นกจาบดินอกลาย

นกจาบดินอกลาย
P. r. dusiti จาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์ปีก
อันดับ:นกเกาะคอน (Passeriformes)
วงศ์:นกมุ่นรก (Pellorneidae)
สกุล:Pellorneum
สปีชีส์:ruficeps
ชื่อทวินาม
Pellorneum ruficeps
(Swainson, 1832)
ตัวอย่างเสียงร้อง ที่ Nagerhole
ภาพประกอบ นกจาบดินอกลาย
นกจาบดินอกลายในเบงกาลูรู อินเดีย ไม่มีริ้วบนท้ายทอย

นกจาบดินอกลาย (อังกฤษ: puff-throated babbler หรือ spotted babbler; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pellorneum ruficeps) เป็นนกในวงศ์นกมุ่นรก ในอันดับนกเกาะคอน ที่พบในเอเชีย โดยทั่วไปพบในป่าละเมาะและป่าดิบเขาชื้น ส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่เป็นเนินเขา นกจาบดินอกลายหาอาหารเป็นฝูงเล็ก ๆ บนพื้นป่าที่มีเศษใบไม้ปกคลุมเพื่อหาเหยื่อ และโดยปกติจะอยู่ในที่ต่ำซึ่งพบเห็นได้ยาก นกจาบดินอกลายมีเสียงร้องที่ดังและรูปแบบเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงร้องตอนเช้า เสียงติดต่อกัน และเสียงเตือนภัย นกจาบดินอกลายเป็นชนิดต้นแบบ ของ สกุล Pellorneum ซึ่งในปัจจุบันอาจมีหลายเชื้อสาย

ลักษณะทางชีววิทยา

นกจาบดินอกลาย ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล และด้านล่างสีขาวมีริ้วสีน้ำตาลเข้มบนหน้าอกและท้อง มีขนหัวสีน้ำตาลแดง มีแถบยาวสีน้ำตาลอ่อนบนตาทั้งสองข้าง (หน้าผาก) และแก้มมีริ้วสีดำ ลำคอเป็นสีขาวและบางครั้งพองออก และเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ (Puff-throated babbler) นกจาบดินอกลายมีขาที่แข็งแรงและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนพื้นป่า มักจะเห็นพวกมันเดินในพงไม้เพื่อหาอาหารจำพวกแมลง พันธุ์ย่อยบางชนิดมีริ้วบนท้ายทอย (Mantle) ในขณะที่พันธุ์อื่น ๆ ไม่มีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาบสมุทรอินเดีย[2]

การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง และการแตกต่างของประชากรในชนิดย่อยซึ่งมีเกือบสามสิบชนิดย่อย[3] ประชากรนกตัวอย่างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนชื่อต้นแบบ พบในคาบสมุทรอินเดีย (ยกเว้น เทือกเขาฆาฏตะวันตก) คือ P. r. ruficeps

ชนิดย่อย

และอื่น ๆ ได้แก่ subochraceum, insularum, indistinctum, chtonium, elbeli, acrum, oreum, dusiti, vividum, ubonense, euroum, deignani, dilloni and smithi และมีการอธิบายอีกหลายกลุ่มและประชากรจำนวนมากยากที่จะกำหนดให้เป็นชนิดย่อย โดยนกในสกุล Pellorneum นกจาบดินอกลาย นกจาบดินอกลายชนิดย่อย และนกสายพันธุ์อื่นที่รวมอยู่ในสกุลอาจถูกกำหนดชื่อใหม่[4][5][6]

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่

นกจาบดินอกลายเป็นพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทั่วไปในเทือกเขาหิมาลัย และป่าของเอเชีย เช่นเดียวกับนกกินแมลง (Babbler) ส่วนใหญ่ไม่มีการอพยพ เนื่องจากมีปีกโค้งมน สั้น ซึ่งไม่เหมาะที่จะบินระยะไกล แหล่งอาศัยของนกจาบดินอกลาย คือ ไม้พุ่มและกอไผ่ และหาอาหารโดยการพลิกใบไม้เพื่อหาแมลง[2]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

นกจาบดินอกลาย ส่งเสียงเกือบตลอดเวลา เสียงร้องที่ดังและรูปแบบเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงร้องตอนเช้า เสียงติดต่อกัน และเสียงเตือนภัย จำนวนรูปแบบของเสียงเพิ่มขึ้นตามขนาดของนก การส่งเสียงร้องสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

ฤดูผสมพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูฝน นกจาบดินอกลายสร้างรังบนพื้นดิน ที่ฐานของพุ่มไม้ และเป็นรูปทรงกลม หรือรูปโดม ทำจากใบไม้และกิ่งไม้ มีช่องทางเข้าอยู่ด้านข้าง ช่องเปิดมักชี้ลงเนินเมื่อรังอยู่บนพื้นลาดเอียง จำนวนไข่แต่ละครอกแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 5 ฟอง ประชากรนกจาบดินอกลายทางตอนเหนือมีแนวโน้มจำนวนไข่แต่ละครอกมากกว่า พ่อแม่นกกระโดดไปมาในพงเมื่อพวกมันเข้าและออกจากรัง ลูกนกจะเริ่มงอกขนปีกและออกจากรังประมาณ 12 ถึง 13 วันหลังจากฟักไข่[2][7][8][9]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย