ต๋องจู

ต๋องจู[a], ต๋องอู่[b] หรือ กึ่งจู[c] (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 225-262) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ถาง จือ (จีน: 唐咨; พินอิน: Táng Zī) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ในปี ค.ศ. 258 ต๋องจูแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊กและกลายเป็นขุนพลของวุยก๊ก

ต๋องจู (ถาง จือ)
唐咨
ขุนพลสงบแดนไกล
(安遠將軍 อาน-ยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 258 (258) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจมอ / โจฮวน
ขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 252 (252) – ค.ศ. 258 (258)
กษัตริย์ซุนเหลียง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอหลินชู่ มณฑลชานตง /
นครเหลียน-ยฺหวินก่าง มณฑลเจียงซู
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนพล

ประวัติ

ต๋องจูเป็นชาวเมืองลี่เฉิง (利城郡 ลี่เฉิงจฺวิ้น; อยู่ระหวางทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหลินชู่ มณฑลชานตงในปัจจุบันและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตก้าน-ยฺหวี นครเหลียน-ยฺหวินก่าง มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน)[6]

ในปี ค.ศ. 225 ไช่ ฟาง (蔡方) เริ่มก่อกบฏในเมืองลี่เฉิง สังหารสฺวี จี (徐箕) ผู้เป็นเจ้าเมือง และเสนอให้ต๋องจูเป็นผู้นำของตน[7][8] โจผีจักรพรรดิแห่งวุยก๊กจึงมีรับสั่งให้เริ่น ฝู (任福), ตฺว้าน เจา (段昭), หวาง หลิง (王淩) และ ลิยอย (呂虔 ลฺหวี่ เฉียน) นำกองกำลังไปปราบปรามกบฏ หลังจากทัพวุยก๊กเอาชนะกบฏและชิงเมืองลี่เฉิงคืนมาได้ ต๋องจูก็หนีลงใต้ทางทะเลไปยังง่อก๊กและกลายเป็นนายทหารของง่อก๊ก[9][10]

ระหว่างปี ค.ศ. 235 และ ค.ศ. 236 ต๋องจูเข้าร่วมกับลิต้ายและงอซันขุนพลง่อก๊กในการศึกที่รบกับชนเผ่าชานเยว่ (山越) ที่ก่อการจลาจลในอาณาเขตของง่อก๊ก หลังเสร็จศึก ต๋องจูได้เลื่อนยศขึ้นเป็นขุนพลจากความดีความชอบ[11][12] ภายหลังต๋องจูและงอซันนำกำลังพล 3,000 นายโจมตีชนเผ่าชานเยฺว่ที่นำโดยต่ง ซื่อ (董嗣) แต่ไม่สามารถเอาชนะข้าศึกได้ จนกระทั่งกำลังเสริมนำโดยจิวหองที่เป็นขุนพลง่อก๊กอีกคนยกมาถึง[13]

ในปี ค.ศ. 239 ต๋องจูเข้าร่วมกับลิต้ายในการปราบการก่อการกำเริบที่นำโดยเลี่ยว ชื่อ (廖式)[14]

ในปี ค.ศ. 252 ต๋องจูร่วมกับขุนพลง่อก๊กคนอื่น ๆ อย่างเล่าเบา, ลิกี๋ และเตงฮองเข้าร่วมรบในยุทธการที่ตังหินที่รบกับวุยก๊กรัฐอริของง่อก๊ก[15] ต๋องจูได้เลื่อนยศเป็นขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน) ได้รับมอบอาญาสิทธิ์ และได้รับบรรดาศักดิ์โหวจากความดีความชอบในยุทธการ

ในปี ค.ศ. 256 ต๋องจูร่วมกับบุนขิม, ลิกี๋, หลิว จฺว่าน (劉纂) และจูอี้ในการต้านการบุกของวุยก๊กในภูมิภาคโดยรอบแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ) และแม่น้ำซื่อ (泗河 ซื่อเหอ) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลอานฮุย[16][17] ในปีเดียวนั้น หลังซุนจุ๋นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของง่อก๊กเสียชีวิต ต๋องจูเข้าด้วยฝ่ายซุนหลิมลูกพี่ลูกน้องของซุนจุ๋นในการต่อสู้ชิงอำนาจและสังหารลิกี๋ จึงเป็นการเปิดทางให้ซุนหลิมขึ้นสิบตำแหน่งของซุนจุ๋นในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของง่อก๊ก[18][19]

ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย) จูกัดเอี๋ยนส่งจูกัดเจ้งบุตรชายไปง่อก๊กเป็นตัวประกันเพื่อขอแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนจากง่อก๊กในการต้านวุยก๊ก ในปีถัดมาซุนหลิมสั่งให้บุนขิม, ต๋องจู, จวนเต๊ก (全懌 เฉฺวียน อี้), จวนตวน (全端 เฉฺวียน ตฺวาน), หวาง จั้ว (王祚) และคนอื่น ๆ ให้นำกำลังพล 30,000 นายไปฉิวฉุนเพื่อช่วยเหลือจูกัดเอี๋ยนในการก่อกบฏต่อต้านทัพวุยก๊กที่นำโดยสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊ก[20] เมื่อจูกัดเอี๋ยนตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในช่วงต้นปี ค.ศ. 258 จูกัดเอี๋ยนและต๋องจูพยายามตีฝ่าวงล้อมแต่ล้มเหลว หลังจากนั้นทั้งคู่ถูกทัพวุยก๊กจับกุมได้ ต๋องจูยินยอมจำนนและแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก สุมาเจียวแต่งตั้งให้ต๋องจูเป็นขุนพลสงบแดนไกล (安遠將軍 อาน-ยฺเหวี่ยนเจียงจฺวิน) สุมาเจียวปฏิบัติต่อทหารง่อก๊กที่ยอมสวามิภักดิ์เป็นอย่างดี ในด้านหนึ่งราชสำนักง่อก๊กก็ไม่ได้ทำอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัวของต๋องจูที่ยังคงอยู่ในง่อก๊กในขณะที่ต๋องจูแปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊ก[21]

ในปี ค.ศ. 262 เมื่อสุมาเจียวกำลังวางแผนการบุกจ๊กก๊กที่เป็นอีกหนึ่งรัฐอริของวุยก๊ก สุมาเจียวมอบหมายให้ต๋องจูกำกับดูแลการสร้างเรือรบเพื่อใช้ในการรบกับง่อก๊กในภายหลัง[22] ไม่มีการบันทึกถึงต๋องจูอีกในประวัติศาสตร์ช่วงหลังจากนั้น

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย