บ็อบบี ร็อบสัน

เซอร์ โรเบิร์ต วิลเลียม ร็อบสัน (อังกฤษ: Sir Robert William Robson) (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 193331 กรกฎาคม ค.ศ. 2009) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ

เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน
CBE
ร็อบสันหลังการแข่งขันระหว่างเนเธอร์แลนด์กับอังกฤษ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1988 ที่เมืองดึสเซิลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนีตะวันตก
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็มโรเบิร์ต วิลเลียม ร็อบสัน
วันเกิด18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933(1933-02-18)
สถานที่เกิดซาคริสตัน มณฑลเดอแรม ประเทศอังกฤษ
วันเสียชีวิต31 กรกฎาคม ค.ศ. 2009(2009-07-31) (76 ปี)
สถานที่เสียชีวิตเดอรัม ประเทศอังกฤษ
ตำแหน่งกองหน้า
สโมสรอาชีพ*
ปีทีมลงเล่น(ประตู)
1950–1956ฟูลัม152(68)
1956–1962เวสต์บรอมมิชอัลเบียน239(56)
1962–1967ฟูลัม192(9)
1967–1968แวนคูเวอร์รอยัลส์0(0)
รวม583(133)
ทีมชาติ
1957–1962อังกฤษ20(4)
จัดการทีม
1968ฟูลัม
1969–1982อิปสวิชทาวน์
1982–1990อังกฤษ
1990–1992เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน
1992–1994สปอร์ติกกลูบีดีปูร์ตูกาล
1994–1996โปร์ตู
1996–1997บาร์เซโลนา
1998–1999เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน
1999–2004นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

เขาเล่นฟุตบอลในตำแหน่งกองหน้า ในเวลาเกือบ 20 ปี เขาลงเล่นให้กับ 3 ทีม ได้แก่ ฟูลัม, เวสต์บรอมวิชอัลเบียน และแวนคูเวอร์รอยัลส์ เขาลงเล่นในนามทีมชาติอังกฤษ 20 นัด และยิงได้ 4 ประตู

เขาเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จทั้งกับทีมชาติและสโมสร เขาสามารถคว้าแชมป์ลีกได้ใน 2 ประเทศ คือเนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส และคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยในอังกฤษและสเปน รวมทั้งยังสามารถนำทีมชาติอังกฤษเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 1990 และประสบความสำเร็จในการคุมทีมชาติไอร์แลนด์

เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน เสียชีวิตลงอย่างสงบในขณะที่มีอายุ 76 ปี ด้วยโรคมะเร็งที่บ้านของเขา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 หลังจากที่ป่วยมานานถึง 15 ปี

ประวัติ

ร็อบสันเกิดที่มณฑลเดอแรม เขาเป็นลูกชายคนที่ 4 จาก 5 คน ของฟิลิปป์ และลิเลียน ร็อบสัน ในวัยเด็กพ่อของเขามักจะพาเขาไปชมเกมการแข่งขันของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ที่เซนต์เจมส์พาร์คอยู่เสมอ[1][2][3] ร็อบสันชื่นชอบ แจ็คกี มิลเบิร์น และเลน แช็คเลย์ตันมาก และยกย่องว่าเป็นฮีโร่ในวัยเด็กของเขา โดยทั้งสองเป็นนักฟุตบอลที่เล่นในตำแหน่งกองหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่เขาเล่นเมื่อตอนค้าแข้ง

สมัยเป็นนักเตะ

ระดับสโมสร

สถิติในฐานะผู้เล่น

ระดับสโมสรเกมลีกฟุตบอลถ้วยลีกคัพรวม
ฤดูกาลสโมสรลีกลงเล่นประตูลงเล่นประตูลงเล่นประตูลงเล่นประตู
อังกฤษลีกเอฟเอคัพลีกคัพรวม
1950–51ฟูลัมดิวิชันหนึ่ง10--10
1951–52163--163
1952–53ดิวิชันสอง351910-3619
1953–54331311-3414
1954–55422310-4323
1955–56251020-2710
1955–56เวสต์บรอมวิชอัลเบียนดิวิชันหนึ่ง101--101
1956–57391221-4113
1957–58412473-4827
1958–5929411-305
1959–6041630-446
1960–6140510-415
1961–6239440-434
1962–63ฟูลัม3412120382
1963–643912010421
1964–654212031472
1965–66366-30396
1966–674103030470
รวมอังกฤษ583133327121627141
สรุปรวม583133327121627141

ระดับทีมชาติ

บทบาทในฐานะผู้จัดการทีม

การคุมทีมในช่วงแรก

รูปปั้นของร็อบสันที่พอร์ตแมนโรด

ใน ค.ศ. 1959 ร็อบสันได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นโค้ชให้กับทีมชาติอังกฤษ ร็อบสันดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1968 โดยเป็นผู้จัดการทีมของฟูลัม อดีตต้นสังกัดของเขาในสมัยค้าแข้ง ภายใต้การคุมทีมของเขาจาก 24 นัด ฟูลัมมีคะแนนเพียงแค่ 16 คะแนนเท่านั้น[4][5] ทำให้เขาไม่สามารถช่วยทีมให้รอดพ้นจากการตกชั้นสู่ดิวิชันสองได้[6] ซึ่งการตกชั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[7]

หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมของอิปสวิชทาวน์ ใน ค.ศ. 1969 และประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยในฤดูกาล 1972-73 เขาพาทีมคว้าอันดับที่ 4 ในลีกได้สำเร็จ และยังพาทีมคว้าแชมป์ Texaco Cup อีกด้วย[8] ในฤดูกาล 1977-78 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ 9 ของเขากับทีม อิปสวิชจบฤดูกาลได้ต่ำกว่าอันดับที่ 6 ของตาราง แต่อย่างไรก็ตามเขาสามารถพาทีมคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ โดยในนัดชิงชนะเลิศอิปสวิชสามารถเอาชนะอาร์เซนอลไปได้ 1-0[9] ในอีก 3 ปีถัดมา เขาสามารถพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพได้สำเร็จ โดยการเอาชนะอาแซดอัลค์มาร์ด้วยสกอร์รวม 5-4[10]

ใน ค.ศ. 2002 การสร้างรูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงของเขาเสร็จสิ้น โดยตั้งอยู่ที่พอร์ตแมนโรด สนามเหย้าของอิปสวิช

ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ

การคุมทีมอื่นๆในทวีปยุโรป

กราฟแสดงอันดับในลีกเมื่อจบฤดูกาลของร็อบสัน

ก่อนที่ฟุตบอลโลก 1990 จะเริ่มขึ้น สมาคมฟุตบอลอังกฤษหรือเอฟเอได้บอกกับร็อบสันว่าจะไม่ต่อสัญญาของเขาต่อไป หลังจากที่เขาพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมพีเอสวีไอน์โฮเฟน และคว้าแชมป์พรีเมียร์ดัตต์ได้ทั้ง 2 ฤดูกาลที่คุมทีม คือ ฤดูกาล 1990-91 และ 1991-92 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลถ้วยยุโรป ทำให้เขาต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อจบฤดูกาล[11]

เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมสปอร์ติงลิสบอนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1992 ซึ่งในขณะนั้น โชเซ มูริญโญ เป็นล่ามในภาษาโปรตุเกสให้กับเขา ร็อบสันพาทีมจบอันดับที่ 3 ในฤดูกาลแรก แต่ก็ถูกปลดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993

หลังจากที่ลิสบอนปลดร็อบสันออกจากตำแหน่งไม่นานนัก สโมสรฟุตบอลโปร์ตูก็ได้ประกาศแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้จัดการทีมทันที โดยมีมูริญโญเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม ภายใต้การคุมทีมของเขา ปอร์โตสามารถเอาชนะลิสบอนได้ในนัดชิงชนะเลิศโปรตุกีสคัพ ต่อมาปอร์โตก็สามารถคว้าแชมป์ลีกได้ 2 สมัยติดต่อกัน คือ ฤดูกาล 1994-95 และ 1995-96[12]

เขาได้รับต่อสัญญากับทีมใน ค.ศ. 1995 และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการคุมปอร์โต[13]

ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1996 เขาได้รับโทรศัพท์จาก จวน กัลพาร์ท รองประธานสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา โดยได้สนทนากับลูอิช ฟีกู เพื่อที่จะเชื้อเชิญให้เขาเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีม[14] จนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 ร็อบสันได้รับการแต่งตั้งในคุมทีมบาร์เซโลนา โดยเขาได้ให้มูริญโญเป็นผู้ช่วยของเขาด้วย[15] ในการคุมทีมเขาได้เซ็นสัญญากับโรนัลโดด้วยค่าตัว 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] และในฤดูกาลเดียวร็อบสันสามารถพาทีมคว้าแชมป์สเปนิชคัพ, สเปนิชซูเปอร์คัพ และยูโรเปียนส์วินเนอร์คัพได้[17] โดยในฤดูกาลนี้เขาได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปด้วย

ในฤดูกาล 1997-98 ร็อบสันเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมทั่วไปของสโมสร และลูวี ฟัน คาล เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการทีม แต่ร็อบสันอยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ฤดูกาลเดียวเขาก็กลับไปรับตำแหน่งผู้จัดการทีมของเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟินอีกครั้ง ด้วยสัญญาระยะสั้นเพียง 1 ฤดูกาล คือ ฤดูกาล 1998-99[18] โดยจบฤดูกาลในอันดับที่ 3 ของตารางตามหลังเฟเยนูร์ด และวิลเลม II[19]

กลับคืนสู่เกาะอังกฤษ

ภายหลังสัญญาระหว่างร็อบสันกับพีเอสวีหมดลง เขาได้กลับสู่อังกฤษอีกครั้ง และมีตำแหน่งในทีมชาติอังกฤษด้วย[20] แต่หลังจากนั้น รืด คึลลิต ผู้จัดการทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง บอร์ดบริหารจึงตัดสินใจแต่งตั้งให้ร็อบสันดำรงตำแหน่งแทนในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1999[21] และสโมสรก็ได้ทำให้ร็อบสันเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากเนื่องจากให้เงินค่าซื้อขายเพียง 1 ล้านปอนด์เท่านั้น[22]

ในนัดแรกที่ร็อบสันคุมทีม เขาสามารถพาทีมถล่มเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ไปได้อย่างขาดลอยถึง 8-0 และพาทีมจบในอันดับที่ 11 ในฤดูกาลแรก โดยจากการแข่ง 32 นัด นิวคาสเซิลสามารถเก็บชัยชนะได้ถึง 14 นัด ภายใต้การคุมทีมของเขา[22][23] หลังปี ค.ศ. 2000 เควิน คีแกน ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ ทำให้มีการเจรจาให้ร็อบสันเข้ารับตำแหน่งแทนเป็นการชั่วคราว แต่ร็อบสันก็ได้ปฏิเสธที่จะเข้ารับตำแหน่ง[24] ในฤดูกาล 2001-02 นิวคาสเซิลภายใต้การคุมทีมของร็อบสันสามารถจบฤดูกาลได้ในอันดับที่ 4 ของตาราง[25] ในฤดูกาลถัดมานิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 3 ของตาราง พร้อมทั้งได้สิทธิ์ลงแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน[26] อย่างไรก็ตามเขาไม่สามารถพาทีมให้เขารอบต่อไปได้ ทำให้ต้องแข่งขันยูฟ่าคัพแทนในฤดูกาล 2003-04[27] โดยในฤดูกาล 2003-04 นิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 5 ของตาราง ห่างจากทีมอันดับที่ 4 เพียง 4 คะแนนเท่านั้น ทำให้ในฤดูกาล 2004-05 นิวคาสเซิลไม่สามารถแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ แต่ต้องไปแข่งขันยูฟ่าคัพแทน[28]

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2004 เฟรดดี เชพเพิร์ด ประธานสโมสร ประกาศปลดร็อบสันออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเริ่มฤดูกาลใหม่อย่างย่ำแย่ และขัดแย้งกับนักเตะ[29] โดยสโมสรได้ประกาศแต่งตั้ง แกรม ซูเนสส์ เข้าดำรงตำแหน่งแทนร็อบสัน

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2005 เขาได้ปฏิเสธข้อเสนอของฮาร์ทส์ที่ต้องการให้เขาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีม เนื่องจากเขาต้องการอาศัยอยู่ที่นิวคาสเซิล[30] ต่อมาในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2006 สตีฟ สตอนตัน เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชาติไอร์แลนด์ โดยพร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งให้ร็อบสันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้วย[31] และเขาก็ได้ประกาศรีไทร์จากวงการฟุตบอลด้วยเหตุผลด้านสุขภาพใน ค.ศ. 2007

ชีวิตนอกสนามฟุตบอล

ชีวิตส่วนตัว

ร็อบสันสมรสกับเอลซีตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1995[32] มีลูกชาย 3 คน คือ แอนดรูว์, พอล และมาร์ค[1][33]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เป็นต้นมา ร็อบสันจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในบางครั้งนั้นต้องมีการผ่าตัดด้วย ทำให้ส่งผลต่อด้านการงานของเขาเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างสมัยที่เขาเป็นผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลโปร์ตู เขาต้องพลาดการคุมทีมหลายเดือนในฤดูกาล 1995-96 เนื่องจากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง และเนื้องอกในปอดข้างขวา[34][35]

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ร็อบสันเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งอีกเป็นครั้งที่ 5 ต่อมาวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอคัพที่สนามเวมบลีย์ ซึ่งปอร์ทสมัธเอาชนะคาร์ดิฟฟ์ซิตีไปได้ 1-0 โดยเขาเป็นผู้มอบถ้วยแชมป์ให้กับ โซล แคมป์เบลล์ กัปตันทีมปอร์ทสมัธ

การเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ร็อบสันเสียชีวิตลงอย่างสงบในขณะที่มีอายุ 76 ปี ด้วยโรคมะเร็ง[36]ที่บ้านของเขา หลังจากที่ป่วยมานานถึง 15 ปี หลังจากมีการเผยแพร่ข่าวการเสียชีวิตของเขาไปทั่วโลก ทำให้คนในแวดวงต่างๆเกิดความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ได้ออกมาสดุดีร็อบสันว่าเป็นยอดคนของวงการลูกหนัง โดยเฟอร์กูสันกล่าวว่า "ผมเสียใจมากต่อการจากไปของเพื่อนผู้ยิ่งใหญ่ ของบุคคลที่มหัศจรรย์ และเป็นคนที่มีความรู้ในเกมอย่างสูง" ส่วน กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ร่วมกล่าวไว้อาลัยร็อบสันเช่นกัน โดยบราวน์กล่าวว่า "ผมรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของ เซอร์ บ็อบบี้ ร็อบสัน ผมเคยได้พบกับบ็อบบี้ในหลายๆโอกาส เขาคือภาพรวมที่ชัดเจนสำหรับทุกๆเรื่องราวอันยอดเยี่ยมเกี่ยวกับฟุตบอลในประเทศนี้"[37]

กิจกรรมอื่นๆ

มูลนิธิ เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน

เกียรติยศ

สถิติในฐานะผู้จัดการทีม

สถิติการคุมทีม

ทีมประเทศตั้งแต่ถึงบันทึก
แข่งชนะแพ้เสมอชนะ %
ฟูลัม มกราคม 1968พฤศจิกายน 196836621916.67
อิปสวิชทาวน์[38] มกราคม 1969สิงหาคม 198270931622017344.57
ทีมชาติอังกฤษ[39] 198219909547183049.47
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 19901992765271768.42
สปอร์ติงลิสบอน 199219945934121357.63
สโมสรฟุตบอลโปร์ตู 1994199612086112371.67
บาร์เซโลนา 19961997583881265.52
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 19981999382081052.63
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด กันยายน 1999สิงหาคม 2004255119726446.67
ทั้งหมด144671837735149.65

เกียรติยศจากการคุมทีม

เกียรติยศทีมปี
เท็กเซโกคัพอิปสวิชทาวน์1973
เอฟเอคัพ1978
ยูฟ่าคัพ1981
Rous Cupทีมชาติอังกฤษ1986, 1988, 1989
เอเรอดีวีซีเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน1991, 1992
คัพออฟโปรตุเกสสโมสรฟุตบอลโปร์ตู1994
โปรตุกีสแชมเปียนชิพ1995, 1996
สเปนิชซูเปอร์คัพบาร์เซโลนา1996
โกปาเดลเรย์1997
ยูโรเปียนคัพวินเนอร์คัพ1997

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย