พรรคเสรีนิยม (ประเทศไทย พ.ศ. 2525)

พรรคเสรีนิยม พรรคการเมืองของไทยในอดีตซึ่งได้จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2525 [1] เป็นลำดับที่ 12/2525 พร้อมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 7 พรรคอาทิ พรรคประชากรไทย พรรคประชาราษฎร์ พรรคพลังใหม่ พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคกิจสังคม พรรคแรงงานประชาธิปไตย และ พรรคสังคมประชาธิปไตย มีหม่อมราชวงศ์เศรณีพรหม กมลาสน์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและนายมารุต ชาญณรงค์ รองหัวหน้าพรรคเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

พรรคเสรีนิยม
หัวหน้าพันเอก ณรงค์ กิตติขจร
ก่อตั้ง16 กันยายน พ.ศ. 2525
ถูกยุบ17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 (10 ปี 62 วัน)
ที่ทำการ231สุขุมวิท 55 ถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529
1 / 347
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2531
3 / 357
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

คณะกรรมการบริหารพรรค

ในระยะแรกของการจัดตั้งพรรคเสรีนิยม มีหม่อมราชวงศ์เศรณีพรหม กมลาสน์ เป็นหัวหน้าพรรค และ มารุต ชาญณรงค์ เป็นรองหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2529 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ มี ปรีดา พัฒนถาบุตร เป็นหัวหน้าพรรค[2] สำหรับเลขาธิการพรรคยังคงเดิม พร้อมกับเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรค

หลัง การเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ทางพรรคเสรีนิยมได้ทำการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยได้ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของ จอมพลถนอม กิตติขจร และบุตรเขยของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ซึ่งเป็นอดีต ส.ส. อยุธยา จาก พรรคชาติไทย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และมี ชลินทร์ เผ่าวิบูลย์ เป็นเลขาธิการพรรค[3]

ในปี พ.ศ. 2531 ชลินทร์ เผ่าวิบูลย์ ลาออกจากสมาชิกพรรค[4] และในปีถัดมาได้แต่งตั้ง สุรศักดิ์ ฉวีวงศ์ เป็นเลขาธิการพรรค และยังปรากฏชื่อ สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ดารานักแสดงชื่อดัง แคล้ว ธนิกุล โปรโมเตอร์มวยชื่อดังและ เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง เป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย[5]

ในปี พ.ศ. 2535 พันเอก ณรงค์ กิตติขจร หัวหน้าพรรค และ สุรศักดิ์ ฉวีวงศ์ เลขาธิการพรรค ลาออกจากสมาชิกพรรค จึงได้แต่งตั้ง ร้อยเอก ตราชู บริสุทธิ์ รองหัวหน้าพรรค รักษาการหัวหน้าพรรค[6]

การเลือกตั้ง

ใน การเลือกตั้ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2526 พรรคเสรีนิยมได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกปรากฏว่าทางพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้ง 1 ที่นั่ง คือ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร จากนั้นใน การเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรคเสรีนิยมได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 3 คน

การยุบพรรค

พรรคเสรีนิยม ถูกยุบเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2536 ตามคำสั่ง ศาลฎีกา ที่ 3671/2535 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 [7] เนื่องจากไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย