จักรวรรดิซิลูซิด

จักรวรรดิซิลูซิด (อังกฤษ: Seleucid Empire; กรีกโบราณ: Βασιλεία τῶν Σελευκιδῶν, อักษรโรมัน: Basileía tōn Seleukidōn) เป็นรัฐอารยธรรมกรีกที่ดำรงอยู่ระหว่าง 312–63 ปีก่อนคริสตกาล มีเมืองหลวงคือซิลูเซียและแอนติออก จักรวรรดินี้ถูกสถาปนาโดยซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์ หลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอาของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล การแบ่งดินแดนนี้ทำให้ซิลูคัสได้ครอบครองบาบิโลเนีย ก่อนจะขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนจรดแม่น้ำสินธุ จักรวรรดิซิลูซิดในช่วงเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่อานาโตเลียกลาง ลิแวนต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน ไปจนถึงบางส่วนของปากีสถานในปัจจุบัน[7]

จักรวรรดิซิลูซิด

Βασιλεία τῶν Σελευκιδῶν
Basileía tōn Seleukidōn
312 ปีก่อน ค.ศ.–63 ปีก่อน ค.ศ.
เหรียญเงินของซิลูคัสที่ 1 สลักรูปหัวม้า ช้างและสมอ สัญลักษณ์ของราชาธิปไตยซิลูซิด[1][2]ของซิลูซิด
เหรียญเงินของซิลูคัสที่ 1 สลักรูปหัวม้า ช้างและสมอ สัญลักษณ์ของราชาธิปไตยซิลูซิด[1][2]
จักรวรรดิซิลูซิด (สีน้ำเงิน) ใน 281 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนการปลงพระชนม์ของซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์
จักรวรรดิซิลูซิด (สีน้ำเงิน) ใน 281 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนการปลงพระชนม์ของซิลูคัสที่ 1 ไนเคเตอร์
เมืองหลวง
  • ซิลูเซีย (305–240 ปีก่อน ค.ศ.)
  • แอนติออก (240–63 ปีก่อน ค.ศ.)
  • ลีซีมาเชีย (เมืองหลวงรอง และโดยพฤตินัย, ทศวรรษ 190 ก่อน ค.ศ.)[3]
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
บาซิเลวส์ 
• 305–281 ปีก่อน ค.ศ.
ซิลูคัสที่ 1 (แรก)
• 65–63 ปีก่อน ค.ศ.
ฟิลิปที่ 2 (สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยเฮลเลนิสต์
• สงครามไดแอโดไค
312 ปีก่อน ค.ศ.
301 ปีก่อน ค.ศ.
192–188 ปีก่อน ค.ศ.
• สนธิสัญญาแอพาเมีย
188 ปีก่อน ค.ศ.
167–160 ปีก่อน ค.ศ.
• ถูกผนวกโดยโรม
63 ปีก่อน ค.ศ.
พื้นที่
303 ปีก่อน ค.ศ.[6]3,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,200,000 ตารางไมล์)
301 ปีก่อน ค.ศ.[6]3,900,000 ตารางกิโลเมตร (1,500,000 ตารางไมล์)
240 ปีก่อน ค.ศ.[6]2,600,000 ตารางกิโลเมตร (1,000,000 ตารางไมล์)
175 ปีก่อน ค.ศ.[6]800,000 ตารางกิโลเมตร (310,000 ตารางไมล์)
100 ปีก่อน ค.ศ.[6]100,000 ตารางกิโลเมตร (39,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิมาเกโดนีอา
จักรวรรดิโมริยะ
โรมันซีเรีย
จักรวรรดิพาร์เธีย
ราชอาณาจักรกรีก-แบคเตรีย
ราชอาณาจักรแฮสโมเนีย
ออสโรอีน
ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
Faravahar background
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
ก่อน อิสลาม
ก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมก่อนเอลาไมท์3200–2800
จักรวรรดิเอลาไมท์2800–550
แหล่งโบราณคดีบัคเตรีย-มาร์เกียนา2200–1700
ราชอาณาจักรมานไนศตวรรษที่ 10-7
จักรวรรดิมีเดีย728–550
จักรวรรดิอคีเมนียะห์550–330
จักรวรรดิซิลูซิด330–150
ราชอาณาจักรกรีก-บัคเตรีย250-125
จักรวรรดิพาร์เธีย248–ค.ศ.  224
หลังคริสต์ศักราช
จักรวรรดิกุษาณะ30–275
จักรวรรดิซาสซานิยะห์224–651
จักรวรรดิเฮพธาไลท์425–557
เฮพธาไลท์-กุษาณะ565–670
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์864–928
จักรวรรดิซัฟฟาริยะห์861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์975–1187
จักรวรรดิกอร์1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์1231-1389
จักรวรรดิข่านอิล1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์1339–1432
ราชวงศ์เตมือร์1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ1722–1738
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่
สสซ = สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
จักรวรรดิดุรรานี1747–1823
เอมิเรตอัฟกานิสถาน1823–1929
อิทธิพลของบริติชและรัสเซีย1826–1919
อิสรภาพและสงครามกลางเมือง1919–1929
สมัยปกครองของมุฮัมมัดเมดไซ1929–1973
สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน1973–1978
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน1978–1992
ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานสมัยปัจจุบันตั้งแต่ 1992
ลำดับเหตุการณ์
อาณาจักรข่านแห่งคอเคซัส1722–1828
ภายใต้การปกครองของรัสเซีย1828–1917
สาธารณรัฐประชาธิปไตย1918–1920
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต1920–1991
สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ 1991
ราชวงศ์ซานด์1750–1794
ราชวงศ์กอญัร1781–1925
ราชวงศ์ปาห์ลาวี1925–1979
การปฏิวัติอิหร่าน1979
รัฐบาลชั่วคราว1979
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านตั้งแต่ 1979
อีรักออตโตมัน1632–1919
กษัตริย์ฮาชิไมท์1920–1958
การปฏิวัติและสาธารณรัฐ1958–2003
สาธารณรัฐอิรักตั้งแต่ 2004
เอมิเรตบูคารา1785–1920
สาธารณรัฐประชาชนโซเวียตบุฮารา / อุซเบก1920–1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอิสระทาจิก1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก1929–1991
สาธารณรัฐทาจิกิสถานตั้งแต่ 1991

เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคตอย่างกะทันหันใน 323 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัส หนึ่งในไดแอโดไค (ผู้ใกล้ชิดอเล็กซานเดอร์) ให้การสนับสนุนเพอร์ดิกคัส ผู้สำเร็จราชการแทนพีลิปโปสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา ลูกพี่ลูกน้องของอเล็กซานเดอร์ผู้ไม่สมประกอบซึ่งได้รับเลือกเป็นรัชทายาท การขึ้นสู่อำนาจของเพอร์ดิกคัสทำให้เกิดความขัดแย้งกับไดแอโดไคคนอื่น ๆ จนเกิดเป็นสงครามที่กินเวลายาวนานเกือบ 50 ปี[8] ต่อมาเมื่อเพอร์ดิกคัสถูกสังหารโดยบันทึกบางแห่งระบุว่าซิลูคัสอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง[9] ซิลูคัสได้รับตำแหน่งเซแทร็ปแห่งบาบิโลน[10] และร่วมมือกับแอนติโกนัสที่ 1 มอน็อพธาลมอส หนึ่งในไดแอโดไคผู้มีอำนาจสูงสุด แต่ภายหลังความสัมพันธ์ของทั้งคู่ตกต่ำจนซิลูคัสต้องลี้ภัยไปที่อียิปต์ก่อนจะกลับมาทำสงครามกับแอนติโกนัส และสร้างฐานอำนาจในบาบิโลน มีเดียและเอลาม[11] ใน 305 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัสขยายดินแดนไปทางตะวันออกจนปะทะกับกองทัพของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะแห่งราชวงศ์โมริยะในอินเดีย ทั้งสองทำสงครามกันนาน 2 ปี ก่อนซิลูคัสจะยอมหย่าศึกเพื่อยกทัพไปช่วยคาสแซนเดอร์และไลซีมาคัสรบกับแอนติโกนัสในยุทธการที่อิปซัส ชัยชนะในยุทธการที่อิปซัสทำให้จักรวรรดิมั่นคงยิ่งขึ้น 281 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูคัสรบชนะไลซีมาคัสในยุทธการที่คอรูเปเดียม ทำให้จักรวรรดิซิลูซิดมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาอาณาจักรไดแอโดไคทั้งหมด[12]

จักรวรรดิซิลูซิดดำรงต่อไปจนกระทั่งขัดแย้งกับสาธารณรัฐโรมัน กลายเป็นสงครามโรมัน–ซิลูซิดใน 192 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ บวกกับสงครามกับจักรวรรดิพาร์เธีย การลุกฮือของชาวยิว และความขัดแย้งภายใน ทำให้จักรวรรดิซิลูซิดอ่อนแอลง[13] กลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิซิลูซิดถูกพิชิตโดยจักรพรรดิมิทริเดทีสที่ 1 แห่งพาร์เธีย ในขณะที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของจักรวรรดิแยกออกไปเป็นราชอาณาจักรกรีก-แบคเตรีย อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ราชวงศ์ซิลูซิดยังคงปกครองดินแดนที่หลงเหลืออยู่ในซีเรีย จนกระทั่งถูกสมเด็จพระเจ้าไทกราเนสมหาราชโจมตีใน 83 ปีก่อนคริสตกาล และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโรมโดยปอมปีย์ใน 63 ปีก่อนคริสตกาล[14]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย