ฟาฏิมะ อัลบุเดรี

ฟาฏิมะ มุซา อัลบุเดรี (อาหรับ: فاطمة موسى البديري; อักษรโรมัน: Fatima Musa Al-Budairi; ค.ศ. 1923 – มิถุนายน ค.ศ. 2009) เป็นผู้จัดรายการวิทยุและภัณฑารักษ์ชาวปาเลสไตน์ เธอเริ่มต้นอาชีพนักวิทยุที่สถานีวิทยุเยรูซาเลมคอลลิง ซึ่งออกอากาศและผลิตรายการ รวมถึงทำงานในฐานะผู้ช่วยรายการสตรี และการวิเคราะห์ความเกี่ยวพันทางวรรณกรรม ตลอดจนนักจัดรายการวิทยุ นอกจากนี้ อัลบุเดรียังทำงานในประเทศซีเรีย, จอร์แดน และปาเลสไตน์ เธอยังทำงานให้แก่สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ และที่หอสมุดมหาวิทยาลัยจอร์แดน ซึ่งอัลบุเดรีได้รับการยอมรับจากศูนย์นักข่าวสตรีอาหรับ

ฟาฏิมะ อัลบุเดรี
เกิดฟาฏิมะ มุซา อัลบุเดรี
แม่แบบ:Birth year
เยรูซาเลม ปาเลสไตน์ในอาณัติ
เสียชีวิตแม่แบบ:Death year
อัมมาน ประเทศจอร์แดน
สัญชาติชาวปาเลสไตน์
อาชีพนักจัดรายการวิทยุ
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1946–1983
นายจ้างเยรูซาเลมคอลลิง (ค.ศ. 1946–1948)
คู่สมรสอิศอม ฮัมมัด (สมรส 1948; 2006)
บุตร2 คน

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

เธอเกิดที่เยรูซาเลมใน ค.ศ. 1923[1] เชื้อสายของอัลบุเดรีสืบย้อนไปถึงตระกูลโบราณที่มีรากฐานมาจากเยรูซาเลม[2] เธอเป็นลูกสาวของผู้พิพากษาชะรีอะฮ์ เชค มูซา อัลบุเดรี ซึ่งทำงานในเยรูซาเลม และถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนที่มัสยิดอัลอักศอ[3] ทั้งนี้ อัลบุเดรีได้รับการศึกษาที่วิทยาลัยครู เยรูซาเลม ซึ่งเธอสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1941[1][2] เธอได้รับการศึกษาครั้งแรกในเบธเลเฮม จากนั้น ได้ไปสอนที่บ้านครูชนบทในรอมัลลอฮ์[2]

อาชีพ

ในช่วงต้น ค.ศ. 1946 อัลบุเดรีได้ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเยรูซาเลมคอลลิงในฐานะผู้ประกาศและโปรดิวเซอร์[1][2] โดยพ่อของเธอไม่ได้คัดค้านการเลือกอาชีพของเธอ[3] อัลบุเดรีทำงานเป็นผู้ช่วยรายการสตรี และการวิเคราะห์ความเกี่ยวพันทางวรรณกรรม ตลอดจนการออกอากาศข่าว กระทั่งเธอออกจากการเป็นผู้ประกาศข่าวใน ค.ศ. 1947[4] ครั้นใน ค.ศ. 1949 อัลบุเดรีย้ายไปที่ดามัสกัสในลิแวนต์ และร่วมก่อตั้งเรดิโออัสซามกับสามีของเธอ[2][4] แล้วเธอย้ายไปอยู่ที่รอมัลลอฮ์ใน ค.ศ. 1952 และได้รับการขอให้ออกอากาศข่าวทุกวันทางสถานีวิทยุในขณะที่ทำงานด้านการศึกษา[4] ต่อมา อัลบุเดรีได้ย้ายไปอยู่ที่เบอร์ลินตะวันออกใน ค.ศ. 1957 โดยออกอากาศข่าวทางวิทยุเบอร์ลินอาหรับและวิทยุเยอรมันตะวันออกเป็นเวลาเจ็ดปี[2][4]

เธอกลับมาที่รอมัลลอฮ์ใน ค.ศ. 1965 จากนั้น จึงย้ายไปอยู่ที่อัมมานในอีกสองปีต่อมา[2] อัลบุเดรีทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ของห้องสมุดที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ระหว่าง ค.ศ. 1965 ถึง 1971 รวมทั้งต่อมาในแผนกการจำแนกหมวดหมู่ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยจอร์แดนระหว่าง ค.ศ. 1978 ถึง 1983[1] เธอเข้าร่วมในการประชุมอาหรับและนานาชาติหลายครั้งด้วยประสบการณ์ทางวิชาชีพภายใต้การศึกษาที่หลากหลาย และเคยได้วิจัยเพื่อจุดประสงค์ของบทบาทสตรีอาหรับในสื่อ[2]

ชีวิตส่วนตัว

อัลบุเดรีแต่งงานกับอิศอม ฮัมมัด ซึ่งเป็นกวี, นักจัดรายการวิทยุ และนักเขียนชาวปาเลสไตน์ระหว่าง ค.ศ. 1948 ถึง 2006[2] พวกเขามีลูกด้วยกันสองคนของชีวิตการแต่งงาน[5] ครั้นต้นเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 เธอได้เสียชีวิตที่อัมมาน[4] ซึ่งแม้ว่าอัลบุเดรีจะฝันถึงพิธีฝังศพในเยรูซาเลม แต่เธอกลับได้รับการฝังในอัมมานแทน[3]

สิ่งสืบทอด

การประกาศข่าวมรณกรรมของหนังสือพิมพ์อัรรายระบุว่าเธอเป็น "สตรีชาวเยรูซาเลมที่น่ามหัศจรรย์"[5] ส่วนไอดา อันนัจญาร์ ซึ่งเป็นนักเขียน กล่าวว่าอัลบุเดรีทำตัวเป็น “ผู้ประกาศข่าวการเมืองเพื่อเป็นผู้นำในหมู่สตรี รวมทั้งในงานนี้และเพื่อร่วมงานกับผู้ชาย”[2] ขณะที่หนังสือพิมพ์อัดดัสตัวร์ตั้งข้อสังเกตว่าเธอเป็น "ผู้บุกเบิกสถานีวิทยุอาหรับ และเป็นกระแสเสียงผู้หญิงเพียงคนเดียวที่แข่งกับเสียงของผู้ชายทางวิทยุ"[3] ตลอดจนอัลบุเดรีได้รับการยอมรับจากศูนย์นักข่าวสตรีอาหรับ[3]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย