นายกรัฐมนตรีไทย

หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ประธานคณะรัฐมนตรี และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลไทย[4] โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนปัจจุบันคือ เศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

นายกรัฐมนตรี
แห่งราชอาณาจักรไทย
ตราประจำตำแหน่ง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เศรษฐา ทวีสิน
ตั้งแต่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[1]
รัฐบาลไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี
การเรียกขานท่านนายกรัฐมนตรี
(ไม่เป็นทางการ)
ฯพณฯ
(ทางการ)
ท่านผู้นำ
(การทูตระหว่างประเทศ)
สมาชิกของคณะรัฐมนตรีไทย
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
จวนบ้านพิษณุโลก
ที่ว่าการทำเนียบรัฐบาล
ผู้เสนอชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระ4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ
(รวมกันไม่เกิน 8 ปี)
ตราสารจัดตั้งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
ตำแหน่งก่อนหน้าประธานคณะกรรมการราษฎร
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (92 ปี)
รองรองนายกรัฐมนตรีไทย
เงินตอบแทน125,590 บาท[2][3]
เว็บไซต์thaigov.go.th

โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่บทเฉพาะกาลมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ประวัติ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีขึ้นภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[5] อย่างไรก็ตาม มีการวิจารณ์อย่างหนักว่าชื่อตำแหน่งดังกล่าวเหมือนกับตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎรแห่งสหภาพโซเวียต[6] ส่งผลให้ในเวลาต่อมา ก็เปลี่ยนมาเรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 [7] โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย

รัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติที่มาของนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่านายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎร และมีบทเฉพาะกาลให้วุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (วาระปี 2562–67) มีส่วนเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

การปฏิบัติหน้าที่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"[8]

นายกรัฐมนตรีอาจพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง และมีผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะด้วย

การรักษาราชการแทน

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน[9] และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 168 ได้กำหนดเพิ่มเติมว่า หากคณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือลาออกทั้งคณะ ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการและให้ปลัดกระทรวงคัดเลือกกันเองให้คนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา

สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (เรียงตามลำดับรองนายกรัฐมนตรีดังนี้[10])

ตำแหน่งรายชื่อพรรคการเมืองเริ่มดำรงตำแหน่งตำแหน่งที่สองกระทรวงที่กำกับดูแล
รองนายกรัฐมนตรีภูมิธรรม เวชยชัยพรรคเพื่อไทย1 กันยายน พ.ศ. 2566รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจพรรคเพื่อไทย27 เมษายน พ.ศ. 2567รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พิชัย ชุณหวชิรพรรคเพื่อไทย27 เมษายน พ.ศ. 2567รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
อนุทิน ชาญวีรกูลพรรคภูมิใจไทย10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (ครม. 62)
1 กันยายน พ.ศ. 2566 (ครม. 63)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 62)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 63)
พัชรวาท วงษ์สุวรรณพรรคพลังประชารัฐ1 กันยายน พ.ศ. 2566รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคพรรครวมไทยสร้างชาติ1 กันยายน พ.ศ. 2566รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย

อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่ยังมีชีวิตอยู่

ปัจจุบันมีอดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ 11 คน ได้แก่

ส่วนราชการในบังคับบัญชา

ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

เชิงอรรถ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย