พระธยานิพุทธะ

พระธยานิพุทธะ หรือ พระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้ในคัมภีร์​มหาไวโรจนสูตรมีพระธารณีมนตร์ว่า​โอม​ อโฆมะ​ ไวโรจนะ​ มหามุทรา มณี​ ปัทมะ​ ชวล ประ​ วะ​ รัตน ยะ​ หูม​ อักษพีชะ​ อา[1]

พระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต


จำนวน

พระธยานิพุทธะโดยทั่วไปมี 5 พระองค์ ได้แก่

พระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์นี้ได้สร้างพระธยานิโพธิสัตว์ขึ้นด้วยอำนาจฌานของตนอีก 5 องค์ ได้แก่

พระอโมฆสิทธิพุทธะ

(เหนือ)

พระอมิตาภพุทธะ

(ตะวันตก)

พระไวโรจนพุทธะ

(ศูนย์กลาง)

พระอักโษภยพุทธะ

(ตะวันออก)

พระรัตนสัมภวพุทธะ

(ใต้)

ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่:

พุทธะภาษาสันสกฤตภาษาญี่ปุ่นภาษาจีน
พระไวโรจนพุทธะवैरोचन大日如来, Dainichi Nyorai毘盧如來, Pilu Rulai
พระอักโษภยพุทธะअक्षोभ्य阿閦如来, Ashuku Nyorai阿閦如來, Achu Rulai
พระอมิตาภพุทธะअमिताभ阿弥陀如来, Amida Nyorai彌陀如來, Mituo Rulai
พระรัตนสัมภวพุทธะरत्नसंभव宝生如来, Hōshō Nyorai寳生如來, Baosheng Rulai
พระอโมฆสิทธิพุทธะअमोघसिद्धि不空成就如来, Fukūjōju Nyorai成就如來, Chengjiu Rulai

ลักษณะของแต่ละพระองค์

โคตรพุทธะปัญญาญาณกิเลสขันธ์ปฏิกิริยาสัญลักษณ์ธาตุสีฤดูกาลทิศทางมุทรา
พุทธะพระไวโรจนพุทธะปัญญาอันสูงสุดความหลงวิญญาณขันธ์ (รูปขันธ์)หมุนธรรมจักร (การสอน)ธรรมจักรอากาศธาตุสีขาวไม่มีศูนย์กลางธรรมจักรมุทรา
รัตนะพระรัตนสัมภวพุทธะเท่าเทียมความเย่อหยิ่ง (มานะ)เวทนาขันธ์ความร่ำรวยรัตนมณีธาตุดินสืทอง สีเหลืองฤดูใบไม้ร่วงใต้วรท

มุทรา

ปัทมะพระอมิตาภพุทธะปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดีความปรารถนา (โลภะ)สัญญาขันธ์เสน่ห์ดึงดูด, การเอาชนะดอกบัวธาตุไฟสีแดงฤดูร้อนตะวันตกธยานมุทรา
กรรมะพระอโมฆสิทธิพุทธะแบบสำเร็จทุกอย่างความอิจฉาสังขารขันธ์ความสงบระงับวัชระแฝดธาตุลมสีเขียวฤดูหนาวเหนืออภยมุทรา
วัชระพระอักโษภยพุทธะแบบกระจกเงาความโกรธ (โทสะ)รูปขันธ์การปกป้องและการทำลายสายฟ้า, วัชระธาตุน้ำสีน้ำเงินฤดูใบไม้ผลิตะวันออกภูมิผัสมุทรา

การนับถือในประเทศต่าง ๆ

  • เนปาลและทิเบต นับถือพระธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์ข้างต้น โดยถือว่าพระธยานิพุทธะเป็นตัวแทนของอายตนะภายใน 5 และพระธยานิโพธิสัตว์เป็นตัวแทนของอายตนะภายนอก 5 ซึ่งประกอบเป็นร่างกายของสรรพสัตว์ มีการกำหนดตำแหน่งของพระธยานิพุทธะแต่ละองค์ในพุทธมณฑลซึ่งใช้ในการประกอบพิธ๊กรรมทางศาสนานิกายวัชรยาน รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งของการประดิษฐานพระพุทธะเหล่านี้ไว้ในเจดีย์ในประเทศเนปาล
  • จีนและญี่ปุ่น ชาวพุทธนิกายสุขาวดี นับถือพระอมิตาภพุทธะเพียงองค์เดียว ในญี่ปุ่นได้เพิ่มพระธยานิพุทธะอีกองค์คือ พระวัชรสัตว์ ถือว่าเป็นหัวหน้าของพุทธะทั้งหมด หรือเป็นอาทิพุทธะ การนับถือพระธยานิพุทธะในญี่ปุ่นพบในนิกายชินกอนเป็นส่วนใหญ่ นิกายอื่นพบน้อย

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กทม. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
  • ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย