือ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

  • เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งออสเตรีย
  • มงกุฎ

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มงกุฎจักรพรรดิแห่งออสเตรีย

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย