ซากูระ (จังหวัดชิบะ)

นครในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น

ซากูระ (ญี่ปุ่น: 佐倉市โรมาจิSakura-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ 103.69 ตารางกิโลเมตร (40.03 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 มีจำนวนประชากร 164,752 คน มีความหนาแน่นของประชากร 1,589 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]

ซากูระ

佐倉市
ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากบน
  • อพาร์ตเมนต์คอมเพล็กซ์ในย่านยูการิงาโอกะ
  • จัตุรัสซากูระฟูรูซาโตะ
  • สถานพำนักเก่าของมาซาโตโมะ ฮตตะ
  • พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น
  • อุทยานซากปราสาทซากูระ
  • โรงเรียนมัธยมปลายซากูระ
ธงของซากูระ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของซากูระ
ตรา
ที่ตั้งของซากูระ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดชิบะ
ที่ตั้งของซากูระ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดชิบะ
แผนที่
ซากูระตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ซากูระ
ซากูระ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°43′N 140°13′E / 35.717°N 140.217°E / 35.717; 140.217
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัด ชิบะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีซังโงะ นิชิตะ (西田 三十五)
พื้นที่
 • ทั้งหมด103.69 ตร.กม. (40.03 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด164,752 คน
 • ความหนาแน่น1,589 คน/ตร.กม. (4,120 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์043-484-1111
ที่อยู่97, Kairinjimachi, Sakura-shi, Chiba-ken 285-8501
97 ไครินจิมาจิ นครซากูระ จังหวัดชิบะ 285-8501
รหัสท้องถิ่น12212-2
เว็บไซต์www.city.sakura.chiba.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้ฮานาโชบุ (Iris ensata var. ensata)
ต้นไม้ซากูระ

ภูมิศาสตร์

นครซากูระตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะบนที่ราบสูงชิโมซะ[3] ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของโตเกียวห่างไปประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ 15 กิโลเมตร นครชิบะซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ทางทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครซากูระห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร ทางทิศเหนือของนครซากูระมีทะเลสาบอิมบะเป็นเส้นแบ่งอาณาเขต[4][5]

เทศบาลข้างเคียง

ภูมิอากาศ

ซากูระมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในซากูระอยู่ที่ 14.8 °C (58.6 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,455.9 มิลลิเมตร (57.32 นิ้ว) โดยเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.3 °C (79.3 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 3.7 °C (38.7 °F)[6]

สถิติประชากร

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[8] ประชากรของนครซากูระเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และคงที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1960 36,869—    
1970 60,068+62.9%
1980 101,180+68.4%
1990 144,688+43.0%
2000 170,934+18.1%
2010 172,183+0.7%
2020 168,743−2.0%

ประวัติศาสตร์

เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 เมืองซากูระเป็นหนึ่งในเมืองและหมู่บ้านหลายแห่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นภายในอำเภออิมบะ จังหวัดชิบะ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1954 เมืองซากูระได้รับการยกฐานะเป็นนคร โดยการควบรวมเทศบาลข้างเคียง ได้แก่ เมืองอูซูอิ หมู่บ้านวาดะ หมู่บ้านเนโง หมู่บ้านยาโตมิ และหมู่บ้านชิซุ[3]

การเมืองการปกครอง

ศาลาว่าการนครซากูระ

นครซากูระมีรูปแบบการบริหารแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภาเทศบาลนครระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 28 คน นครซากูระเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิก 3 คนในสภาจังหวัดชิบะ ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครซากูระเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดชิบะที่ 9 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

ซากูระเป็นศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้ และเนื่องจากมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อจำนวนมาก จึงเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของผู้ที่เดินทางไปทำงานในชิบะและโตเกียวที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 24 ที่เดินทางไปทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ ตามสำมะโนประชากร ค.ศ. 2010

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย