ถนนสืบศิริ

ถนนสืบศิริ (Thanon Suep Siri) เป็นถนนส่วนหนึ่งของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 อยู่ในช่วงสุดท้ายจากจำนวนถนนทั้งหมด 8 ช่วง เริ่มจากแยกเข้าเมืองปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จนถึง สามแยกวัดใหม่อัมพวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อถนน "สืบศิริ" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายจำรัส สืบศิริ อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางนครราชสีมา[1] ช่วงปี พ.ศ. 2490-2502 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างถนนเส้นนี้ [2]

รายละเอียด

ถนนสืบศิริ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีความยาวถนนรวมประมาณ 30 กิโลเมตร ได้แก่

ทางแยกเข้าเมืองปักธงชัย–ทางต่างระดับนครราชสีมา

ถนนสืบศิริ เขตเทศบาลตำบลเมืองปัก
ทางแยกระหว่างทางหลวงสาย 24 และทางหลวงสาย 304

ถนนส่วนนี้อยู่ในเขต อำเภอปักธงชัย และ อำเภอเมืองนครราชสีมา มีความยาวถนนประมาณ 26 กิโลเมตร
ลักษณะผิวจราจรเป็นแบบลาดยางแอสฟัลติก คอนกรีต (Asphaltic Concrete) ขนาด 4 ช่องทางจราจร พร้อมไหล่ทางสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ (ในช่วงเขตเทศบาลตำบลเมืองปัก จะมีระบบระบายน้ำและทางเท้า เพิ่มเติมมาด้วย)

จุดเริ่มต้น เริ่มจากทางแยกเข้าเมืองปักธงชัย (ถนนสาย 304 เดิม) อำเภอปักธงชัย เรื่อยไปบรรจบกับทางเลี่ยงเมือง (ถนนสาย 304) ที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลปักธงชัย ถนนจากช่วงนี้จนถึงเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มีชื่อเรียกว่า"ถนนราชสีมา-ปักธงชัย" จากนั้นมุ่งขึ้นเหนือตัดกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เข้าสู่อำเภอเมืองนครราชสีมา สิ้นสุดที่ ทางต่างระดับนครราชสีมา (จุดเชื่อมต่อกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายเลี่ยงเมือง) บริเวณกิโลเมตรที่ 7 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ถนนช่วงในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรนั้นมีชื่อเรียกว่า "ถนนปักธงชัย"

สถานที่สำคัญ

  • ที่ว่าการอำเภอปักธงชัย
  • สถานีตำรวจภูธรปักธงชัย
  • สำนักงานเทศบาลตำบลเมืองปัก
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาอำเภอปักธงชัย
  • โรงพยาบาลปักธงชัย
  • แขวงการทางปักธงชัย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไชยมงคล
  • ค่ายสุรธรรมพิทักษ์
  • กองบิน 1 กองพลบินที่ 2
  • สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 10 นครราชสีมา
  • สวนรุกขชาติปรุใหญ่
  • สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550
  • สถานีตำรวจภูธรโพธิ์กลาง

แยกทางต่างระดับนครราชสีมา–สามแยกวัดใหม่อัมพวัน

แยกถนนสืบศิริ หน้าสำนักงานชลประทาน
ถนนสืบศิริ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา

ถนนส่วนนี้อยู่ในเขต เทศบาลนครนครราชสีมา มีความยาวถนนประมาณ 4 กิโลเมตร ลักษณะผิวจราจรเป็นแบบลาดยางแอสฟัลติก คอนกรีต (Asphaltic Concrete) และ คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 และ 6 ช่องทางจราจร (ช่วงสามแยกวัดใหม่อัมพวัน ถึง แยกหน้าสำนักงานชลประทาน เป็น 4ช่องจราจร และช่วงแยกหน้าสำนักงานชลประทาน ถึง ด้านหลังธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็น 6 ช่องจราจร) มีช่องทางสำหรับจอดรถ พร้อมระบบระบายน้ำ และ ทางเท้าถนนสืบศิริส่วนนี้ เคยอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 กรมทางหลวง มีหมายเลขถนน คือ หมายเลข 2310 ในปัจจุบันทางเทศบาลนครนครราชสีมาเป็นผู้รับผิดชอบ และ ดูแลถนนส่วนนี้แทน

จุดเริ่มต้น เริ่มจากแยก ทางต่างระดับนครราชสีมา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "สามแยกปัก" ไปทางขวาเรื่อยไปตามทิศตะวันออกถึงสำนักงานชลประทานที่ 8 จากนั้นแยกออกเป็นสองทาง บริเวณหน้าสำนักงานชลประทาน (สามแยกชลประทาน) โดย

  • แยกซ้าย ไปทางทิศเหนือ ผ่านศูนย์บริการตอนนอกทีโอที สิ้นสุดที่จุดบรรจบกับถนนมุขมนตรี บริเวณสามแยกวัดใหม่อัมพวัน
  • แยกขวา ไปทางทิศใต้ ผ่านหน้าบ้านพัก พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สิ้นสุดที่บริเวณกองบัญชาการช่วยรบที่ 2 (บชร.2) บรรจบกับถนนทรัพย์ศิริ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก ซึ่งเดิมถนนเส้นนี้จะตรงไปบรรจบกับถนนราชสีมา-ปักธงชัยบริเวณหน้าค่ายสุรธรรมพิทักษ์ แต่เนื่องจากได้มีการสร้างกองบิน1ขึ้นทับบางส่วนของแนวถนน จึงได้มีการตัดถนนสายใหม่เลี่ยงกองบิน1ไปบรรจบกับถนนมิตรภาพบริเวณสามแยกปักฯในปัจจุบัน


สถานที่สำคัญ

  • ศูนย์บริการตอนนอก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  • สำนักงานชลประทานที่ 8
  • องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ นครราชสีมา
  • กองบัญชาการช่วยรบที่ 2
  • ตลาดโลตัส สืบศิริ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย