ปลาฉลามวาฬ

ฉลามวาฬ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 60–0Ma
ฉลามวาฬจากไต้หวันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย
เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Chondrichthyes
ชั้นย่อย:Elasmobranchii
อันดับ:Orectolobiformes
วงศ์:Rhincodontidae
(Müller and Henle, 1839)
สกุล:Rhincodon
Smith, 1829
สปีชีส์:R.  typus
ชื่อทวินาม
Rhincodon typus
(Smith, 1828)
พิสัยของฉลามวาฬ
ชื่อพ้อง[2]
  • Rhiniodontidae Müller and Henle, 1839 (วงศ์)
  • Rhiniodon Smith, 1828 (สกุล)
  • Rhiniodon typus Smith, 1828

ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: whale shark) เป็นฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาที่ขนาดใหญ่ที่สุด โดยยาวได้ถึง 8-17.5 ม. และหนัก 21-35 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ายังมีฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นสัตว์ทะเลชนิดเดียวชนิดเดียวในสกุล Rhincodon ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์ถึงปัจจุบัน และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี[3] ฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้[4]

ศัพทมูลวิทยาและความผูกพันกับมนุษย์

ฉลามวาฬมีชื่อเสียงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1828 ตามตัวอย่างยาว 4.6 ม.ที่จับได้ด้วยฉมวกในอ่าวเทเบิล ประเทศแอฟริกาใต้ หมอทหารที่ชื่อ แอนดริว สมิท (Andrew Smith) ได้ร่วมกับค่ายทหารของอังกฤษในเคปทาวน์บรรยายและจำแนกฉลามวาฬในปีถัดมา[5] เขาตีพิมพ์ลักษณะรายละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ชื่อ "ฉลามวาฬ" มากจากลักษณะของสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่เหมือนวาฬและยังกินอาหารแบบกรอกกินเหมือนกันอีกด้วย

ในความเชื่อในศาสนาของชาวเวียดนาม นับถือปลาฉลามวาฬเป็นเทพเจ้า โดยเรียกว่า "Ca Ong" ซึ่งแปลว่า "ท่านปลา"

ในประเทศเม็กซิโกและละตินอเมริกาส่วนมาก ปลาฉลามวาฬถูกรู้จักกันในชื่อ "pez dama" หรือ "domino" มาจากจุดที่เด่นชัดบนตัวมัน ในประเทศเบลีซ รู้จักกันในนาม "Sapodilla Tom" เพราะมักจะพบปลาฉลามวาฬอย่างสม่ำเสมอ ใกล้กับ Sapodilla Cayes ในกำแพงโขดหินแห่งเบลีซ (Belize Barrier Reef)

ในทวีปแอฟริกา ชื่อของฉลามวาฬถูกเรียกกันหลากหลาย: ประเทศเคนยาเรียกว่า "papa shillingi" มาจากตำนานที่ว่าเทพเจ้าได้ขว้างเหรียญเงินลงไปบนตัวฉลามซึ่งได้กลายเป็นจุดของมันในปัจจุบัน ประเทศมาดากัสการ์เรียกว่า "marokintana" หมายถึง "ดาวหลายดวง"

ชาวชวาก็อ้างอิงถึงดวงดาวด้วยเช่นกัน จึงเรียกฉลามวาฬว่า "geger lintang" แปลว่า "มีดาวอยู่บนหลัง" ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า "butanding"

ฉลามวาฬ นับเป็นหนึ่งในชนิดของฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วของโลก เนื่องจากถูกจับทำเป็นหูฉลาม[6] และยังไม่เคยมีการพบลูกปลาฉลามวาฬขนาดเล็ก จนกระทั่งเมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 จึงมีการค้นพบลูกฉลามวาฬขนาดเล็กความยาว 15 นิ้ว ที่ดอนซอล ในฟิลิปปินส์ และถูกนำเรื่องราวและภาพถ่ายลงในอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาต่อไป[7]

ฉลามวาฬ จัดเป็นสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่นักดำน้ำต้องการจะพบเห็นตัวและถ่ายรูปมากที่สุด จัดเป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเล แต่ทว่าไม่ใช่เป็นสัตว์ทะเลที่จะพบเห็นได้ง่าย ๆ แม้กระทั่งนักดำน้ำในทริปเดียวกัน แต่ดำในคนละจุด จุดหนึ่งจะเห็น แต่อีกจุดก็จะไม่เห็น จนเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักดำน้ำว่า หากใครเคยพบเห็น ก็จะพบตลอด แต่ใครที่ไม่เคยพบ ก็จะไม่พบเลย[8]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

ฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามผิวทะเล นอกจากนี้ในฤดูที่มีปรากฏการณ์การรวมตัวกันของแหล่งอาหารใกล้แนวชายฝั่งสามารถพบฉลามวาฬได้เช่นกัน เช่น

ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะพบอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่ก็มีการพบฉลามวาฬใกล้แผ่นดินเช่นกัน อย่างในทะเลสาบหรือเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง และใกล้กับปากแม่น้ำ โดยมีพิสัยจำกัดอยู่ในเส้นรุ้งประมาณ ±30° ความลึกไม่เกิน 700 ม. และท่องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่ว[3]

ลักษณะ

ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น

ในการระบุตัวของฉลามวาฬนั้น พิจารณาจากด้านข้างลำตัว ตั้งแต่ช่องเหงือกช่องที่ 5 จนถึงสิ้นสุดครีบอก โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว[9]

อาหาร

กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยใช้วิธีกรองกิน แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งฉลามวาฬออกจากฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีปลาฉลามอีก 2 ชนิดที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละอันดับกับฉลามวาฬ

ฉลามวาฬปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะขึ้นมากินแพลงก์ตอนในเวลากลางคืนบริเวณผิวน้ำ โดยใช้การดูดน้ำเข้าปากแล้วผ่านช่องกรอง โดยจะทิ่งตัวเป็นแนวดิ่งกับพื้นน้ำ ที่ออสลอบ ในจังหวัดเซบู ของฟิลิปปินส์ ชาวพื้นเมืองที่นั่นซึ่งดั้งเดิมมีอาชีพประมงจับปลาทั่วไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการโปรยอาหารเลี้ยงฉลามวาฬ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นไฮไลต์ของการท่องเที่ยวดำน้ำของที่นี่ โดยอาหารที่ป้อนนั้น คือ เคย และจะมีช่วงเวลาที่ป้อนตั้งแต่ 05.00 หรือ 06.00 น.-13.00 น. ในแต่ละวัน จากนั้นฉลามวาฬก็จะว่ายออกไปทะเลลึกเพื่อหากินเอง ซึ่งเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะไม่ทำให้พฤติกรรมของฉลามวาฬเปลี่ยนไป[10]

การอนุรักษ์

สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2562

อ้างอิง

  • J. G. Colman (1997). A review of the biology and ecology of the whale shark. Journal of Fish Biology 51 (6), 1219–1234.
  • FAO web page on Whale shark

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rhincodon typus ที่วิกิสปีชีส์

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย