นิกกี เฮลีย์

นิมรตา นิกกี เฮลีย์ (สกุลเดิม: รันธาวา, 20 มกราคม 2515)[1][2][3] เป็นอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติคนที่ 29 [4] เธอเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2561 [5][6] เธอเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐเซาท์แคโรไลนาคนที่ 116 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐเซาท์แคโรไลนา[3] เฮลีย์เป็นผู้ว่าการหญิงคนแรกของรัฐเซาท์แคโรไลนา และเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียคนที่ 2 ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐในสหรัฐ ถัดจากบ็อบบี จินดาล ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคริพับลิกันเช่นกัน

นิกกี เฮลีย์
เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติคนที่ 29
ดำรงตำแหน่ง
27 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2561
ประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์
รองMichele J. Sison
ก่อนหน้าซาแมนธา พาวเวอร์
ถัดไปเฮทเทอร์ นิวเอิร์ท
ผู้ว่าการรัฐเซาท์แคโรไลนาคนที่ 116
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม 2554 – 24 มกราคม 2560
รักษาการแทนเค็น อาร์ด
เกล็นน์ เอฟ. มักคอนเนลล์
แยนซีย์ มักกิล
เฮนรี มักแมสเตอร์
ก่อนหน้ามาร์ก แซนเฟิร์ด
ถัดไปเฮนรี มักแมสเตอร์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รัฐเซาท์แคโรไลนา จากเขตที่ 87
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม 2548 – 11 มกราคม 2554
ก่อนหน้าแลร์รี คูน
ถัดไปทอดด์ แอตวอเตอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
นิมรตา รันธาวา

20 มกราคม พ.ศ. 2515 (52 ปี)
แบมเบิร์ก, รัฐเซาท์แคโรไลนา, สหรัฐ
พรรคการเมืองพรรคริพับลิกัน
คู่สมรสไมเคิล เฮลีย์ (สมรส 2539)
บุตร2 3คน
การศึกษามหาวิทยาลัยเคลมสัน (วิทยาศาสตรบัณฑิต)

ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2555 มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคริพับลิกันมองว่า เฮลีย์มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งรองประธานาธิบดีคู่กับเขา แต่เฮลีย์กล่าวว่าเธอจะปฏิเสธข้อเสนอใด ๆ ก็ตาม เนื่องจากดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐอยู่[7][8] เธอเป็นตัวแทนพรรคริพับลิกันในการแถลงตอบโต้คำแถลงนโยบายประจำปีของประธานาธิบดีบารัก โอบามา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559[9] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ว่าที่ประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ได้เสนอชื่อเฮลีย์เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ซึ่งเธอตกลงรับตำแหน่ง[10] เฮลีย์ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยมติเสียงข้างมาก 96 ต่อ 4 และได้สาบานตนเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560[11] ในปี พ.ศ. 2559 นิตยสาร ไทม์ ได้จัดเฮลีย์เป็นหนึ่งใน "บุคคลผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุด 100 คนแรก"[12][13]

ในฐานะเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ เฮลีย์ได้ยืนยันความตั้งใจของสหรัฐที่จะใช้กำลังทหารเพื่อตอบโต้การทดลองขีปนาวุธของเกาหลีเหนือต่อไปในช่วงวิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560 การปฏิบัติหน้าที่เอกอัครราชทูตของเฮลีย์เป็นที่จับตามองในระดับสูง[14] ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ โดยมีสื่อบางสื่อคาดการณ์ว่าเธออาจได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในอนาคต[15][16][17]

ต่อมา เธอได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งมีผลทันทีในวันที่ 31 ธันวาคม 2561

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย