ธงชาติทาจิกิสถาน

ธงชาติทาจิกิสถาน (ทาจิก: Парчами Тоҷикистон, پرچم تاجیکستان) ทาจิกิสถานประกาศใช้ธงชาติผืนใหม่ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[2][3] และนับเป็นประเทศสุดท้ายในบรรดารัฐที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต ที่ประกาศใช้ธงชาติของตนเอง ลักษณะของธงเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบแนวนอน สีแดง-ขาว-เขียว มีอัตราส่วนความกว้างต่อแถบเป็น 2:3:2 กลางแถบสีขาวนั้น มีรูปมงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง รูปเหล่านี้เป็นสีทอง[4]

ธงชาติทาจิกิสถาน
ทาจิก: Парчами Тоҷикистон /
پرچم تاجیکستان
การใช้ธงชาติ
สัดส่วนธง1:2
ประกาศใช้24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535[1] (31 ปี)
ลักษณะธงแถบแนวนอน สีแดง-ขาว-เขียว, กลางแถบสีขาวนั้น มีรูปมงกุฎล้อมด้วยดาวห้าแฉก 7 ดวง รูปเหล่านี้เป็นสีทอง
การใช้ธงของประมุขแห่งรัฐ
สัดส่วนธง1:2
ลักษณะลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่กลางธงเป็นตราสัญลักษณ์ Derafsh Kāviān สีทอง โดยมีดาวเจ็ดแฉกมุมละหนึ่งดวงและมีรูปสิงโตปีกอยู่ตรงกลาง

การออกแบบและการแสดงนัย

ธงชาติทาจิกิสถานเป็นธงสามสี คือ สีแดง, สีขาว และสีเขียว สีแดงหมายถึงเอกภาพของชาติรวมทั้งชัยชนะและดวงอาทิตย์ขึ้น สีแดงยังทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของยุคจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตในอดีต,[5] กรรมาชน[6] และนักรบผู้เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องดินแดน[7] สีขาวแสดงถึงความบริสุทธิ์, ศีลธรรม, หิมะ และน้ำแข็งของภูเขา และฝ้าย[4][8] สีเขียวแสดงถึงความเอื้ออาทรของธรรมชาติ, หุบเขาที่อุดมสมบูรณ์, ศาสนาอิสลาม และการเฉลิมฉลองเทศกาล เนารูซ[9] การตีความสีในแบบอื่น ๆ ระบุว่า ธงเป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกันของคนในสังคมทาจิก โดยมีแถบสีแดงเป็นตัวแทนของชนชั้นแรงงานฝีมือ, แถบสีขาวเป็นตัวแทนของชนชั้นแรงงานปัญญา และสีเขียวเป็นตัวแทนของชนชั้นเกษตรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือภูเขาของทาจิกิสถาน[10]

แถบสีแดงและสีเขียวที่ด้านบนและด้านล่างมีขนาดเท่ากัน ขณะที่แถบกลางสีขาวมีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของแถบอื่น

มงกุฎและดวงดาวอยู่ในพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งสูง 80% ของความสูงของแถบสีขาว มงกุฎแทนชาวทาจิก ธงชาติทาจิกิสถานมีดาวเจ็ดดวงเนื่องจากความสำคัญของหมายเลขเจ็ดในตำนานดั้งเดิมของทาจิก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์แบบและความสุข โดยความเชื่อดั้งเดิมสวรรค์ประกอบด้วยภูเขาเจ็ดลูกและสวนผลไม้เจ็ดแห่ง พร้อมดวงดาวที่ส่องประกายอยู่เหนือภูเขาแต่ละลูก[9]

ธงของประมุขแห่งรัฐ

ธงของประธานาธิบดีแห่งทาจิกิสถานได้รับการประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2549 เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งในวาระที่สามของเอมอมาลี ราห์มอน ในฐานะประมุขแห่งรัฐ โดยเป็นธงไตรรงค์ของทาจิกิสถานที่ประดับด้วยภาพของ Derafsh Kaviani ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประมุขจักรวรรดิซาสซานิยะห์ ภายใน Derafsh Kaviani เป็นภาพของสิงโตมีปีกและท้องฟ้าสีฟ้าอยู่ภายใต้ภาพมงกุฎและดาวเจ็ดดวงขนาดเล็ก[11]

ศูนย์กลางธงของประมุขแห่งรัฐมีองค์ประกอบที่เคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศในตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน (พ.ศ. 2535-2536) ธงยังประกอบด้วยดาวในมุมทั้งสี่เพื่อเป็นตัวแทนของสี่ภูมิภาคของทาจิกิสถาน

ธงในอดีต

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก พ.ศ. 2496-2534

ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกใช้ธงที่ได้มาจากธงชาติสหภาพโซเวียตและเป็นตัวแทนของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการประกาศใช้ใน พ.ศ. 2496[12] ธงมีความคล้ายคลึงกับการออกแบบของสหภาพโซเวียต แต่ด้วยการเพิ่มแถบสีขาวและสีเขียว ธงมีลำดับสี แดง-ขาว-เขียว โดยแถบสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าสีเขียว ซึ่งได้ใช้ในธงชาติปัจจุบัน

ในฐานะสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติของแรงงาน, สีขาวเป็นสัญลักษณ์ของฝ้ายซึ่งเป็นผลผลิตหลักทางการเกษตรในทาจิกิสถาน และสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของการเกษตร [13][14]

ด้านหลังของธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกก่อนได้รับเอกราช และหลังจากนั้นก็ใช้เป็นธงชาติ พ.ศ. 2534-2535

ธงสมัยโซเวียตมีสองด้าน ด้านหลังของธงเหมือนกับด้านหน้าแต่ไม่มีสัญลักษณ์ค้อนเคียวและดาว หลังจากได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2534 ทาจิกิสถานได้ประกาศใช้ธงหลังได้รับเอกราชเป็นครั้งแรก โดยการถอดสัญลักษณ์ของสหภาพโซเวียตออกจากผืนธง ทำให้ธงชาติเหมือนกับด้านหลังของธงชาติยุคโซเวียต ธงนี้ใช้งานอยู่จนกระทั่งมีธงชาติใหม่ โดยทาจิกิสถานเป็นประเทศสุดท้ายในอดีตสหภาพโซเวียตที่ประกาศใช้ธงชาติ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย