พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์

พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พ.ศ. 2560 ชาวอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส[1] เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 เสียชีวิตวันที่ 19  กรกฏาคม พ.ศ. 2563 ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด[2]

ประวัติวัยเรียน

พิมพ์ปฏิภาณ เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษา ในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส แต่ด้วยอยู่ในครอบครัวข้าราชการ จึงต้องย้ายที่อยู่ ย้ายโรงเรียนหลายครั้ง กระทั่งย้ายมาเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนนราธิวาส จึงได้ฝึกเล่นดนตรีกับวงโยธวาทิต โดยเริ่มจากบาริโทน หลังจากนั้นก็ย้ายไปเป่าปิคโคโล

จากโรงเรียนนราธิวาส พิมพ์ปฏิภาณ ย้ายไปที่โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง กรุงเทพฯ ซึ่งเขาก็ยังคงเล่นดนตรีอยู่เช่นเคย หลังจากนั้นมีโอกาสไปเรียนต่อที่โรงเรียนพณิชยการพระนคร ช่วงนี้เริ่มเล่นเป็นวงดนตรีคอมโบ จากนั้นย้ายเป็นนักเรียนของโรงเรียนพณิชยการธนบุรี ซึ่งก็ยังคงเล่นดนตรี

ในระดับมหาวิทยาลัย พิมพ์ปฏิภาณเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาได้เป็นนักดนตรีของวงธรรมศาสตร์ โดยรับหน้าที่เป่าแซกโซโฟน ตำแหน่งเฟิร์สแซก[3]

ประวัติวัยทำงาน

หลังเรียนจบ พิมพ์ปฏิภาณใช้ความสามารถทางดนตรี สอบเข้าทำงานเป็นนักดนตรีของธนาคารออมสิน โดยเขาถนัดแซกโซโฟน แต่นักดนตรีในตำแหน่งนี้ มีอยู่แล้ว จึงต้องไปฝึกเป่าทรอมโบน แทน เนื่องจากนักดนตรีตำแหน่งนี้ขาดอยู่ตำแหน่งเดียว

เมื่อทำงานไปเรื่อย ๆ พิมพ์ปฏิภาณก็ได้เปลี่ยนจากตำแหน่งทรอมโบน เป็นบาริโทนแซกโซโฟน แล้วมาเล่นเทเนอร์แซกโซโฟน กระทั่งได้เป็นเฟิร์สแซกโซโฟนของธนาคารออมสิน

ระหว่างทำงานที่ธนาคารออมสิน พิมพ์ปฏิภาณ มักติดตาม ครูสมาน กาญจนะผลิน ไปบันทึกเสียงให้นักร้องอาชีพอยู่เสมอ จึงมีโอกาสเก็บประสบการณ์เกี่ยวกับเพลงที่หลากหลาย นอกจากนี้เขายังเป็นหัวหน้าวง Big Band อีกด้วย

หลังจากทำงานกับธนาคารออมสิน 7 ปี พิมพ์ปฏิภาณ ก็ลาออก มาทำงานเพลงเต็มตัว ได้แก่ เล่นดนตรีที่ไนท์คลับ และอัดเสียงให้นักร้อง เป็นต้น กระทั่งเขาเข้าไปเรียนดนตรีที่สยามดนตรียามาฮ่า ได้ทำเพลงให้กับ ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ในชุดแม่สาย ชื่อเสียงของเขาจึงเป็นที่รู้จักวงกว้าง และได้มีกิจการสตูดิโออัดเสียง อีกด้วย

เมื่ออายุ 40 ปี พิมพ์ปฏิภาณ ก็เข้ารับราชการที่กรมศิลปากร โดยตลอดอายุของพิมพ์ปฏิภาณ คลุกคลีกับดนตรีเสมอ ทั้งลูกทุ่ง ลูกกรุง และสากล[3]

รางวัลจากผลงานเรียบเรียงเสียงประสาน

  • เพลง “ไทยธำรงไทย” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2514
  • เพลง “นํ้าตาหรือจะแก้ปัญหาใจ” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2518
  • เพลง “ตะแลงแกงแทงใจ” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2520
  • เพลง “พะวงรัก” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2521
  • เพลง “สุดเหงา” ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2525

ผลงานประพันธ์

  • เพลงแม่สาย
  • เพลงพะวงรัก
  • เพลงเทพธิดาดอย
  • เพลงโชคดีที่มีในหลวง
  • เพลงสมเด็จย่าของชาวไทย
  • เพลงพุทธานุภาพ
  • เพลงมหาราชินี[4]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย