ฟาโรห์เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต

เซเคมอิบ-เพอร์เอนมา'อัต (หรือ เซเคมอิบ) เป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ตอนต้นที่ทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สอง พระองค์อาจจะเป็นผู้ปกครองก่อนหน้า ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อ หรือผู้สำเร็จราชการร่วมของฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน พระองค์ทรงปรากฏอยู่ในบันทึกทางโบราณคดีร่วมสมัยอย่างดี แต่พระองค์กลับไม่ปรากฏในเอกสารในช่วงหลังจากนั้นเลย ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในรัชสมัยของพระองค์และยังไม่พบสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์เช่นกัน[1]

ที่มาของพระนาม

พระนามของฟาโรห์เซเคมอิบเป็นที่ทราบจากรอยประทับตราและจากจารึกบนภาชนะที่ทำจากหินอลาบาสเตอร์และหินเบรกเซีย โดยพบที่ทางเข้าสุสานของฟาโรห์เพอร์อิบเซนที่อไบดอส ในห้องชุดใต้ดินใต้พีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์ดโจเซอร์ (ราชวงศ์ที่สาม) ที่ซักกอเราะฮ์ และที่พื้นที่ขุดค้นแห่งหนึ่งที่เอลิแฟนไทน์[1][2][3][4]

พระนามเซเรคของฟาโรห์เซเคมอิบนั้นมีความไม่ปกติทั่วไป เพราะเป็นพระนามแรกในประวัติศาสตร์อียิปต์ที่ขยายด้วยพระนามฉายา นอกจากพระนามจริง เซเคม-อิบ แล้ว ยังมีรอยประทับตราหลายดวงและจารึกภาชนะหิน ซึ่งแสดงพระนามฉายาว่า เพอร์เอนมา'อัต ภายในเซเรค ฟาโรหเซเคมอิบทรงใช้พระนามทั้งสองรูปแบบ พระนามฮอรัสเดี่ยวและพระนามคู่ในเวลาเดียวกัน นักอียิปต์วิทยา เช่น เฮอร์แมน เท เวลเดอ และ ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค คิดว่าพระนามคู่ของฟาโรห์เซเคมอิบได้ถูกนำมาใช้เมื่ออาราจักรอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักรอิสระ และดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงพยายามเน้นย้ำถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่สงบสุขที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในขณะนั้น รูปแบบที่เพิ่มขึ้นของพระนามคู่ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นและใช้โดยผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์คาเซคเอมวี ซึ่งฟาโรห์พระองค์นี้ยังใช้พระนามซ้ำและยังทรงตั้งเทพฮอรัสและเทพเซธไว้ด้วยกัน โดยเป็นเทพอุปถัมภ์บนเซเรคของพระองค์ ฟาโรห์คาเซคเอมวีทรงพยายามแสดงถือความสันติภาพและการสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์บนและอียิปต์ล่างด้วยเซเรคที่ไม่ธรรมดาของพระองค์เช่นกัน[5][6]

รัชสมัย

ดูเหมือนจะปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่ว่า ฟาโรห์เซเคมอิบจะทรงปกครองเฉพาะในอียิปต์บนเท่านั้น อาณาจักรของพระองค์จะขยายลงมาจากออมบอสไปจนถึงเกาะเอลิแฟนไทน์ ซึ่งเป็นศูนย์การปกครองใหม่ที่เรียกว่า "บ้านขาวแห่งคลังสมบัติ" ซึ่งสถานปนาขึ้นในรัชสมัยของพระองค์[7] และยังคงเป็นประเด็นถกเถียงของนักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์ว่าเหตุใดจึงมีการตัดสินใจแยกอาณ่าจักรเมื่อใดและเหตุใด

สถานที่ฝังพระบรมศพ

ไม่ทราบตำแหน่งของหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เซเคมอิบ แต่ถ้าหากพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน พระองค์จะถูกฝังในสุสาน พี ที่อไบดอส หรือมิฉะนั้น สถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์อาจจะอยู่ที่ซักกอเราะฮ์[2][8][9]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย