ทรานซิลเวเนีย

ทรานซิลเวเนีย (อังกฤษ: Transylvania; โรมาเนีย: Ardeal หรือ Transilvania; ฮังการี: Erdély; เยอรมัน: Siebenbürgen) เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของโรมาเนีย โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกและทางใต้ติดต่อกับ เทือกเขาคาร์เพเทียน (Carpathian mountains) ทางตะวันตกจรดเทือกเขาอพูเซนิ (Apuseni Mountains) แต่ "ทรานซิลเวเนีย" ที่ใช้กันมักจะรวมบริเวณที่เลยไปจากตัวทรานซิลเวเนียเองและภูมิภาคประวัติศาสตร์ของบริเวณบานัต, กรีชานา และมารามูเรช

ทรานซิลเวเนียสีเหลืองบนแผนที่ของโรมาเนียกับเขตแดนของประเทศต่าง ๆ ภูมิภาคประวัติศาสตร์บานัต, กรีชานา และมารามูเรช สีเหลืองเข้ม

ทรานซิลเวเนียเดิมเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรเดเชีย (82 ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 106) ในปี ค.ศ. 106 จักรวรรดิโรมันก็ได้รับชัยชนะต่อเดเชีย หลังจากนั้ความมั่งคั่งของเดเชียก็สิ้นสุดลง หลังจากกองทหารโรมันถอยจากบริเวณนี้ในปี ค.ศ. 271 ทรานซิลเวเนียก็ถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่าง ๆ ที่ทำให้ได้รับอิทธิพลต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้ทรานซิลเวเนียก็ถูกปกครองโดยวิซิกอท, ชนฮั่น, ชนเกปิด และชนอวาร์ จากนั้นชนดาเชียนที่รับวัฒนธรรมโรมันไม่ก็โยกย้ายกันขึ้นไปอยู่กันบนเขาเพื่อรักษาวัฒนธรรม หรือย้ายลงไปทางใต้ แต่ก็อาจเป็นได้ว่าชนดาโต–โรมันยังคงรักษาวัฒนธรรมผสมของตนเองอยู่ในทรานซิลเวเนีย[1] นักวิชาการยังคงโต้แย้งกันเรื่องประชากรของทรานซิลเวเนียก่อนการพิชิตของฮังการี[2]

ชนมาจยาร์พิชิตทรานซิลเวเนียได้ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่มีอิทธิพลในดินแดนนี้อย่างมั่นคงในปี ค.ศ. 1003 เมื่อพระเจ้าสตีเฟนที่ 1 แห่งฮังการีตามตำนานทรงได้รับชัยชนะต่อเจ้าท้องถิ่นที่มีชื่อว่า "จูลอ" (Gyula)[3][4][5][6] ระหว่างปี ค.ศ. 1003 ถึงปี ค.ศ. 1526 ทรานซิลเวเนียก็เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี โดยมีประมุขที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี หลังจากยุทธการที่โมฮาช (Battle of Mohács) ในปี ค.ศ. 1526 ทรานซิลเวเนียก็ได้รับอิสระ และก่อตั้งเป็นราชนครรัฐที่ปกครองโดยเจ้าของนิกายนิกายคาลวิน หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1566 ฮังการีก็แบ่งระหว่างฮาพส์บวร์คและตุรกี โดยทรานซิลเวเนียยังคงรักษาความเป็นราชนครรัฐของจักรวรรดิออตโตมัน

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คยึดทรานซิลเวเนียไม่นานหลังจากยุทธการเวียนนาในปี ค.ศ. 1683 แต่ฮาพส์บวร์คยอมรับอำนาจของฮังการีเหนือทรานซิลเวเนีย[1] [ไม่แน่ใจ ] ขณะที่ทรานซิลเวเนียยอมรับอำนาจของจักรพรรดิลีโอโพลด์แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (ค.ศ. 1687) ทรานซิลเวเนียจึงถูกผนวกอย่างเป็นทางการกับจักรวรรดิออสเตรีย จะแยกก็เพียงแต่ชื่อ[7][8] จากฮังการีที่ครองโดยฮาพส์บวร์ค[9][10][11] และอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงจากข้าหลวงของพระจักรพรรดิ[12] ในปี ค.ศ. 1699 ตุรกีก็ยอมรับการเสียทรานซิลเวเนียในสนธิสัญญาคาร์โลวิทซ์ (Treaty of Karlowitz) หลังจากการตกลงออสเตรีย-ฮังการี (Austro-Hungarian Compromise) ในปี ค.ศ. 1867 ทรานซิลเวเนียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการีอีกครั้งหนึ่ง[4][6] ที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่

หลังจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งออสเตรีย-ฮังการีก็สลายตัวลง ชาวโรมาเนียส่วนใหญ่เลือกผู้แทนผู้ประกาศการรวมตัวของทรานซิลเวเนียกับโรมาเนียเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ในปี ค.ศ. 1920 พันธมิตรก็อนุมัติการรวมตัวในสนธิสัญญาทรียานง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1940 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองฮังการีก็ได้ดินแดนราวสองในห้าของทรานซิลเวเนียโดยรางวัลเวียนนาครั้งที่ 2 (Second Vienna Award) ซึ่งเป็นความพยายามของเยอรมนีพันธมิตรของฮังการีและอิตาลีในการละเมิดสนธิสัญญาทรียานง แต่ดินแดนก็กลับไปเป็นของโรมาเนียในปี ค.ศ. 1945 ที่ได้รับการอนุมัติในสนธิสัญญาสงบศึกปารีสในปี ค.ศ. 1947[4].

นอกโรมาเนียแล้วทรานซิลเวเนียก็มักจะมีความพัวพันกับนวนิยายเรื่อง "แดรกคูลา" โดยบราม สโตกเกอร์[13][14][15] และยุคแห่งความหวาดกลัวโดยทั่วไป ขณะที่โรมาเนียและประเทศต่าง ๆ ในบริเวณยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางเป็นที่รู้จักกันในความงามของภูมิทัศน์และความสำคัญทางประวัติศาสตร์

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย