คาวาซากิ (จังหวัดมิยางิ)

เมืองในอำเภอชิบาตะ จังหวัดมิยางิ ประเทศญี่ปุ่น

คาวาซากิ (ญี่ปุ่น: 川崎町โรมาจิKawasaki-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอชิบาตะ จังหวัดมิยางิ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2024 เมืองนี้มีจำนวนประชากรประมาณ 7,818 คน มีความหนาแน่นของประชากร 28.9 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 270.77 ตารางกิโลเมตร (104.54 ตารางไมล์)

คาวาซากิ

川崎町
ทะเลสาบคามาฟูซะ และสะพานคามาฟูซะโอฮาชิ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 286
ทะเลสาบคามาฟูซะ และสะพานคามาฟูซะโอฮาชิ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 286
ธงของคาวาซากิ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของคาวาซากิ
ตรา
ที่ตั้งของคาวาซากิ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดมิยางิ
ที่ตั้งของคาวาซากิ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดมิยางิ
แผนที่
คาวาซากิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คาวาซากิ
คาวาซากิ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 38°10′40.4″N 140°38′23″E / 38.177889°N 140.63972°E / 38.177889; 140.63972
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
จังหวัด มิยางิ
อำเภอชิบาตะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลเมือง
 • นายกเทศมนตรีชูซากุ โอยามะ (小山修作)
พื้นที่
 • ทั้งหมด270.77 ตร.กม. (104.54 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด7,818 คน
 • ความหนาแน่น28.9 คน/ตร.กม. (75 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้Enkianthus perulatus
 • ดอกไม้Rhododendron subg. Hymenanthes
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น04324-9
โทรศัพท์0224-55-2111
ที่อยู่ศาลาว่าการMaekawa Urate 175-1, Kawasaki-machi, Shibata-gun, Miyagi-ken 989-1592
เว็บไซต์www.town.kawasaki.miyagi.jp

ภูมิศาสตร์

คาวาซากิตั้งอยู่ในจังหวัดมิยางิทางตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับเทือกเขาโออุทางทิศตะวันตก มีภูเขาซาโอ (ความสูง 1840.8 เมตร) ซึ่งส่วนหนึ่งตั้งอยู่ภายในอาณาเขตเมืองคาวาซากิ พื้นที่ของเมืองประมาณร้อยละ 85 มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา

เทศบาลข้างเคียง

ภูมิอากาศ

คาวาซากิมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะคือฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในคาวาซากิอยู่ที่ 11.0 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,318 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 24.1 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ -0.9 °C[2]

ประชากร

จากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของคาวาซากิลดลงในช่วงตลอด 70 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1950 13,137—    
1960 12,981−1.2%
1970 10,344−20.3%
1980 10,636+2.8%
1990 10,797+1.5%
2000 10,871+0.7%
2010 9,978−8.2%
2020 8,345−16.4%

ประวัติศาสตร์

พื้นที่คาวาซากิในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมุตสึ และเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาเซ็นไดภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในสมัยเอโดะ

เมื่อมีการจัดตั้งระบบเทศบาล หมู่บ้านคาวาซากิได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 เมืองคาวาซากิได้ควบรวมกับเมืองโทมิโอกะและหมู่บ้านฮาเซกูระที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1955

การเมืองการปกครอง

ศาลาว่าการเมืองคาวาซากิ

คาวาซากิมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเมืองซึ่งเป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิก 13 คน ในการเมืองระดับจังหวัด เมืองคาวาซากิกับเทศบาลอื่น ๆ ในอำเภอชิบาตะ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดมิยางิจำนวน 2 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งมิยางิที่ 3 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของคาวาซากิส่วนใหญ่จะเป็นการเกษตรและการป่าไม้

การศึกษา

คาวาซากิมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 4 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 2 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาประจำจังหวัดมิยางิ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่ง

การขนส่ง

รถไฟ

คาวาซากิไม่มีรถไฟโดยสารให้บริการ

ทางหลวง

  • ทางด่วนยามางาตะ: ทางแยกต่างระดับมิยางิ-คาวาซากิ และทางแยกต่างระดับซาซายะ
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 286
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 457

สถานที่ที่น่าสนใจ

  • เขื่อนคามาฟูซะ
  • แหล่งปราสาทคาวาซากิ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย