ปดิพัทธ์ สันติภาดา

รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย

นายสัตวแพทย์ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ท.ม. (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2524) ชื่อเล่น อ๋อง เป็นสัตวแพทย์และนักการเมืองชาวไทย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25[4]

ปดิพัทธ์ สันติภาดา
ปดิพัทธ์ร่วมงานวันรัฐธรรมนูญ
ที่สัปปายะสภาสถาน พ.ศ. 2566
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 4 วัน)[1]
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
ก่อนหน้าสุชาติ ตันเจริญ
ศุภชัย โพธิ์สุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพิษณุโลก เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 107 วัน)
ก่อนหน้าวรงค์ เดชกิจวิกรม
คะแนนเสียง40,842 (41.35%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 ตุลาคม พ.ศ. 2524 (42 ปี)
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก[2] ประเทศไทย
พรรคการเมืองเป็นธรรม (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2566)
คู่สมรสปิยนุช สันติภาดา
ศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทรัพย์สินสุทธิ9 ล้านบาท[3]
ชื่อเล่นอ๋อง

ปดิพัทธ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2562 ในสังกัดพรรคอนาคตใหม่ หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคเหนือ[5] ก่อนจะลาออกจากกรรมการบริหารพรรคเพื่อดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ภายหลัง สถานการณ์การเมืองนำพาให้พรรคก้าวไกลตกเป็นฝ่ายค้าน แต่เนื่องจากปดิพัทธ์ซึ่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้นยังเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล หัวหน้าพรรคก้าวไกลจึงไม่อาจดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านจากข้อห้ามในรัฐธรรมนูญ ในที่สุด พรรคก้าวไกลจึงมีมติขับปดิพัทธ์ออกจากพรรคเมื่อ 28 กันยายน ต่อมาปดิพัทธ์ประกาศสมัครเป็นสมาชิกพรรคเป็นธรรม โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และได้รับการรับรองสมาชิกภาพเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม

ประวัติ

ปดิพัทธ์ สันติภาดา เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2524 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ปริญญาตรีสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิตจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยศาสนศาสตร์ทรีนีตี้ ประเทศสิงคโปร์ น.สพ.ปดิพัทธ์ ทำงานเป็นนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการเป็นระยะเวลาทั้งสิ้นสองปี และทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนและแก้ไขปัญหาสังคมกับสมาคมนักศึกษาคริสเตียนไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2561[6] ด้านชีวิตครอบครัว ปดิพัทธ์ สมรสกับนาง ปิยนุช สันติภาดา

งานการเมือง

ผู้แทนราษฎรสมัยแรก

ปดิพัทธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ เขต 1 จังหวัดพิษณุโลก หมายเลข 2[7] เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 โดยได้รับคะแนนเสียง 35,579 คะแนน ชนะนายเศรษฐา กิตติจารุรักษ์ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนน 23,682 คะแนน และชนะนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. 3 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้คะแนน 18,613 คะแนน ใน พ.ศ. 2565 ปดิพัทธ์เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบของมาตรา 112 ที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อและประชาชน[8]

ผู้แทนราษฎรสมัยที่สอง และรองประธานสภาฯ

ปดิพัทธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองใน พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคก้าวไกล เขต 1 จังหวัดพิษณุโลก หมายเลข 9 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยได้รับคะแนนเสียง 40,842 คะแนน มากเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้ปดิพัทธ์ได้เป็น ส.ส. สมัยที่สอง

ในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ปดิพัทธ์ได้รับการเสนอชื่อจากประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง โดยมีวิทยา แก้วภราดัย จากพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นคู่ชิงตำแหน่ง ผลการลงมติปรากฎว่าปดิพัทธ์ชนะวิทยาด้วยคะแนนเสียง 312 ต่อ 105 (งดออกเสียง 77 บัตรเสีย 2)[9]

แต่ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น ทำให้พรรคก้าวไกลต้องเปลี่ยนสถานะเป็นฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรา 106 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติว่าผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในกลุ่มพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ปดิพัทธ์เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ซึ่งส่งผลให้หัวหน้าพรรคก้าวไกลไม่สามารถเป็นผู้นำฝ่ายค้าน[10] ตำแหน่งผู้นำฝ่ายจึงควรต้องตกเป็นของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ซึ่งมีผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับสองในฝ่ายค้าน) อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ในเวลานั้นก็ไม่มีหัวหน้าพรรค และไม่มีทีท่าจะได้หัวหน้าพรรคในเร็ววัน

ในที่สุด 28 กันยายน ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคก้าวไกลมีมติให้ปดิพัทธ์พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล หรือคือการขับออกจากพรรค[11] ปดิพัทธ์จึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในสภาผู้แทนราษฎรที่ย้ายพรรคระหว่างวาระสภาเป็นคนแรกของประเทศไทย หากไม่นับกรณีพรรคต้นสังกัดเดิมถูกยุบ โดยหลังจากพรรคมีมติแล้ว ปดิพัทธ์ได้แถลงว่า นับตั้งแต่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ตัดสินใจลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อเปิดทางให้ที่ประชุมใหญ่ของพรรคเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ "ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร" ตนเข้าใจดีว่าตามรัฐธรรมนูญ ตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานสภาฯ ต่อในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนและราษฎรจากพรรคก้าวไกล

แม้ทางเลือกหนึ่งคือการลาออกจากการเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกล แต่หลังจากพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบของการตัดสินใจของตนต่อการขับเคลื่อนวาระการเปลี่ยนแปลงที่ตนได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชน ในวันที่ตนเข้ามารับตำแหน่งรองประธานสภาฯ จึงได้ตัดสินใจแจ้งกับคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดใหม่ ว่าตนประสงค์จะทำหน้าที่ต่อในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำให้ตนไม่สามารถเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลอีกต่อไป

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ปดิพัทธ์ได้เปิดตัวเข้าร่วมงานกับพรรคเป็นธรรมอย่างเป็นทางการ[12] แต่ได้สมัครสมาชิกพรรคและได้รับการรับรองสมาชิกภาพจากกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม[13] หลายคนมองว่าการกระทำเช่นนี้ คือการที่พรรคก้าวไกลนำปดิพัทธ์ไปฝากเลี้ยงไว้ที่พรรคเป็นธรรม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ปดิพัทธ์ สันติภาดา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคก้าวไกลพรรคเป็นธรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย