พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ตั้งอยู่บริเวณวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ทางทิศตะวันออก ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพระครูโสภณเจตสิการาม(เอี่ยม) เป็นผู้เริ่มก่อตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2478 ต่อมา พ.ศ. 2493 พระครูอินทปัญญาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เป็นผู้เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ถาวรแห่งแรกให้แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมากรมศิลปากรได้งบประมาณสร้างอาคารหลังที่ 2 ใน พ.ศ. 2499 ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2524 ได้ปรับปรุงขยายต่อเติมอาคารหลังแรก จัดทำครุภัณฑ์ปรับปรุงการจัดแสดงใหม่ให้ได้มาตรฐานสากล และทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เป็นทางการครั้งแรกเมื่อ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยาตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา
ที่ตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ก่อตั้ง2478 (2478)
ที่ตั้งตำบลเวียง, อำเภอไชยา, จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พิกัดภูมิศาสตร์9°23′04″N 99°11′07″E / 9.384496701255467°N 99.18518026645326°E / 9.384496701255467; 99.18518026645326
ประเภทพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เจ้าของ กรมศิลปากร
เว็บไซต์www.finearts.go.th/chaiyamuseum

การจัดแสดง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ประกอบด้วย

อาคารจัดแสดงหลังที่ 1

แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน คือ

อาคารจัดแสดงหลังที่ 2

แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ส่วน คือ

  • "ส่วนที่ 1" เป็นการจัดตามหลักวิชาการ คือ จัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัตถุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยทวารวดีถึงรัตนโกสินทร์
  • "ส่วนที่ 2" จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุในศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งเครื่องถ้วย เครื่องประดับ เครื่องใช้สอยที่พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีวัดแก้ว วัดหลง และวัดแหลมโพธิ์ อำเภอไชยา
  • "ส่วนที่ 3" จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทพระพุทธรูปและสิ่งของทำด้วยเงินและทองคำที่ประชาชนนำมาถวายแด่องค์พระบรมธาตุและหนังใหญ่
  • "ส่วนที่ 4" จัดแสดงศิลปวัตถุ งานประณีตศิลป์พิ้นบ้าน
  • "ส่วนที่ 5" จัดแสดงเครื่องอัฐบริขารของพระชยาภิวัฒน์ สุภัทรสังฆปาโมกข์ ผู้บูรณะวัดพระบรมธาตุไชยา และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน) ชาวพุมเรียงเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย