ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายู

ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายู (สิงหล: ශ්‍රී ලාංකා මැලේ, อักษรโรมัน: Ja Minissu, แปลตรงตัว'ชาวชวา'; ทมิฬ: இலங்கை மலாய், อักษรโรมัน: Ilaṅkai Malai) เป็นชาวศรีลังกาที่มีเชื้อสายมลายูจากอินโดนีเซียและหมู่เกาะมลายู (ส่วนมากมีเชื้อสายชวา) มีประชากรราว 40,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของประชากรทั้งหมด และเป็นชาติพันธุ์หลักหนึ่งในห้าของประเทศศรีลังกา

ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายู
ශ්‍රී ලංකා මැලේ
இலங்கை மலாய்
ชายมลายูและบุตรในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ประชากรทั้งหมด
40,189 คน[1]
(ร้อยละ 0.2 ของประชากร) (ค.ศ. 2012)[A]
ไม่รวมชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูมีบรรพบุรุษย้อนหลังไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13[B]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จังหวัดตะวันตก24,718 คน
จังหวัดใต้8,343 คน
จังหวัดกลาง2,889 คน
จังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ1,675 คน
ภาษา
ภาษามลายูศรีลังกา · ภาษาสิงหล
บางส่วนใช้ภาษาทมิฬ และอังกฤษ
ศาสนา
อิสลาม · พุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ชวา
  • มลายู
  • มัวร์
  • บูกิส
  • ปรีบูมีอื่น ๆ

ประวัติ

ชาวมลายูเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะลังกาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 คือพระเจ้าจันทรภาณุแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ สามารถพิชิตเกาะลังกาตอนเหนือได้เมื่อ ค.ศ. 1247 โดยผู้ติดตามของพระองค์สมรสกับประชากรในท้องถิ่น[3] บุคคลเชื้อสายมลายูกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและสมรสข้ามกลุ่มกับชาวสิงหล[2] นักวิชาการศรีลังการะบุว่าชาวสิงหลจำนวนไม่น้อยมีเชื้อสายหรือบรรพบุรุษเป็นมลายู[2]

หลังจากนั้นหลายศตวรรษต่อมามีคลื่นผู้อพยพกลุ่มแรกเป็นชาวมลายูจากหมู่เกาะอินโดนีเซียเข้าอาศัยบนเกาะลังกาในช่วงที่ทั้งศรีลังกาและอินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของดัตช์ และคลื่นผู้อพยพกลุ่มที่สอง มาจากคาบสมุทรมลายูอพยพเข้าไปในช่วงที่ศรีลังกาและมลายาเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน[2]

ภาษา

ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูมีภาษาเฉพาะกลุ่ม คือภาษามลายูศรีลังกา มีรูปแบบเป็นภาษาลูกผสมระหว่างภาษาสิงหลและโศนัม (ภาษาทมิฬมุสลิมในศรีลังกา) โดยมีภาษามลายูเป็นพื้น (lexifier)[4] เชื่อว่าสำเนียงใกล้เคียงกับภาษามลายูถิ่นบาตาเวีย[5] พบได้ในชุมชนเชื้อสายมลายูในเมืองแคนดีในจังหวัดกลาง เมืองฮัมบันโตตาและคิรินเดในจังหวัดใต้ เกาะสเลฟในจังหวัดตะวันตก และพบผู้พูดกลุ่มใหญ่ทางตอนเหนือของกรุงโคลัมโบ[4] แต่ชาวมลายูในเมืองคินนิยาและมูตูร์เลิกพูดมลายูไปแล้ว โดยหันไปพูดภาษาทมิฬและมัวร์ทมิฬแทน[6] และยังพบผู้ใช้ภาษานี้ในชุมชนเชื้อสายสิงหลในเมืองฮัมบันโตตา (Hambantota)[7]

นอกจากภาษามลายูศรีลังกาแล้ว ชาวมลายูสามารถใช้ภาษาสิงหลและทมิฬได้ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ จากการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อ ค.ศ. 2012 พบว่า ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูพูดภาษาทมิฬ 28,975 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 79.2 และพูดภาษาอังกฤษ 24,202 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 66.2[8]

ศาสนา

ชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกันกับชาวมลายูในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีการสร้างมัสยิดตามชุมชนที่ตนอาศัย[9] อย่างในกรณีโมฮัมมัด บาลันกายา (Mohammed Balankaya) เจ้านายผู้ลี้ภัยแห่งราชวงศ์โกวา (ปัจจุบันคือเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย) ร่วมก่อสร้างมัสยิดใหญ่แห่งศรีลังกา[10] ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวมุสลิมบนเกาะลังกา[11]

นอกจากนี้ยังมีชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูบางส่วนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธที่เกิดขึ้นจากการสมรสข้ามชาติพันธุ์[2]

ชื่อบุคคล

ชื่อของชาวศรีลังกาเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่เป็นภาษาสันสกฤต ใกล้เคียง (หรือเหมือนกับ) ชื่อบุคคลที่ชาวสิงหลใช้[12][13] นามสกุลที่ปรากฏอยู่ทั่วไป เช่น จายะห์ (Jayah, จาก "ชย"), วีราบังซา (Weerabangsa, จาก "วีรวํศ"), ซินฮาวังซา (Sinhawangsa, จาก "สิงฺหวํศ"), ซินฮาวันซา (Sinhawansa, จาก "สิงฺหวํศ"), จายาวังซา (Jayawangsa, จาก "ชยวํศ"), ซินฮาลักซานา (Singalaxana, จาก "สิงฺหลกฺษณ"), บังซาจายะห์ (Bangsa Jayah, จาก "วํศชย") และ วังซา (Wangsa, จาก "วํศ")[12] นามสกุลที่เป็นมลายูดั้งเดิม ได้แก่ ลี (Lye), จุนจี (Chunchie), ปรีนา (Preena), ฮันนัน (Hannan), ซัลเลย์ (Sallay), ดูเล (Doole), กิตจีลัน (Kitchilan), กูตีนุน (Kutinun), กันจิล (Kanchil), ไซนน (Sainon), บงโซ (Bongso), โบโฮรัน (Bohoran), กุปเปิน (Kuppen) และ ลัปเปิน (Lappen)[12] และนามสกุลที่เป็นภาษาอาหรับ ได้แก่ ซัลดิน (Saldin), อัซซัน (Assan), ระฮ์มัน (Rahman), ดราฮามัน (Drahaman), บักเกอร์ (Bucker), รัมลัน (Ramlan), ราจัป (Rajap), จูมัต (Jumat) และ มันนัน (Mannan)[12]

ส่วนคำนำหน้านามแบบมลายูดั้งเดิม ได้แก่ ตูวัน (Tuan) มาซ (Maas) และราเดน (Raden) สำหรับเพศชาย และ เญ (Gnei) โนนา (Nona) และโญญา (Gnonya) สำหรับผู้หญิง นำหน้าชื่อตัว[12][13]

เชิงอรรถ

หมายเหตุ
อ้างอิง
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย