พิต-ไฟเตอร์

พิต-ไฟเตอร์ (อังกฤษ: Pit-Fighter) เป็นเกมต่อสู้อาร์เคด ค.ศ. 1990 โดยบริษัทอาตาริเกมส์ซึ่งใช้นักแสดงสดแบบดิจิทัล[3] และเป็นเกมต่อสู้เกมแรกของบริษัทอาตาริ[2] ทั้งนี้ เกมอาร์เคดของญี่ปุ่นได้รับการเผยแพร่โดยบริษัทโคนามิ ส่วนเวอร์ชันบ้านเผยแพร่โดยบริษัทเท็งเง็ง

พิต-ไฟเตอร์
ผู้พัฒนาอาตาริเกมส์
ผู้จัดจำหน่ายอาร์เคด
บ้าน
ออกแบบแกรี สตาร์ก
มาร์ก เพียร์ซ
โปรแกรมเมอร์แกรี สตาร์ก
พอล กวิน
ศิลปินร็อบ โลว์
แต่งเพลงจอห์น พอล
เครื่องเล่นอาร์เคด, อามิกา, แอมสตรัด ซีพีซี, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64, เอ็มเอส-ดอส, เกมบอย, ลิงซ์, มาสเตอร์ซิสเตม, เจเนซิส, ซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, แซดเอกซ์ สเปกตรัม
วางจำหน่าย
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นสูงสุด 3 คนพร้อมกัน
ระบบอาร์เคดอาตาริ จี1 ฮาร์ดแวร์

แอนิเมชันกราฟิกสำหรับตัวละครของผู้เล่นและคู่ต่อสู้ได้รับการสร้างขึ้นผ่านกระบวนการบลูสกรีน โดยนักแสดงตัวจริงจะทำการโพสท่าและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่หน้ากล้องวิดีโอ ส่วนแอนิเมชันตัวละครบนหน้าจอของเกมเป็นการเล่นซ้ำของฟุตเทจจริง ไม่ใช่แอนิเมชันแบบโรโตสโคป (วาดใหม่) ทั้งนี้ พิต-ไฟเตอร์ เป็นเกมต่อสู้เกมที่สองที่ใช้สไปรต์การดิจิไทซ์ ต่อจากเรไกโดชิ: ไชนีสเอกซอซิสต์ ของบริษัทโฮมเดทา

รูปแบบการเล่น

รูปแบบการเล่นคล้ายกับไวโอเลนซ์ไฟต์ของบริษัทไทโต และสตรีตสมาร์ตของบริษัทเอสเอ็นเค ผู้เล่นจะต้องต่อยและเตะคู่ต่อสู้จนกว่าพลังงานจะหมด หากผู้เล่นกดปุ่มทั้งสามปุ่มพร้อมกัน ตัวละครจะใช้ "ท่าพิเศษ" ทั้งนี้ ผู้เล่นเริ่มต้นด้วยการเลือกหนึ่งในสามตัวละครที่สามารถเล่นได้ ซึ่งแต่ละคนมีการเคลื่อนไหว, ความเร็ว และพลังที่แตกต่างกัน โดยสามารถเล่นได้สูงสุดสามคนในแต่ละครั้ง แต่จะมีคู่ต่อสู้พิเศษให้ต่อสู้ในระหว่างการแข่ง 15 แมตช์ที่แตกต่างกันของเกม

ทุก ๆ ไฟต์ที่สามจะเป็นยกโบนัสที่เรียกว่ากรัดจ์แมตช์[4] ซึ่งในกรัดจ์แมตช์ ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับร่างโคลนที่ควบคุมโดยซีพียูของนักสู้หากเล่นคนเดียว หรือปะทะกับผู้เล่นคนอื่นในเกมหลายผู้เล่น การถูกน็อกลงสามครั้งจะทำให้ผู้เล่นออกจากกรัดจ์แมตช์ และผู้ชนะคือคนสุดท้ายที่ยืนอยู่ ส่วนการแพ้กรัดจ์แมตช์ไม่ได้ขับไล่ผู้เล่น แต่ผู้ชนะจะได้รับเงินโบนัส

สำหรับ "แชมเปียนชิปแมตช์" เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้เล่นกับบุคคลลึกลับที่เยาะเย้ยระหว่างการแข่งเป็นระยะ ซึ่งคือแมสด์วอร์ริเออร์ โดยหากมีผู้เล่นมากกว่าหนึ่งคนก่อนการแข่งครั้งนี้ พวกเขาจะต้องต่อสู้กันจนตาย จนกว่าจะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวและสามารถต่อสู้กับเขาได้

นอกจากนี้ ฝูงชนสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการโจมตี, ทิ้งอาวุธที่ใช้งานได้ หรือผลักผู้เล่นที่หลงทางกลับเข้าสู่การต่อสู้ ส่วนเพาเวอร์อัป "ยาเม็ดเพิ่มพลัง" ทำให้ผู้เล่นแข็งแกร่งขึ้นชั่วคราว และรับความเสียหายจากการโจมตีน้อยลง

ตัวละคร

พิต-ไฟเตอร์ มี 3 นักสู้ที่สามารถเล่นได้ ได้แก่:

  • บัซ (บิล เชส)[5]: อดีตนักมวยปล้ำอาชีพผู้ยิ่งใหญ่และแข็งแกร่ง
  • ไท (มาร์ก วิลเลียมส์)[6]: แชมป์คิกบอกซิงผู้ปราดเปรียว
  • คาโต (เกลนน์ ฟรัตตีเชลลี)[7]: นักสู้สายดำชั้น 3 ที่รวดเร็ว

พิต-ไฟเตอร์ มีฝ่ายตรงข้ามที่ไม่สามารถเล่นได้ 8 คน ซึ่งตัวละครหลายตัวมีชื่อนักแสดงที่รับบท:[3]

  • เอกซ์คิวชันเนอร์ (จอห์น อาไกวร์)[8]
  • เซาธ์ไซด์ จิม (เจมส์ ธอมป์สัน)[9]
  • เอนเจิล (แองเจลา สเตลลาโต)[10]
  • ซี.ซี. ไรเดอร์ (ริช วาร์กัส)[11]
  • แมด ไมลส์ (ไมลส์ แม็คโกแวน)[12]
  • เฮฟวีเมทัล (คิม โรดส์)[13]
  • เชนแมน เอ็ดดี (เอ็ดดี เบนันซิโอ)[14]
  • แมสด์วอร์ริเออร์ (บิล แมคอะลีนัน)[15]

คนอื่น ๆ:

  • ไนฟ์วูแมน (ไดแอน แบร์ตุชชี)[16]
  • ไนฟ์แมน (มิลต์ โลเปอร์)[17]
  • ฟันาลีวูแมน (ทีนา ไซเรเตอร์)[18]
  • ฟันาลีวูแมน (มาเรีย เลนิตซกี)[19]
  • บิ๊กคิดอินเดอะคราวด์ (เกเบรียล โครา)[20]
  • คราวด์ (ร็อบ โรว์)[21]

การตลาด

ใน ค.ศ. 1991 มีเวอร์ชันของเกมวางจำหน่ายสำหรับซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, เมกาไดรฟ์/เจเนซิส, มาสเตอร์ซิสเตม, อามิกา, แอมสตรัด ซีพีซี, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64, เอ็มเอส-ดอส, และแซดเอกซ์ สเปกตรัม ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 เวอร์ชันสเปกตรัมได้รับการเผยแพร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของเกมรวมซูเปอร์ไฟเตอร์ ร่วมกับไฟนอลไฟต์ และดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ เรสเซิลเมเนีย[22] อนึ่ง เวอร์ชันซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมขาดผู้ชมแบบโต้ตอบ, อาวุธ และตัวละครสามตัว ได้แก่: เซาธ์ไซด์ จิม, เฮฟวีเมทัล และแมด ไมลส์

เวอร์ชันพกพาเปิดตัวสำหรับอาตาริลิงซ์และเกมบอยใน ค.ศ. 1992 ส่วนบริษัทไทเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้เปิดตัวเวอร์ชันพกพาเฉพาะของตัวเอง[23][24]

นอกจากนี้ เกมอาร์เคดเวอร์ชันโปรแกรมเลียนแบบอยู่ในมิดเวย์อาร์เคดเทรเซอส์ 2 สำหรับเกมคิวบ์, เพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์ รวมถึงและในมิดเวย์อาร์เคดเทรเซอส์ดีลักซ์อิดิชัน (ค.ศ. 2006) สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ซึ่งเวอร์ชันนี้เดินเครื่องด้วยความเร็วที่เร็วกว่าเกมอาร์เคดดั้งเดิม ตลอดจนพิต-ไฟเตอร์ ได้รวมอยู่ในมิดเวย์อาร์เคดออริจินส์เมื่อ ค.ศ. 2012[25]

การตอบรับ

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์90 เปอร์เซ็นต์ (อาร์เคด)[26]
นินเท็นโดเพาเวอร์กราฟิกและเสียง: 2.5; การควบคุม: 2; ความท้าทาย: 2; ธีมและความสนุก: 2.5 (ซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)
เมกาเทค80 เปอร์เซ็นต์ (เมกาไดรฟ์)[27]
ยัวร์ซินแคลร์28 เปอร์เซ็นต์ (แซดเอกซ์ สเปกตรัม)

บริษัทอาตาริได้ขายเฉพาะอาร์เคดกว่า 8,000 เครื่องทั่วโลก ซึ่งรวมถึง 5,500 เครื่องในทวีปอเมริกาเหนือและ 1,000 เครื่องในทวีปยุโรป[1] และ 1,500 เครื่องในประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทโคนามิ นอกจากนี้ มีรายงานว่ามีการสร้างและขายสำเนาละเมิดลิขสิทธิ์มากกว่า 10,000 ชุดในประเทศเกาหลีใต้ โดยมีการขายชุดเพิ่มเติมจำนวนมาก (เฉพาะพีซีบี)

ในทวีปอเมริกาเหนือ เกมนี้ได้เป็นตู้อาร์เคดตั้งตรงงที่ทำรายได้สูงสุดในชาร์ตรีเพลย์อาร์เคดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990[28] และรายได้จากการหยอดเหรียญรายสัปดาห์เฉลี่ยอยู่ที่ 413.75 ดอลลาร์ต่อหน่วยอาร์เคดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 1990[29] ส่วนในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1991 ระบุว่าพิต-ไฟเตอร์ เป็นหน่วยอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จสูงสุดอันดับเจ็ดของเดือน[30]

จูเลียน ริกนอล จากนิตยสารคอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์ให้คะแนนเวอร์ชันอาร์เคดนี้ที่ 90 เปอร์เซ็นต์ โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "เกมบีตเอ็มอัปที่สนุกสุดเหวี่ยงซึ่งอัดแน่นไปด้วยพลัง" และ "หนึ่งในเกมต่อสู้อาร์เคดที่สนุกที่สุดในระยะเวลาอันยาวนาน"[26] ส่วนนิตยสารแซป!64 ให้คำวิจารณ์เชิงลบแก่เกมนี้มากกว่า โดยกล่าวเกมนี้ว่าเป็นเกม "เกมบีตเอ็มอัปที่ต่อต้านช่วงสำคัญสุดยอด" และเขียนว่าโหมดแสดงตัวอย่างเป็นส่วนที่ดีที่สุดของเกม พวกเขาติเตียนเฟรมอนิเมชันที่จำกัดและเปรียบเทียบกับเดอะคอมบาไทรส์ และไฟนอลไฟต์อย่างไม่พึงใจ[31]

ส่วนเดวิด วิลสัน จากนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์พอใจเวอร์ชันอามิกา โดยระบุว่า "เป็นเกมอาร์เคดที่ได้เทเลพอร์ต" และสรุปว่าเกมนี้ "นำเสนอตัวเลือกสำหรับผู้เล่นสองคนที่ขาดหายไปในเกมต่อสู้หลาย ๆ เกม และมีความชุลมุนวุ่นวายเพียงพอสำหรับเกมเมอร์ที่มีความรุนแรงที่สุด"[32]

ด้านจอร์จและร็อบได้วิจารณ์เวอร์ชันซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมในนิตยสารนินเท็นโดเพาเวอร์[33] โดยจอร์จแสดงความคิดเห็นว่าเกมนี้ "ควบคุมยากมาก" และร็อบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกราฟิกที่ใช้คนแปลงเป็นดิจิทัล โดยระบุว่า "มันไม่สำคัญว่าจะใช้เทคโนโลยีใหม่หรือไม่ คำถามคือ "เกมนี้สนุกไหม" และฉันคิดว่าคำตอบในกรณีนี้คือ "ไม่""[33] ซึ่งร็อบและจอร์จให้คะแนนกราฟิกและเสียงที่ 2.5, การควบคุมที่ 2, ความท้าทายที่ 2 ตลอดจนธีมและความสนุกที่ 2.5

อนึ่ง นิตยสารเมกาเทคให้คะแนนเวอร์ชันเมกาไดรฟ์ที่ 80 เปอร์เซ็นต์[34] ขณะที่นิตยสารเมกาได้จัดอันดับเวอร์ชันเมกาไดรฟ์ไว้อันดับที่ 27 สำหรับเกมเมกาไดรฟ์ยอดนิยมตลอดกาล[35]

ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 นิตยสารยัวร์ซินแคลร์ได้ให้คะแนนเวอร์ชันแซดเอกซ์ สเปกตรัม ที่ 28 เปอร์เซ็นต์[22]

สิ่งสืบเนื่อง

นิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีและนิตยสารเกมโปรได้มีตัวอย่างภาคต่อที่วางแผนไว้ในชื่อพิตไฟเตอร์ II โดยบริษัทเท็งเง็ง ซึ่งเดิมทางนิตยสารอ้างว่าสร้างเสร็จแล้วกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ และจะวางจำหน่ายสำหรับเซกา เจเนซิส ในไตรมาสที่สี่ของ ค.ศ. 1993[36][37]

โดยตัวละครอย่างคาโต, บัซ และไท ได้กลับมาพร้อมกับนักสู้ใหม่ที่เลือกได้สามคน ได้แก่: คอนเนอร์ (แชมป์คาราเต้), ทานยา (ราชินีโรลเลอร์) และชีฟ (อดีตบอดีการ์ด) ซึ่งนักสู้ใหม่เหล่านั้นยังเป็นตัวละครสามตัวที่สามารถเล่นได้ในเกมที่ตามมาของบริษัทอาตาริอย่างการ์เดียนส์ออฟเดอะฮูด ตลอดจนมีภาพที่แสดงนักสู้ซีพียูสองตัว ได้แก่ เฮลกา (ด่าน 1) และเจย์-เจย์ (ด่าน 2)[36]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย