ภาษาเบลารุส

ภาษาสลาฟตะวันออก

ภาษาเบลารุส (เบลารุส: беларуская мова, ในอักษรละติน: biełaruskaja mova, ออกเสียง: [bʲɛɫaruskaja mɔva]) เป็นภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกที่พูดโดยชาวเบลารุส และเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของประเทศเบลารุสคู่กับภาษารัสเซียตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (มาตรา 17) นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้ในประเทศรัสเซีย, ลิทัวเนีย, ลัตเวีย, โปแลนด์ และยูเครน

ภาษาเบลารุส
беларуская мова
biełaruskaja mova
ประเทศที่มีการพูดประเทศเบลารุส
ชาติพันธุ์ชาวเบลารุส
จำนวนผู้พูด
ผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 6.3 ล้านคน (สำมะโน พ.ศ. 2552)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาสลาฟตะวันออกเก่า
  • รูธีเนีย
    • ภาษาเบลารุส
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก (อักษรเบลารุส)
อักษรเบรลล์เบลารุส
อักษรละตินเบลารุส
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศเบลารุส เบลารุส
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ (ในเทศบาลออร์ลา, เทศบาลนาแรฟกา, เทศบาลตชือแช, เทศบาลไคนุฟกา และเมืองไคนุฟกา)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน เช็กเกีย[2]
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน[3]
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติเบลารุส
รหัสภาษา
ISO 639-1be
ISO 639-2bel
ISO 639-3bel
Linguasphere53-AAA-eb < 53-AAA-e
(วิธภาษา:
53-AAA-eba ถึง 53-AAA-ebg)
โลกที่พูดภาษาเบลารุส
คำอธิบาย: สีน้ำเงินเข้ม - ดินแดนที่พูดภาษาเบลารุสเป็นภาษาหลัก; สีน้ำเงินอ่อน - ขอบเขตในอดีต[4]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ก่อนที่เบลารุสจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 ภาษานี้เคยเป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า ภาษาเบียโลรัสเซีย (Byelorussian) หรือ ภาษาเบโลรัสเซีย (Belorussian) รวมทั้งในชื่อ ภาษารูธีเนียขาว (White Ruthenian) และ ภาษารัสเซียขาว (White Russian) หลังได้รับเอกราชแล้วจึงมีชื่อเรียกเพิ่มเติมว่า ภาษาเบลารุส[5][6]

จากสำมะโนประชากรครั้งแรกของเบลารุสใน พ.ศ. 2542 ภาษาเบลารุสถือเป็น "ภาษาที่พูดกันในบ้าน" ของพลเมืองเบลารุสประมาณ 3,686,000 คน (ร้อยละ 36.7 ของประชากรทั้งหมด)[7][8] และประมาณ 6,984,000 คน (ร้อยละ 85.6) ของชาวเบลารุสระบุว่าภาษาเบลารุสเป็น "ภาษาแม่" ในขณะที่ข้อมูลอื่นอย่างเอ็ทนอล็อกระบุว่าภาษานี้มีผู้พูดเชิงส่งสารประมาณ 2.5 ล้านคน[6][9]

งานวิจัยของรัฐบาลเบลารุสใน พ.ศ. 2552 พบว่าร้อยละ 72 ของชาวเบลารุสพูดภาษารัสเซียที่บ้าน ในขณะที่ชาวเบลารุสที่ใช้ภาษาเบลารุสอย่างสม่ำเสมอมีเพียงร้อยละ 11.9 ชาวเบลารุสประมาณร้อยละ 29.4 สามารถเขียน พูด และอ่านภาษาเบลารุสได้ ในขณะที่ร้อยละ 52.5 สามารถอ่านและเขียนได้เท่านั้น[10]

ใน แผนที่โลกว่าด้วยภาษาใกล้สูญของยูเนสโก ภาษาเบลารุสถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาษาที่มีภาวะเสี่ยงใกล้สูญ (vulnerable)[11]

ชุดตัวอักษร

ชุดตัวอักษรเบลารุสเป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรซีริลลิกซึ่งในครั้งแรกใช้เป็นชุดตัวอักษรสำหรับภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า ชุดตัวอักษรเบลารุสสมัยใหม่ได้รับการกำหนดไว้ใน พ.ศ. 2461 และประกอบด้วยตัวอักษร 32 ตัว ก่อนหน้านั้นภาษาเบลารุสยังเขียนด้วยชุดตัวอักษรละตินเบลารุส (Łacinka / лацінка) ชุดตัวอักษรอาหรับเบลารุส (โดยชาวตาตาร์ลิปกา) และชุดตัวอักษรฮีบรู (โดยชาวยิวเบลารุส)[12] มีการใช้อักษรกลาโกลิติกประปรายจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือ 12

ระบบการเขียนข้อความภาษาเบลารุสเป็นอักษรละติน (โรมัน) มีหลายระบบ ชุดตัวอักษรละตินเบลารุสมีใช้กันน้อย

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Карский Е. Ф. (1897). "Что такое древнее западнорусское наречие?". "Труды Девятого археологического съезда в Вильне, 1893". / под ред. графини Уваровой и С. С. Слуцкого, т. II. М. pp. 62–70. In edition: Карский Е. Ф. (2006). Белорусы: 3 т. Т. 1. / Уступны артыкул М. Г. Булахава, прадмова да першага тома і каментарыі В. М. Курцовай, А. У. Унучака, І. У. Чаквіна. Мн.: БелЭн. pp. 495–504. ISBN 985-11-0360-8. (T.1), ISBN 985-11-0359-4
  • Калита И. В. (2010). Современная Беларусь: языки и национальная идентичность. Ústí nad Labem. pp. 112–190. ISBN 978-80-7414-324-3.
  • [Lyosik 1917] [Язэп Лёсік] (1994). "Граматыка і родная мова : [Вольная Беларусь №17, 30.08.1917]". Язэп Лёсік. Творы: Апавяданні. Казкі. Артыкулы. (Уклад., прадм. і камент. А. Жынкіна. (Спадчына). Мн.: Маст. літ. ISBN 5-340-01250-6.
  • [Stank 1939] Ян Станкевіч (2002). "Гісторыя беларускага языка [1939]". Ян Станкевіч. Збор твораў у двух тамах. Т. 1. Мн.: Энцыклапедыкс. ISBN 985-6599-46-6.
  • [Zhur 1978] А. И. Журавский (1978). "Деловая письменность в системе старобелорусского литературного языка". Восточнославянское и общее языкознание. М. pp. 185–191.
  • [Halyen 1988] Галенчанка Г. Я. (1988). "Кнігадрукаванне ў Польшчы". Францыск Скарына і яго час. Энцыклапед. даведнік. Мн.: БелЭн. ISBN 5-85700-003-3.
  • [AniZhur 1988] Анічэнка У. В., Жураўскі А. І. (1988). "Беларуская лексіка ў выданнях Ф. Скарыны". Францыск Скарына і яго час. Энцыклапед. даведнік. Мн.: БелЭн. ISBN 5-85700-003-3.
  • Жураўскі А. І. (1993). "Беларуская мова". Энцыклапедыя гісторыі Беларусі. У 6 т. Т. 1. Мн.: БелЭн.
  • Яскевіч А. А. (2001). Старабеларускія граматыкі: да праблемы агульнафілалагічнай цэласнасці (2-е выд. ed.). Мн.: Беларуская навука. ISBN 985-08-0451-3.
  • Браніслаў Тарашкевіч (1991). Выбранае: Крытыка, публіцыстыка, пераклады / Укладанне, уступ, камент. А. Ліса. (Спадчына). Мн.: Маст. літ. ISBN 5-340-00498-8.
  • Арсень Ліс (1966). Браніслаў Тарашкевіч. Мн.: Навука і Тэхніка.
  • Тарашкевіч, Б. (1991). Беларуская граматыка для школ. [факсімільн.] Выданьне пятае пераробленае і пашыранае. Мн.: «Народная асвета».
  • Ян Станкевіч (2002). "Правапіс і граматыка [1918]". Ян Станкевіч. Збор твораў у двух тамах. Т. 1. Мн.: Энцыклапедыкс. ISBN 985-6599-46-6.
  • Ян Станкевіч (2002). "Беларуская Акадэмічная Конфэрэнцыя 14.–21.XI.1926 і яе працы дзеля рэформы беларускае абэцэды й правапісу (агульны агляд) [1927]". Ян Станкевіч. Збор твораў у двух тамах. Т. 1. Мн.: Энцыклапедыкс. ISBN 985-6599-46-6.
  • Ігар Бараноўскі (2004). "Помнік сьвятару-беларусу (120-ыя ўгодкі з дня нараджэньня а. Баляслава Пачопкі)". Царква. Грэка-каталіцкая газета. Vol. 4 no. 43. Брэст: ПП В.Ю.А.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย