คิโยซุ

นครในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น

คิโยซุ (ญี่ปุ่น: 清須市โรมาจิKiyosu-shi) เป็นนครในจังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น

คิโยซุ

清須市
ปราสาทคิโยซุ
ปราสาทคิโยซุ
ธงของคิโยซุ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของคิโยซุ
ตรา
ที่ตั้งของคิโยซุ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไอจิ
ที่ตั้งของคิโยซุ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไอจิ
คิโยซุตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คิโยซุ
คิโยซุ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°11′59.3″N 136°51′10.3″E / 35.199806°N 136.852861°E / 35.199806; 136.852861
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ, โทไก
จังหวัด ไอจิ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีซูมิโอะ นางาตะ (永田 純夫; ตั้งแต่ ค.ศ. 2017)
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.35 ตร.กม. (6.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023)[1]
 • ทั้งหมด67,137 คน
 • ความหนาแน่น3,870 คน/ตร.กม. (10,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น23233-5
ศาลาว่าการ
 • โทรศัพท์052-400-2911
 • ที่อยู่1238 Sukaguchi, Kiyosu-shi, Aichi-ken 452-8569
เว็บไซต์www.city.kiyosu.aichi.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้ทิวลิป, ซากูระ
ต้นไม้ด๊อกวู้ด (Cornus florida)

ในยุคคามากูระ คิโยซุเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสัญจรระหว่างเมืองคามากูระและเกียวโต โดยมีศาลเจ้าใหญ่อิเซะเป็นจุดแวะพัก จนกระทั่งในยุคมูโรมาชิ ก็มีการสร้างปราสาทคิโยซุขึ้น ซึ่งได้กลายเป็นฐานที่มั่นของตระกูลโอดะ ในยุคเซ็งโงกุ ขุนพลโอดะ โนบูนางะได้ใช้ปราสาทแห่งนี้ในการปกครองแคว้นโอวาริ เมื่อเข้าสู่ยุคเอโดะ โชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุก็ได้บัญชาให้รื้อปราสาทคิโยซุไปตั้งไว้ที่เมืองนาโงยะ ส่วนปราสาทคิโยซุในปัจจุบันนี้ เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อ ค.ศ. 1989

ภูมิศาสตร์

ใจกลางคิโยซุ

คิโยซุตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดไอจิ อยู่ในส่วนตะวันตกของที่ราบโนบิ อยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำโชไน มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับนครนาโงยะ พื้นที่ส่วนใหญ่มีความสูงไม่เกิน 10 เมตรจากระดับน้ำทะเล

เทศบาลข้างเคียง

ภูมิอากาศ

คิโยซุมีลักษณะภูมิอากาศคือ มีฤดูร้อนที่ร้อนและชื้น และฤดูหนาวที่ไม่รุนแรง (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในคิโยซุอยู่ที่ 15.8 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1688 มิลลเมตร โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยจะอยู่ในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 28.1 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 4.4 °C[2]

ประชากร

ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของคิโยซุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1950 36,294—    
1960 46,433+27.9%
1970 59,752+28.7%
1980 61,138+2.3%
1990 61,578+0.7%
2000 63,009+2.3%
2010 65,864+4.5%

การขนส่ง

รถไฟ

สายธรรมดา

  • บริษัทรถไฟญี่ปุ่นกลาง
  • เมเต็ตสึ
    • สายหลักนาโงยะ (สถานี: – นิชิบิวาจิมะ – ฟูตัตสึอิริ – ชิงกาวาบาชิ – ซูกางูจิ – มารูโนอูจิ – ชิงคิโยซุ – )
    • สายอินูยามะ (สถานี: – ชิโมะโอตาอิ – )
    • สายสึชิมะ (สถานี: ซูกางูจิ – )

ถนน

ทางด่วน

  • ทางด่วนเมนิกัง (ทางด่วนวงแหวนรอบสองนาโงยะ)
  • ทางด่วนนาโงยะหมายเลข 6 สายคิโยซุ
  • ทางด่วนนาโงยะหมายเลข 16 สายอิจิโนมิยะ

ทางหลวงแผ่นดิน

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302

บุคคลที่มีชื่อเสียง

  • โยชิโอะ อิชิดะ (石田 芳夫) - ผู้เล่นโกะมืออาชีพ
  • อาอิ คาโตะ (加藤 あい) - นักแสดงและนางแบบ
  • อากิระ โทริยามะ (鳥山 明) - นักวาดมังงะ นักออกแบบเกมและตัวละคร ผู้สร้างดราก้อนบอล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย