ฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน

ฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน (เปอร์เซีย: تیم ملی فوتبال مردان ایران, อักษรโรมัน: Tīm-e Melli-e Fūtbāl-e Mardān-e Īrān) ทางฟีฟ่ายอมรับในฐานะ ไออาร์อิหร่าน (IR Iran)[7] เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติอิหร่านที่ลงแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1941 บริหารโดยสหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน (FFIRI) และอยู่ภายใต้การบริหารของฟีฟ่าที่ทำหน้าที่ดูแลฟุตบอลทั่วโลก และเอเอฟซีที่ทำหน้าที่ดูแลฟุตบอลในทวีปเอเชีย สนามเหย้าของทีมชาติคือสนามกีฬาอะซาดีในเตหะราน

ไออาร์อิหร่าน
Shirt badge/Association crest
ฉายาTeam Melli (เปอร์เซีย: تیم ملی)
ขุนพบแห่งเตหะราน (ฉายาในภาษาไทย)
ชื่อเล่นอื่น ๆ
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลอิหร่าน
สมาพันธ์ย่อยCAFA (เอเชียกลาง)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนVítězslav Lavička
กัปตันเอฮ์ซอน ฮอจแซฟี
ติดทีมชาติสูงสุดแจวอด เนโคว์นอม (151)
ทำประตูสูงสุดแอลี ดอยี (109)
สนามเหย้าสนามกีฬาอะซาดี
รหัสฟีฟ่าIRN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 20 Steady (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด15 (สิงหาคม ค.ศ. 2005[2])
อันดับต่ำสุด122 (พฤษภาคม ค.ศ. 1996[3])
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 0–0 อัฟกานิสถาน ธงชาติอัฟกานิสถาน
(คาบูล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน; 25 สิงหาคม ค.ศ. 1941)
ชนะสูงสุด
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 19–0 กวม ธงชาติกวม
(แทบรีซ ประเทศอิหร่าน; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000)[4]
แพ้สูงสุด
ธงชาติตุรกี ตุรกี 6–1 อิหร่าน ธงชาติอิหร่าน
(อิสตันบูล ประเทศตุรกี; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1950)[5]
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 5–0 อิหร่าน ธงชาติอิหร่าน
(โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1958)[6]
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1978)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006, 2014, 2018, 2022)
โอลิมปิก
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 1964)
ผลงานดีที่สุดรอบรองชนะเลิศ (1976)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม15 (ครั้งแรกใน 1968)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1968, 1972, 1976)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2000, 2004, 2007, 2008)

อิหร่านเคยชนะเลิศเอเชียนคัพสามสมัยในปี 1968, 1972 และ 1976 ในขณะที่ผลงานที่ดีที่สุดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกคือการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่มอนทรีออล สำหรับในการแข่งขันฟุตบอลโลก อิหร่านเคยเข้าร่วมการแข่งขันรอบสุดท้ายทั้งหมด 6 ครั้ง (1978, 1998, 2006, 2014, 2018 และ 2022) แต่พวกเขากลับไม่เคยผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว พวกเขาชนะคู่แข่งขันในฟุตบอลโลกเพียงสามครั้งในการพบกับสหรัฐเมื่อปี 1998, โมร็อกโกเมื่อปี 2018 และเวลส์เมื่อปี 2022 อิหร่านเคยเป็นทีมชาติที่มีอันดับสูงสุดในเอเชียระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018[8]

ผลงาน

สถิติในฟุตบอลโลกสถิติในรอบคัดเลือก
ปีรอบอันดับแข่งชนะเสมอแพ้ได้เสียผู้เล่นผู้จัดการแข่งชนะเสมอแพ้ได้เสีย
1930ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่าไม่มีการคัดเลือก
1934ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า
1938
1950ไม่ได้เข้าร่วมไม่ได้เข้าร่วม
1954
1958
1962
1966
1970
1974ไม่ผ่านรอบคัดเลือก851296
1978รอบแรกอันดับที่ 14301228ผู้เล่นMohajerani121020203
1982ถอนตัวถอนตัว
1986ไม่ได้คัดเลือกไม่ได้คัดเลือก
1990ไม่ผ่านรอบคัดเลือก6501125
1994115332313
1998รอบแบ่งกลุ่มอันดับที่ 20310224ผู้เล่นTalebi178635717
2002ไม่ผ่านรอบคัดเลือก14932369
2006รอบแบ่งกลุ่มอันดับที่ 25301226ผู้เล่นIvanković12912297
2010ไม่ผ่านรอบคัดเลือก14581159
2014รอบแบ่งกลุ่มอันดับที่ 28301214ผู้เล่นไกรอช161042307
2018อันดับที่ 18311122ผู้เล่น181260365
2022อันดับที่ 26310247ผู้เล่น181413498
2026รอแข่งขันรอแข่งขัน
รวมทั้งหมดรอบแรก/รอบแบ่งกลุ่ม6/22183411133114692351931689
  • 1956 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1960 - รอบแรก
  • 1964 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1968 - ชนะเลิศ
  • 1972 - ชนะเลิศ
  • 1976 - ชนะเลิศ
  • 1980 - อันดับสาม
  • 1984 - อันดับสี่
  • 1988 - อันดับสาม
  • 1992 - รอบแรก
  • 1996 - อันดับสาม
  • 2000 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2004 - อันดับสาม
  • 2007 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2011 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2015 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2019 - รอบรองชนะเลิศ
  • 2023 - รอบรองชนะเลิศ

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย