ภาษามลายูมาเลเซีย

ภาษาย่อยของภาษามลายู
(เปลี่ยนทางจาก ภาษามาเลเซีย)

ภาษามลายูมาเลเซีย (มลายู: Bahasa Melayu Malaysia), ภาษามลายูมาตรฐาน (มลายู: Bahasa Melayu Standard), ภาษามาเลเซีย (มลายู: Bahasa Malaysia) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ภาษามลายู เป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษามลายูที่ใช้ในประเทศมาเลเซียรวมทั้งในประเทศสิงคโปร์และประเทศบรูไน (ตรงข้ามกับวิธภาษามลายูมาตรฐานที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซียซึ่งเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย) ภาษามลายูมาเลเซียเป็นรูปแบบมาตรฐานของภาษามลายูถิ่นยะโฮร์-รีเยา ประชากรมาเลเซียจำนวนมากพูดภาษานี้ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ภาษามลายูถิ่นหรือภาษาพื้นเมืองอื่นก่อน[1] ภาษามลายูเป็นวิชาบังคับวิชาหนึ่งในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของมาเลเซีย[7]

ภาษามลายูมาเลเซีย
Bahasa Melayu Malaysia
بهاس ملايو مليسيا
ภาษามลายูมาตรฐาน
Bahasa Melayu Standard
بهاس ملايو ستندرد
ออกเสียง[baˈhasə məlaju məˈlejsiə]
ประเทศที่มีการพูดมาเลเซีย, สิงคโปร์
จำนวนผู้พูดพูดโดยประชากรส่วนใหญ่ในมาเลเซีย แต่ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ภาษามลายูถิ่นหรือภาษาพื้นเมืองอื่นก่อน[1]
ตระกูลภาษา
ออสโตรนีเซียน
รูปแบบก่อนหน้า
มลายูเก่า
  • มลายูมะละกา ("ยะโฮร์-รีเยา")[2][3]
    • ภาษามลายูมาเลเซีย
ระบบการเขียนอักษรละติน (รูมี)
อักษรอาหรับ (ยาวี)[4]
อักษรเบรลล์มาเลเซีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ มาเลเซีย
 บรูไน
 สิงคโปร์
ผู้วางระเบียบเดวันบาฮาซาดันปุซตากา (สถาบันภาษาและวรรณคดี)
เดวันบาฮาซาดันปุซตากาบรูไน (สถาบันภาษาและวรรณคดีบรูไน)[5]
มัจลิซบาฮาซาเมอลายูซีงาปูรา (สถาบันภาษามลายูสิงคโปร์)[6]
รหัสภาษา
ISO 639-3zsm
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ระบบการเขียน

การเปรียบเทียบภาษามลายูในอักษรรูมีและยาวีกับภาษาอื่น ๆ
ป้ายจราจรในภาษามลายูมาเลเซีย: ป้ายเตือน "ทางผ่านเสมอระดับ" และป้ายบังคับ "หยุด"

กฎหมายกำหนดให้อักษรของภาษามลายูมาเลเซียเป็นอักษรละติน หรือรู้จักกันในภาษามลายูว่า รูมี (อักษรโรมัน) โดยจะต้องไม่กำหนดให้ใช้อักษรอาหรับที่มีชื่อว่า ยาวี (หรืออักษรมลายู) เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว อักษรรูมีมีสถานะใช้งานอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามรักษาและฟื้นฟูการใช้งานอักษรยาวีในประเทศมาเลเซียอักษรยาวี[8][9][10] อย่างไรก็ตาม อักษรละตินเป็นอักษรที่ใช้งานกันมากที่สุด ทั้งในเชิงทางการและไม่ทางการ

คำยืม

ภาษามลายูมาเลเซียมีคำยืมส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต, ทมิฬ, ฮินดูสตานี, เปอร์เซีย, โปรตุเกส, ดัตช์, กลุ่มภาษาจีน, อาหรับ และอังกฤษ ภาษามลายูมาเลเซียสมัยใหม่ยังได้รับอิทธิพลทางคำศัพท์จากภาษาอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่มาจากละคร ละครโทรทัศน์ และดนตรีอินโดนีเซีย[11]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย