บราซิเลีย

เมืองหลวงของประเทศบราซิล
(เปลี่ยนทางจาก บราซีเลีย)

บราซิเลีย[5] (โปรตุเกส: Brasília) เป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิล ได้รับการก่อตั้งเป็นเมืองหลวงใน ค.ศ. 1960 ก่อนหน้านี้เมืองหลวงของประเทศได้แก่ ซัลวาดอร์ (ค.ศ. 1549–1763) และรีโอเดจาเนโร (ค.ศ. 1763–1960) เมืองนี้ได้รับการวางแผนผังเมืองเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐอเมริกา และแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ชื่อบราซิเลียมาจากภาษาละตินแปลว่า "บราซิล"

บราซิเลีย

Brasília
สถานที่ต่าง ๆ ในบราซิเลีย
ธงของบราซิเลีย
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของบราซิเลีย
ตรา
สมญา: 
Capital Federal, BSB, Capital da Esperança
คำขวัญ: 
"Venturis ventis" (ละติน)
"สายลมแห่งอนาคต"
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบ
บราซิเลียตั้งอยู่ในบราซิล
บราซิเลีย
บราซิเลีย
ที่ตั้งในประเทศบราซิล
บราซิเลียตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
บราซิเลีย
บราซิเลีย
ที่ตั้งในทวีปอเมริกาใต้
พิกัด: 15°47′38″S 47°52′58″W / 15.79389°S 47.88278°W / -15.79389; -47.88278
ประเทศ บราซิล
ภูมิภาคกลาง-ตะวันตก
หน่วยสหพันธ์ เขตสหพันธ์
ก่อตั้ง21 เมษายน ค.ศ. 1960
พื้นที่
 • เขตสหพันธ์5,802 ตร.กม. (2,240.164 ตร.ไมล์)
ความสูง1,172 เมตร (3,845 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2017)[1][2]
 • เขตสหพันธ์2,817,381 คน
 • อันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น489.06 คน/ตร.กม. (1,266.7 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,548,438 คน
 ประชากรรวมปริมณฑล คือรวมเทศบาลใกล้เคียง 12 แห่งในรัฐโกยาช[3]
เดมะนิมBrasiliense
จีดีพี
 • ปีประมาณการ ค.ศ. 2015
 • ทั้งหมด65.338 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ที่ 8)
 • ต่อหัว21,779 ดอลลาร์สหรัฐ (ที่ 1)
เขตเวลาUTC−03:00 (เวลาบราซิเลีย)
รหัสไปรษณีย์70000-000
รหัสพื้นที่+55 61
เอชดีไอ (ค.ศ. 2010)0.824 – สูงมาก[4]
เว็บไซต์brasilia.df.gov.br
(ในภาษาโปรตุเกส)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนบราซิเลีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iv
ขึ้นเมื่อค.ศ. 1987 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
เลขอ้างอิง445
ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

นครรีโอเดจาเนโรเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศบราซิลนานเกือบ 3 ศตวรรษ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ แต่ด้วยอาณาเขตที่อยู่ห่างไกลสุดขอบแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความคิดที่จะย้ายเมืองหลวงขยับเข้าไปใจกลางแผ่นดินมากขึ้น เพื่อกระจายความเจริญให้ทั่วถึงและป้องกันการโจมตีทางทะเลจากชาติต่าง ๆ เช่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ แผนการที่วางไว้ คือการทำให้บราซิเลียซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของฝั่งตะวันตก กลายเป็นศูนย์กลางของที่ทำการรัฐบาล แผนการสร้างเมืองหลวงใหม่ได้รับการเสนอขึ้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1823 และในที่สุด พื้นที่ 14,400 ตารางกิโลเมตรนี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ที่ชื่อว่า "บราซิเลีย" ใน ค.ศ. 1956 รัฐบาลได้จัดการแข่งขันออกแบบผังเมืองใหม่และใช้ผังเมืองที่ชนะการแข่งขันเป็นต้นแบบในการก่อสร้าง ประธานาธิบดี ฌูเซลีนู กูบีแชก (Juscelino Kubitschek) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศในขณะนั้น ต้องการสร้างเมืองใหม่ให้แล้วเสร็จในขณะที่อยู่ยังในตำแหน่ง ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างเร่งรีบโดยใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่ง รัฐบาลได้สถาปนากรุงบราซิเลียเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1960 แม้ว่าการก่อสร้างจะยังเสร็จไม่สมบูรณ์ก็ตาม

บราซิเลียเป็นที่ตั้งของรัฐสภาและที่ทำการสำคัญของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของหลายบริษัท เมืองแห่งนี้มีนโยบายผังเมืองที่ชัดเจน มีพื้นที่เฉพาะซึ่งจำกัดไว้สำหรับสิ่งปลูกสร้างเกือบทุกชนิด อาทิ มีการจัดพื้นที่การสำหรับให้ประชาชนสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบริเวณรอบ ๆ เขตเมือง สร้างศูนย์กลางความเจริญไว้ติดกับถนนใหญ่ มีพื้นที่สำหรับสร้างโรงแรมและที่พักแบ่งเป็นตอนเหนือและตอนใต้ เมื่อมองจากด้านบน ผังเมืองของกรุงบราซิเลียจะมีลักษณะคล้ายเครื่องบินหรือผีเสื้อ ปัจจุบันกรุงบราซิเลียมีประชากรมากกว่า 2,550,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าที่ประมาณการไว้ กรุงบราซิเลียเดิมซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นที่ทำการของรัฐจึงกลายมาเป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพจำนวนมากจากตอนเหนือของประเทศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย