จักรพรรดิฮั่นหลิง

(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าเลนเต้)

สมเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (ค.ศ. 156/157[1] – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 189[2]) พระนามส่วนพระองค์ หลิว หง[3] เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิผู้มีอำนาจพระองค์ที่ 12 และพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส

หลิงตี้ (มาตรฐาน)
เลนเต้ (ฮกเกี้ยน)
漢靈帝
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น
ครองราชย์17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 168– 13 พฤษภาคม ค.ศ. 189
ก่อนหน้าฮั่นฮวนตี้
ถัดไปหฺวังจื่อเปี้ยน
เจี่ยตู๋ถิงโหว (解瀆亭侯)
ดำรงตำแหน่ง? – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 168
ก่อนหน้าหลิว ฉาง
ประสูติค.ศ. 156
สวรรคต13 พฤษภาคม ค.ศ. 189(189-05-13) (32–33 ปี)
พระมเหสีจักรพรรดินีซ่ง
โฮเฮา
จักรพรรดินี Linghuai
พระราชบุตรหองจูเปียน
พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าหญิง Wannian
พระนามเต็ม
  • ชื่อสกุล: หลิว (劉)
  • ชื่อตัว: หง (宏)
รัชศก
  • เจี้ยนหนิง (建寧) ค.ศ. 168–172
  • ซีผิง (熹平) ค.ศ. 172–178
  • กวงเหอ (光和) ค.ศ. 178–184
  • จงผิง (中平) ค.ศ. 184–189
พระมรณนาม
จักรพรรดิเซี่ยวหลิง (孝靈皇帝)
ราชวงศ์ฮั่น
พระราชบิดาหลิว ฉาง
พระราชมารดาต่งไท่โฮ่ว
จักรพรรดิฮั่นหลิง
อักษรจีนตัวเต็ม漢靈帝
อักษรจีนตัวย่อ汉灵帝
หลิว หง
อักษรจีนตัวเต็ม劉宏
อักษรจีนตัวย่อ刘宏

เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ

ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732

พระบรมวงศานุวงศ์

หมายเหตุ

อ้างอิง

ก่อนหน้าจักรพรรดิฮั่นหลิงถัดไป
จักรพรรดิฮั่นหฺวันตี้
จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 168–189)
หฺวังจื่อเปี้ยน
(หองจูเปียน)
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย