คอลิด อิบน์ อัลวะลีด

อะบู สุไลมาน คอลิด อิบน์ อัลวะลีด อิบน์ อัลมุฆีเราะฮ์ อัลมัคซูมี (อาหรับ: أبو سليمان خالد بن الوليد بن المغيرة المخزومي‎; 585–642) รู้จักกันในชื่อ ซัยฟุลลอฮ์ อัลมัสลูล (อาหรับ: سيف الله المسلول; ดาบแห่งแสงอรุณของอัลลอฮ์) เป็นผู้ติดตามของมุฮัมมัด เขาเป็นผู้มีทักษะในการรบและเป็นผู้บัญชาการภายใต้การควบคุมของมุฮัมมัด, อบูบักร์ และอุมัร[1] คอลิดได้สู้รบมากกว่า 100 สนามรบ ในระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์, จักรวรรดิแซสซานิด และกบฏในจักรวรรดิเคาะลีฟะฮ์ในช่วงปี ค.ศ. 632 ถึงปี ค.ศ. 636[2] จนกระทั่งในปีค.ศ. 638 เขาถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารในระหว่างที่คอลิดเป็นผู้บัญชาการนั้น เขาได้ฐานะเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่ไม่เคยแพ้สงครามของโลก[3][4]

คอลิด อิบน์ อัลวะลีด
خالد بن الوليد
เกิด585
มักกะฮ์ คาบสมุทรอาหรับ
เสียชีวิตพฤษภาคม 642 (57 ปี)
ฮอมส์ รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน บิลาด อัช-ชาม ปัจจุบันคือประเทศซีเรีย
สุสาน
มัสยิดคอลิด อิบน์ อัลวะลีด ฮอมส์ ประเทศซีเรีย
รับใช้รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
แผนก/สังกัดRashidun army
ประจำการมิถุนายน 632– 638
ชั้นยศจอมทัพ
หน่วยกองกำลังเคลื่อนที่
บังคับบัญชาจอมทัพ (632–634)
แม่ทัพทหารราบ (634–638)
แม่ทัพของกองกำลังเคลื่อนที่ (634–638)
ผู้บัญชาการทหารประจำเมืองอิรัก (633–634)
ผู้ว่าราชการเมิองกินนัสริน (637–638)

ชีวิตช่วงต้น

คอลิดเกิดในปี ค.ศ. 585 ในเมืองมักกะฮ์ พ่อของเขาชื่อวะลีด อิบน์ อัลมุฆีรอ ผู้นำของเผ่าบนูมัคซูม[5] แม่ของเขาชื่อลูบาบะฮ์ อัลซุครอ บินต์ อัลฮาริษ[6]

หลังจากที่เขาเกิด รายงานจากประเพณีชาวกุเรช คอลิดถูกส่งไปยังแม่นมชาวเบดูอินกลางทะเลทราย จนกระทั่งอายุ 5 - 6 ปี เขาถูกนำกลับบ้านที่มักกะฮ์ ในขณะที่ยังเป็นเด็กนั้นเขาเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส ซึ่งเขารอดมาได้ แต่ได้ทิ้งร่องรอยบนแก้มซ้ายของเขา[7]

สมัยมุฮัมมัด (ค.ศ. 610–632)

ก่อนเข้ารับอิสลาม

ไม่มีใครรู้ว่าคอลิดเป็นอย่างไรก่อนที่จะเข้ารับอิสลาม แต่มีรายงานว่าคอลิดไม่ได้เข้าร่วมสงครามบะดัร หลังจากนั้นเขานำชัยชนะให้กับชาวมักกะฮ์ในสงครามอุฮุด (ค.ศ. 625)[8] และสงครามสุดท้ายที่เข้าร่วมกับชาวกุเรชคือสงครามสนามเพลาะในปี ค.ศ. 627[9]

หลังจากสงครามบะดัรคอลิดและฮาชาม อิบน์ วะลีด ไปที่มะดีนะฮ์เพื่อจ่ายค่าไถ่วะลีด อิบน์ วะลีด แต่หลังจากนั้นวะลีดได้กลับมักกะฮ์แล้ว เขาได้หลบหนีไปยังมะดีนะฮ์เพื่อเข้ารับอิสลาม[10]

เข้ารับอิสลาม

หลังจากทำสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์ในปีค.ศ. 628 มีรายงานว่าศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวกับวะลีด อิบน์ วะลีดว่า: "คนอย่างคอลิด ไม่สามารถอยู่ห่างจากอิสลามได้นานแน่"[11] วะลีดได้เขียนจดหมายไปยังคอลิดเพื่อเข้ารับอิสลาม คอลิดตัดสินใจเข้ารับอิสลามและได้พูดเรื่องนี้ให้กับอิกริมะฮ์ อิบน์ อบีญะฮัล คอลิดถูกทำร้ายโดยอบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ แต่ถูกอิกริมะฮ์ขวางและพูดว่า: "ระวังให้ดี โอ้ อบูซุฟยาน! ความโกรธของเจ้าอาจจะนำฉันเข้าร่วมกับมุฮัมมัด คอลิดจะนับศาสนาอะไรก็ได้ตามที่เขาต้องการ"[12]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 629 คอลิดเริ่มเดินทางไปมะดีนะฮ์ แล้วพบกับอัมร์ อิบน์ อัลอาสและอุสมาน อิบน์ ฏอลฮะฮ์ ที่กำลังไปมะดีนะฮ์เพื่อเข้ารับอิสลามด้วย พวกเขามาถึงมะดีนะฮ์ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 629[13]

คอลิดได้ทักทายมูฮัมหมัดและสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อท่าน มุฮัมมัดจึงกล่าวกับคอลิดว่า:

ฉันแน่ใจว่า...ปัญญาและความหวังของเจ้าทำให้วันหนึ่งต้องรับอิสลามเป็นศาสนาของตนเอง[14]

— ศาสดามุฮัมมัด

การทหารในสมัยมุฮัมมัด

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 629 ได้มีการเคลื่อนทัพไปรบที่คอสซานิด รัฐประเทศราชของจักรวรรดิโรมันตะวันออก โดยก่อสงครามมุตอะฮ์ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาวมุสลิมและกองทัพของจักรวรรดิไบเซนไทน์ มุฮัมมัดได้ให้ซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์เป็นแม่ทัพ ถ้าซัยด์เสียชีวิต ญะฟัร อิบน์ อบีฏอลิบจึงรับหน้าที่ต่อ ถ้าญะฟัรเสียชีวิต อับดุลลอฮ์ อิบน์ รอวาฮะฮ์จึงรับหน้าที่ต่อ ถ้าทั้งสามถูกฆ่าแล้ว ให้เลือกคนที่เหมาะสมเอง[15] ตอนที่สู้รบนั้น แม่ทัพทั้งสามถูกฆ่าหมดแล้ว พวกเขาจึงเลือกคอลิดมารับหน้าที่นี้ต่อ แล้วสู้รบจนชนะ[16]

หลังจากเหตุการณ์ยึดครองมักกะฮ์ในปี ค.ศ. 630 คอลิดได้นำกองทัพไปสู้รบในสงครมฮุนัยน์และฏออิฟ จนชนะการต่อสู้ คอลิดได้รับบาดแผลขนาดใหญ่ในตอนสู้รบ มุฮัมมัดได้มาเยี่ยมเขาแล้วบอกว่าขอให้หายเร็วๆ[17]

เขาได้เข้าร่วมที่ตะบูกภายใต้การนำทัพโดยมุฮัมมัด คอลิดถูกส่งไปที่ดุมาตุลญันดัลพร้อมกับต่อสู้และจับเจ้าชายแห่งดุมาตุลญันดัล พร้อมกับบังคับให้ทำสัญญา[18]

การทหารขณะเป็นผู้บัญชาการ

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 630 (เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.8)[19]คอลิดถูกส่งให้ไปทำลายเทวรูปอัลอุซซา[20][21] แล้วสังหาร์ผู้หญิงที่มุฮัมมัดบอกว่านั่นคืออัลอุซซา[22]

คอลิดถูกส่งไปที่เผ่าบนูญาดิมะฮ์ให้เข้ารับอิสลาม พวกเขากล่าวว่า ซาบะอฺนา ซาบะอฺนา (เรามาจากสะบาอ์) แต่คอลิดเข้าใจผิด จึงกักขังและทรมานพวกเขาจนอับดุลรอฮ์มาน อิบน์ เอาฟ์ต้องบอกให้หยุด[20][21][23][24][25] มุฮัมมัดรู้สึกเสียใจเกี่ยวกับการกระทำของเขา แล้วจ่ายสินไหมให้กับคนในครอบครัวที่เสียชีวิตและทรัพยสินที่ถูกทำลาย พร้อมกับพูดว่า: "โอ้อัลลอฮ์ ฉันบริสุทธิ์ (ไม่ได้เกี่ยวข้อง) กับสิ่งที่คอลิด อิบน์ วะลีดทำลงไป!"[26][27][28]

มุฮัมมัดได้ส่งคอลิดไปที่ดุมาตุลญันดัลเพื่อโจมตีปราสาทของเจ้าชายอุกัยดิรที่นับถือศาสนาคริสต์ จนยึดได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 631 (เดือนซุลกิอฺดะฮฺ ฮ.ศ.9) โดยคอลิดได้นำตัวประกันและขู่ว่าถ้าไม่เปิดประตูปราสาทแล้วเขาจะฆ่าตัวประกัน หลังจากนั้นศาสดามุฮัมมัดได้จ่ายค่าไถ่โดยมีอูฐ 2000 ตัว, แกะ 800 ตัว, ชุดเกราะ 400 ชุด, หอก 400 อัน และสัญญาว่าจะจ่ายจิซยะฮ์[29][30][31][32]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 631 มุฮัมมัดได้ส่งคอลิดไปที่ดุมาตุลญันดัลอีกรอบเพื่อทำลายเทวรูปวัดด์ คอลิดได้ทำลายเทวรูปพร้อมกับสถานที่บูชาและสังหารทุกคนที่ต่อต้านการทำลายเทวรูป[29][30][31][33]

สมัยอบูบักร์ (ค.ศ. 632–634)

ครอบครองทั้งคาบสมุทรอาหรับ

แผนที่เส้นทางที่คอลิดครอบครองทั้งคาบสมุทรอาหรับ

หลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต เผ่าอาหรับหลายเผ่าได้ก่อกบฏต่อรัฐเคาะลีฟะฮ์ เคาะลีฟะฮ์อบูบักร์ได้ส่งทหารไปปราบกบฎและผู้ละทิ้งศาสนา[34] คอลิดจึงเป็นหนึ่งในแม่ทัพที่อบูบักร์สั่งให้มีการวางแผนในสงครามริดดะฮ์โดยให้คำแนะนำว่าเขาต้องเป็นแม่ทัพนำชาวมุสลิมไปที่คาบสมุทรอาหรับตอนกลาง บริเวณที่เป็นศูนย์กลางของกบฎ และมีความเสี่ยงที่พวกเขาจะโจมตีมะดีนะฮ์ได้ง่าย[35]

ในช่วงกลางเดือนกันยายน ค.ศ. 632 คอลิดรบชนะตุลัยฮะฮ์[36]หนึ่งในกบฎที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาเพื่อที่จะให้ผู้คนสนับสนุนตนเอง จนอำนาจของตนเองได้หมดลงหลังจากแพ้ในสงครามคอมรา[34] หลังจากนั้นคอลิดได้ไปที่นัคราและกำจัดกบฎจากบนูซาลีมในสงครามนัครา สุดท้ายคอลิดได้ครอบครองทั้งแคว้นหลังจากสงครามซาฟัรโดยสู้รบชนะซัลมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 632[37]

ตอนนี้แคว้นรอบเมืองมะดีนะฮ์เป็นของมุสลิมแล้ว คอลิดจึงนำทัพไปที่แคว้นนัจญ์ ที่มั่นของเผ่าบนูตะมีม. มีหลายพวกที่ยอมพบคอลิดและกฎหมายของเคาะลีฟะฮ์ แต่มาลิก อิบน์ นูวัยเราะฮ์ หัวหน้าเผ่าบนูยัรบูอ์เลี่ยงการติดต่อกับคอลิดและบอกให้ผู้ติดตามแยกย้ายกันหนี โดยที่ครอบครัวของเขาจะหนีไปทางทะเลทราย[38] พร้อมกับประกาศเป็นศัตรูกับรัฐเคาะลีฟะฮ์โดยมีความร่วมมือกับซัจญะฮ์ ผู้หญิงที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดา[39] หลังจากนั้นมาลิกถูกจับพร้อมกับผู้คนของเขา[40] และคอลิดถามว่าทำไมถึงทำอย่างนี้ เขาได้ตอบว่า: "นายของเจ้าได้พูดอย่างนี้ นายของเจ้าได้พูดอย่างนั้น" คอลิดจึงประกาศว่ามาลิกเป็นกบฎผู้ละทิ้งศาสนาพร้อมกับประหารชีวิต[41]

หลังจากการเสียชีวิตของมาลิกแล้ว คอลิดได้จับลัยลา บินต์ อัลมินฮัล ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง ทหารของเขาซึ่งรวมไปถึงอบูกอตออะฮ์เชื่อว่าคอลิดฆ่ามาลิกเพื่อเอาภรรยามาเป็นของเขา จนเรื่องนี้ถึงหูของอุมัรที่ปรึกษาของอบูบักร์ แล้วอบูบักรได้เรียกคอลิดให้เข้าพบเพื่ออธิบายว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้[42]

คอลิดได้รบชนะมุซัยลิมะฮ์ คนที่อ้างตนเองว่าเป็นศาสดาในสงครามยะมามะฮ์เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 632 มุซัยลีมะฮ์ถูกฆ่าในสนามรบ และเผ่าที่เป็นกบฏก็ถูกทำลายหมดสิ้น[34]

การรุกรานจักรวรรดิเปอร์เชีย

แผนที่แสดงการพิชิดเมโสโปเตเมียตอนล่าง (อิรัก) ของคอลิด

หลังจากที่ทำลายกบฏหมดแล้วทั้งคาบสมุทรอาหรับจึงอยู่ภายใต้รัฐเคาะลีฟะฮ์ อบูบักร์ต้องการที่จะขยายอาณาจักร[43] จึงส่งคอลิดไปที่อาณาจักรเปอร์เซียพร้อมกับทหาร 18,000 นาย เพื่อยึดครองเมโสโปเตเมียตอนล่าง (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก)[44] โดยก่อนที่จะสู้รบนั้น เขาได้เขียนจดหมายไปยังฝ่ายเปอร์เซียว่า:

จงยอมรับอิสลามแล้วเจ้าจะปลอดภัย หรือจะยอมจ่ายจิซยะฮ์ (ภาษี) คุณและผู้คนของเจ้าจะอยู่ในการป้องกันของเรา ไม่เช่นนั้นเจ้าจะต้องโทษแต่ตนเองสำหรับผลที่ตามมา เนื่องจากฉันจะเป็นผู้ทำให้เจ้าตายสมกับที่เจ้ามีชีวิต[45]

— คอลิด อิบน์ วะลีด

เขาได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วในสี่สมรภูมิ ได้แก่: สงครามโซ่ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 633; สงครามแม่น้ำ ในช่วงสามสัปดาห์ของเดือนเมษายน ค.ศ. 633; สงครามวาลาจา ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633 และสงครามอุลลัยส์ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633[46] ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 633 อัลฮิราเมืองหลวงประจำแคว้นเมโสโปเตเมียตอนล่างตกเป็นของมุสลิม โดยชาวเมืองยอมจ่ายจิซยะฮ์ (ภาษี) และสัญญาว่าจะช่วยฝ่ายมุสลิม[47] หลังจากให้กองทัพพักผ่อนแล้ว คอลิดได้นำกองทัพบุกเมืองอันบาร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 633 แล้วล้อมเมืองจนกระทั่งพวกเขายอมแพ้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 633[48] แล้วไปทางตอนได้พร้อมกับยึดเมืองอัยนุลตัมร์ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 633[49]

ตอนนี้เกือบทั้งเมโสโปเตเมียตอนล่าง (แคว้นยูเฟรทีสตอนเหนือ) อยู่ภายใต้การควบคุมของคอลิดแล้ว แต่มีจดหมายถึงคอลิดว่าที่ดุมาตุลญันดัล อิยาด อิบน์ คันม์ ถูกล้อมรอบโดยพวกกบฎ คอลิดจึงต้องลงไปจัดการกับกบฎในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 633[46] ในตอนที่เขาคอลิดกำลังกลับไปที่เมโสโปเตเมีย คอลิดได้บอกว่า เขาแอบไปที่มักกะฮ์เพื่อไปทำ ฮัจญ์[50]

ในตอนที่เขากลับมาจากอารเบีย คอลิดได้รู้จากคนสอดแนมว่ามีกองกำลังทหารเปอร์เซียและชาวอาหรับคริสเตียนขนาดใหญ่[46]ประจำค่ายอยู่สี่ที่ในแคว้นยูเฟรติส ได้แก่เมือง ฮานาฟิซ, ซูมัยล์, ซานิย์ และบริเวณที่ทหารมากที่สุดคือเมืองมูซัยยะฮ์ คอลิดจึงพยายามเลี่ยงสงครามแบบประชันชิดกับกองทัพเปอร์เซียและตัดสินใจบุกทำลายค่ายแต่ละค่ายในเวลากลางคืนโดยการแบ่งทหารเป็นสามหน่วย[51] แล้วจัดการกับกองทัพเปอร์เซียตอนกลางคืน โดยเริ่มที่มูซัยยะฮ์, ซานิย์ และซูมัยล์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 633[52]

ชาวมุสลิมชนะชาวเปอร์เซียในการยึดเมโสโปเตเมียตอนล่างและเมืองทีไซฟอน (Ctesiphon) ที่ไม่มีทหารเฝ้าเมืองอยู่ ก่อนที่จะโจมตีเมืองหลวงของเปอร์เซีย คอลิดตัดสินใจว่าต้องจัดการทหารทางทิศใต้และตะวันตก พร้อมกับเคลื่อนทัพไปที่ชายเมืองฟิราซ แล้วรบชนะกองทหารผสมที่มีทหารเปอร์เซีย, ไบเซนไทน์ และอาหรับคริสเตียนพร้อมกับยึดป้อมปราการในสงครามฟิราซ ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 633[53] นี่จึงเป็นสงครามสุดท้ายเพื่อที่ครอบครองเมโสโปเตเมียตอนล่าง

ระหว่างที่อยู่ในอิรัก คอลิดได้ตำแหน่งผู้ว่าราชการทหารในบริเวณที่ครอบครอง[54]

การรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์

แผนที่แสดงการรุกของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนที่ลิแวนต์

หลังจากยึดแคว้นในจักรวรรดิเปอร์เซียได้แล้ว เคาะลีฟะฮ์อบูบักร์จึงมีรับสั่งให้ไปบุกรุกที่ซีเรีย โดยให้มีการแบ่งทหารเป็นสี่ส่วน แต่ละกลุ่มมีจุดหมายที่แตกต่างกัน ส่วนฝั่งไบเซนไทน์ได้รวบรวมทหารจากทุกค่าย[55] สิ่งนี้ทำให้ทหารมุสลิมไม่สามารถเดินแถวไปยึดซีเรียตอนกลางหรือเหนือได้[56]

เส้นทางที่จะไปซีเรียมีสองทาง โดยเส้นทางแรกเป็นทางไปเดามะตุลญันดัล (ปัจจุบันคือ ซะกากา) และอีกทางคือผ่านเมโสโปเตเมียทางเมืองรักกา ตอนนี้ทหารมุสลิมอยู่ที่ซีเรียแล้ว คอลิดจึงเลี่ยงเส้นทางไปเดามะตุลญันดัล เนื่องจากระยะทางไกลและใช้เวลาหลายสัปดาห์ที่จะไปถึงซีเรีย และเลี่ยงเส้นทางผ่านเมโสโปเตเมีย เพราะมีค่ายทหารโรมันอยู่ที่ซีเรียตอนเหนือและเมโสโปเตเมีย[57] คอลิดจึงเลือกทางไปซีเรียโดยผ่านทะเลทรายซีเรีย[58] และสั่งให้เดินขบวนผ่านทะเลทรายโดยไม่ต้องดื่มน้ำเป็นเวลาสองวัน[55] ก่อนที่จะถึงโอเอซิส คอลิดได้บอกให้พวกเขาเก็บน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น แล้วให้อูฐดื่มน้ำทันทีหลังจากไม่ได้ดื่มเป็นเวลานาน โดยอูฐจะเก็บน้ำไว้ในท้องของมัน ซึ่งจะทำให้พวกเขาอาจจะต้องฆ่าอูฐเพื่อที่จะเอาน้ำ ถ้าจำเป็น[58]

แผนที่แสดงเส้นทางที่คอลิดบุกรุกที่ซีเรีย

คอลิดเข้าไปที่ซีเรียในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 634 แล้วยึดเมืองซาวา อะรัก, ปัลมิยรา, อัลซุคนะฮ์ และสู้รบเพื่อยึดครองเมืองอัลกอรยาตัยน์ และฮุววาริน หลังจากนั้นจึงไปต่อที่บัสรา เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนซีเรีย-อารเบียและเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคอสซานิด ประเทศราชของจักรวรรดิไบเซนไทน์ตะวันออก เขาข้ามเมืองดามัสกัสโดยการข้ามทางภูเขาเพื่อจะไปที่มะราจ อัลราฮาต เพื่อสู้กับพวกคอสซานิด[59]

เมื่อข่าวมาถึงคอลิดแล้ว อบูอุบัยดะฮ์จึงสั่งให้ชูรฮาบิล อิบน์ ฮาซานา หนึ่งในสี่แม่ทัพไปโจมตีเมืองบัสราโดยมีทหาร 4,000 นาย โดยที่ทหารไบเซนไทน์และอาหรับคริสเตียนไม่สามารถต้านทานได้[60] และยึดเมืองได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 634 ทำให้ราชวงศ์คอสซานิดต้องถึงจุดจบ[61] หลังจากยึดเมืองบัสราได้แล้ว คอลิดจึงนำทหารทั้งหมดไปที่อัจนาดัยน์แล้วสู้กับทหารไบเซนไทน์ในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 634[62]

หลังจากทหารไบเซนไทน์พ่ายแพ้ในสงครามอัจนาดัยน์ คอลิดตัดสินใจยึดเมืองดามัสกัส ที่ยึดมั่นของทหารไบเซนไทน์ ในขณะเดียวกันที่ดามัสกัส โทมัส ลูกเขยของจักรพรรดิเฮราคลิอุส กำลังเสริมการป้องกันในเมือง[63] รู้ว่าคอลิดกำลังมาที่นี่ เขาจึงเขียนจดหมายไปยังจักรพรรดิเฮราคลิอุสเพื่อต้องการทหารเพิ่ม และที่มากกว่านั้น เขาต้องการที่จะหยุดการเดินทางของคอลิดโดยนำกองทัพออกไปรบ พร้อมกับแบ่งไปที่เมืองยากูซาและมาราจ อัส-ซัฟฟารในวันที่ 19 สิงหาคม.[64] โดยขณะเดียวกัน กองทัพของเฮราคลีอุสได้มาถึงดามัสกัสในวันที่ 20 สิงหาคม คอลิดจึงแยกกองทัพโดยให้ส่วนหนึ่งไปทางตอนใต้ (ทางไปปาเลสไตน์) ,ตอนเหนือ (ทางไปดามัสกัส-เอมีซา) และกองทัพเล็กๆ ไปที่ดามัสกัส ทหารของจักรพรรดิเฮราคลิอุสได้รู้เรื่องนี้แล้วเดินทางไปทางของคอลิดแล้วก่อสงครามที่ซานิตา อัลอุกอบ ซึ่งอยู่ห่างจากดามัสกัสไป 30 กม.[65]

คอลิดจึงสู้และยึดครองซีเรียในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 634 หลังจากล้อมเมืองไป 30 วัน มีรายงานว่า ยุทธวิธีครั้งนี้อาจจใช้เวลาประมาณ 4 - 6 เดือน[66] จักรพรรดิเฮราคลีอุสได้ข่าวมาว่าเมืองซีเรียถูกยึดแล้ว จึงเหลือแค่เมืองแอนติออกในเอมีซา หลังจากสู้รบแล้ว คอลิดจึงใช้ทางลัดที่ไม่รู้จักเพื่อที่จะสู้รบกับกองทัพต่อ[67] โดยอยู่ห่างจากดามัสกัสทางตอนเหนือไป 150 กม. ในขณะเดียวกัน อบูบักร์เสียชีวิตในระหว่างสงครามดามัสกัส แล้วอุมัรกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป

สมัยอุมัร (634–642)

ถอดถอนจากการเป็นจอมทัพ

หลังจากอบูบักร์เสียชีวิตในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 634 จึงทำให้อุมัร ลูกพี่ลูกน้องของคอลิด เป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[58] สิ่งแรกที่อุมัรทำนั้นคือย้ายคอลิดออกจากผู้บัญชาการทางทหารสูงสุดให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพของรัฐเคาะลีฟะฮ์อัรรอชีดีนและให้อบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอฮ์ทำหน้าที่นี้แทน[66] คอลิดเริ่มที่จะไม่เชื่ออุมัร (เนื่องจากเขาไม่เคยแพ้สงครามใดๆ ทั้งสิ้น) อุมัรจึงบอกว่า:"ฉันไม่ได้ถอดถอนคอลิดเพราะความโกรธของฉันหรือความไม่ซื่อสัตย์จากเขา แต่เหตุผลที่ฉันถอดถอนเพราะฉันต้องการให้พวกเขารู้ว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้ชัยชนะให้กับพวกเรา"[68]

ครอบครองซีเรียตอนกลาง

เส้นทางที่คอลิดบุกรุกในซีเรียตอนกลาง

หลังจากที่อบูอุบัยดะฮ์เป็นจอมทัพแล้ว เขาจึงส่งกองทัพเล็กไปที่อบูอัลกุดส์ (ปัจจุบันคือเมืองอับลา) โดยอยู่ใกล้เมืองซาเล่ประมาณ 50 กม. ทางตะวันออกของเบรุต เพื่อทำลายป้อมทหารในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 634 พร้อมกับได้ทรัพย์สินและนักโทษโรมันอีกร้อยคน[69]

ตอนนี้ซีเรียตอนกลางถูกครอบครอง และเส้นทางเชื่อมระหว่างซีเรียตอนเหนือกับปาเลสไตน์ถูกตัดขาดแล้ว อบูอุบัยดะฮ์จึงนำกองทัพไปที่ฟะฮัล (เปลลา) ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล500 ft (150 m) และเป็นที่กองทหารและผู้รอดชีวิตจากสงครามอัจนาดัยน์ของไบเซนไทน์อาศัยอยู่[70] แล้ววางแผนข้ามแม่น้ำจอร์แดนในบริเวณที่พวกเขาขวางกั้นน้ำ แล้วสู้รบจนชนะกองทัพไบเซนไทน์ในคืนวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 635[58]

สงครามยัรมูก

ขณะเดียวกัน จักรพรรดิเฮราคลีอุสทรงแต่งตั้งกองทัพเพื่อยึดซีเรียกลับมาอีกครั้ง โดยใช้เส้นทางที่เลี่ยงทหารมุสลิมในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 636[71] ต่อมา คอลิดเริ่มห่วงว่าทหารมุสลิมอาจถูกแยกและกำจัดโดยง่าย จึงแนะนำให้อบูอุบัยดะฮ์รวมกองทัพมุสลิมให้เป็นหนึ่ง เพื่อรับมือกับกองทัพไบเซนไทน์[72]

อบูอบัยดะฮ์สั่งให้ทหารมุสลิมในซีเรียทั้งหมดให้เคลื่อนตัวไปที่ญาบิยะฮ์ตามคำแนะนำของคอลิด[73] ซึ่งทำให้แผนของเฮราคลีอุสล้มเหลว เนื่องจากเขาไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับชาวมุสลิม ซึ่งอาจจะทำให้กองทัพของพระองค์ถูกทำลายได้

อบูอบัยดะฮ์สั่งให้กองทัพมุสลิมเรียงตัวตามพื้นที่ราบของแม่น้ำยัรมูก ซึ่งจะทำเป็นแหล่งผลิตหญ้าและน้ำได้ดีและสามารถใช้ทหารม้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น[74] พร้อมให้ทุกคนทำตามคำสั่งของคอลิด[75]

ณ วันที่ 15 สิงหาคม สงครามยัรมูกได้เกิดขึ้นและกินเวลาไป 6 วัน โดยที่ฝ่ายไบเซนไทน์พ่ายแพ้อย่างหนัก[76]

ครอบครองเมืองเยรูซาเลม

ในขณะที่ทหารไบเซนไทน์กำลังสับสนอยู่นั้น ชาวมุสลิมสามารถยึดเมืองยัรมูคได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นจึงไปทางตอนใต้เพื่อยึดเมืองเยรูซาเลม ที่ซึ่งทหารไบเซนไทน์หลบภัยมาอยู่ที่นี่[77] จึงมีสงครามอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นชาวเมืองจึงยอมแพ้แต่ต้องให้เคาะลีฟะฮ์มาที่นี่ด้วยตนเอง อัมร์ อิบน์ อัลอาสจึงแนะนำคอลิดให้รับสั่งเคาะลีฟะฮ์มาที่นี่ ดังนั้นอุมัรจึงมาที่นี่แล้วชาวเมืองยอมให้ครอบครองเยรูซาเลมในเดือนเมษายน ค.ศ. 637[78]

ครอบครองซีเรียตอนเหนือ

แผนที่แสดงทางที่คอลิดบุกรุกที่ซีเรียตอนเหนือ

ตอนนี้เมืองเอมีซาอยู่ในกำมือแล้ว อบูอุบัยดะฮ์และคอลิดจึงนำทัพไปที่กอดีซียะฮ์ เป็นบริเวณที่ทหารไบเซนไทน์ป้องกันอานาโตเลีย บ้านเกิดของจักรพรรดิเฮราคลีอุส, อาร์มีเนียและเมืองแอนติออก อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดไปที่กินนัสริน[79] โดยที่ป้อมมีทหารกรีกภายใต้คำสั่งแม่ทัพเมนาส โดยที่เขามีแผนที่จะทำลายทหารของคอลิดก่อนที่พวกเขาจะรวมตัวกันที่ฮาซิรที่ห่างออกไป 5 กม. ทางตะวันออกของกินนัสริน แต่กลับพ่ายแพ้ในสงครามฮาซิร[80]

อบูอุบัยดะฮ์ได้เข้าร่วมกับคอลิดหลังจากชนะสงครามที่กินนัสรินในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 637 จึงทำให้ทางตอนเหนือของกินนัสรินเหมาะที่จะเดินทัพไปยึดเมืองอะเลปโปจากไบเซนไทน์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 637[81]

ก่อนที่จะยกทัพไปแอนติออก คอลิดและอบูอุบัยดะฮ์ตัดสินใจแยกเมืองรอบๆ อานาโตเลีย โดยการยึดฐานทัพที่ตั้งไว้รอบๆ ทางไปแอนติออก และมีสงครามเกิดขึ้นโดยที่นักรบชาวแอนติออกได้ตั้งทัพอยู่ใกล้แม่น้ำโอรอนเตส โดยรู้จักในชื่อสงครามสะพานเหล็ก[82]

อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดให้ไปทางเหนือ ในขณะที่เขาไปทางใต้แล้วยึดเมืองลัซเกีย, ญับลา, ทาร์ทุส และชายทะเลของเทือกเขาแอนตี-เลบานอนตะวันตก ส่วนคอลิดได้บุกรุกที่แม่น้ำเกอเซอ (เกอเซอเลอมาก) ในอานาโตเลีย แต่จักรพรรดิเฮราคลีอุสได้หนีออกจากแอนติออก แล้วไปที่เอเดสซาก่อนที่ชาวมุสลิมจะมาถึง พร้อมกับจัดกองทัพไว้ที่ญาซีรา และอาร์มีเนีย จากนั้นจึงไปที่คอนสแตนติโนเปิลโดยเกือบที่จะถูกคอลิดจับได้ หลังจากที่เขาได้ยึดเมืองมาราชแล้วไปทางตอนใต้ไปที่มันบิจ[83] จักรพรรดิเฮราคลีอุสทรงใช้ทางภูเขาแล้วผ่านกำแพงซิลิเซียนพร้อมกับตรัสว่า:

ลาก่อน แล้วลาลับให้กับซีเรีย จังหวัดของข้าได้ตกไปยังน้ำมือของศัตรูแล้ว ...โอ้ซีเรีย – แผ่นดินที่สวยงามที่กำลังตกอยู่ในกำมือของศัตรู[84]

— จักรพรรดิเฮราคลีอุส

การต่อสู้ในอาร์มีเนียและอานาโตเลีย

แผนที่แสดงเส้นทางที่คอลิดบุกไปที่อาร์มีเนียและอานาโตเลีย

อุมัรได้สั่งให้ไปยึดเมืองญาซีรา โดยทำสำเร็จในช่วงปลายฤดูร้อน ปีค.ศ. 638 หลังจากยึดเมืองญาซีราแล้ว อบูอุบัยดะฮ์ได้ส่งคอลิดและอิยาด อิบน์ กันม์ไปยึดครองบริเวณทางเหนือของญาซิรา[85] โดยพวกเคลื่อนทัพไปอย่างอิสระ และยึดเมืองเอเดสซา อะมิดา (ดิยาบาเกิร), มาลาเตีย พร้อมบุกรุกไปถึงอาร์มีเนียของไบเซนไทน์, แคว้นอะรารัต และอานาโตเลียตอนกลาง เฮราคลีอุสได้ทิ้งป้อมทั้งหมดที่อยู่ระหว่างแอนติออกกับทาร์ทุส เพื่อสร้างเขตกันชนระหว่างบริเวณที่ชาวมุสลิมควบคุมและเขตอานาโตเลีย[86]

ตอนนั้นเองอุมัรได้กล่าวไว้ว่า:"ฉันหวังว่าเราจะมีกำแพงไฟระหว่างเรากับชาวโรมัน นั่นจะทำให้พวกเขาเข้ามาไม่ได้ และเราก็ไปต่อไม่ได้เช่นกัน"[87]

ถูกถอดถอนจากการเป็นทหาร

ตอนนี้ คอลิด เป็นโด่งดังและมีคนชื่นชอบเขามาก สำหรับชาวมุสลิมแล้ว เขาคือวีรบุรุษของชาติ[88] และรู้จักกันในสมญานามว่า ซัยฟุลลอฮ์ ("ดาบของอัลลอฮ์")

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากยึดเมืองมาราช (คาฮ์รามามันมาราช)ในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ. 638 โดยมีคนแต่งกวีให้กับคอลิดพร้อมกับรับเงินจำนวน 10,000 ดิรฮัมจากเขา โดยเงินนี้ได้มาจากกองคลังของเคาะลีฟะฮ์[89]

อุมัรได้พูดกับอบูอุบัยดะฮ์ว่าคอลิดนำเงินมาจากไหนให้นักกวีคนนั้น: เป็นเงินจากกระเป๋าของเขาหรือของกองคลัง? ถ้าเขาบอกว่าใช้เงินของกองคลัง เขาจะมีความผิดฐานไม่ซื่อสัตย์[90] ถ้าบอกว่าใข้เงินในกระเป๋าของเขา ก็มีความผิดฐานฟุ่มเฟือย แต่ถ้าไม่ใข่ทั้งคู่เขาสมควรถูกปลดแล้วให้อบูอุบัยดะฮ์ทำหน้าที่นี้แทน[91]

คอลิดได้ไปที่กินนัสรีนและกล่าวลากับกองทหารเคลื่อนที่ของเขาแล้วไปที่มะดีนะฮ์เพื่อไปพบกับอุมัร พร้อมกับอธิบายว่าเขาทำอะไรผิด อุมัรจึงกล่าวคำสรรเสริญให้กับเขาว่า:"เจ้าได้ทำแล้ว และไม่มีชายคนใดเคยทำได้มาก่อน แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนทำ นั่นเป็นสิ่งที่อัลลออ์กำหนด..."[92]

หลังจากนั้นอุมัรได้อธิบายให้เข้าใจว่า:

ฉันไม่ได้ถอดถอนคอลิดเพราะความโกรธของฉันหรือความไม่ซื่อสัตย์จากเขา แต่เพราะผู้คนได้สรรเสริญเขา และฉันจึงกลัวว่าผู้คนคนจะพึ่งพาเขา ฉันต้องการให้พวกเขารู้ว่าอัลลอฮ์เท่านั้นที่ให้ชัยชนะให้กับพวกเรา และแผ่นดินจะได้ไม่มีผู้หวังร้ายแน่นอน[93]

— เคาะลีฟะฮ์อุมัร

และด้วยเหตุนี้เองทำให้ความสำเร็จทางทหารของคอลิดได้มาถึงจุดจบ

เสียชีวิต

สุสานของคอลิดในมัสยิดคอลิด อิบนุ วะลีด, ฮอมส์ – ประเทศซีเรีย
สุสานของคอลิด

หลังจากถูกถอดถอนออกจากการเป็นทหารมา 4 ปี คอลิดก็เสียชีวิตและถูกฝังที่เอมีซาในปีค.ศ. 642 ปัจจุบันสุสานของเขาอยู่ในมัสยิดคอลิด อิบนุ วะลีด ป้ายสุสานของคอลิดแสดงรายชื่อสงครามมากกว่า 50 ครั้งโดยที่เขาไม่เคยแพ้ (ไม่รวมสงครามย่อยๆ)[94] มีรายงานว่าเขาต้องการที่จะเสียชีวิตในฐานะผู้พลีชีพในสงคราม แต่ได้รับความผิดหวังเมื่อเขารู้ว่าจะต้องเสียชีวิตบนเตียงนอน[95] คอลิดจึงรู้สึกเศร้าเสียใจ แล้วพูดว่า:

ข้าได้เข้ารบหลายครั้ง เพื่อที่จะเป็นผู้พลีชีพ ร่างกายของข้าไม่มีรอยจุด, แผลเป็น และรอยแผลที่เกิดจากหอกหรือดาบเลย และตอนนี้ข้าต้องนอนตายเหมือนกับอูฐแก่...[96]

— คอลิด อิบน์ วะลีด

เมื่อเห็นเขารู้สึกเศร้า เพื่อนของคอลิดจึงบอกว่า:

เจ้าต้องเข้าใจนะ โอ้คอลิด เมื่อศาสนทูตของอัลลอฮ์ (มุฮัมมัด) ขอความสันติจงมีแด่ท่าน ได้ให้สมญานามเจ้าว่า ซัยฟุลลอฮฺ และท่านกำหนดไว้ว่าเจ้าจะไม่แพ้สมรภูมิใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเจ้าถูกฆ่าโดยผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว นั่นหมายความว่าดาบของอัลลอฮ์ได้ถูกทำลายลงโดยศัตรูของอัลลอฮ์; และนั่นไม่สมควรที่จะเกิดขึ้น[97]

— เพื่อนเก่าของคอลิด

นี่คือคำพูดที่พูดไว้แค่วันเดียวก่อนที่คอลิดจะเสียชีวิต อุมัรได้ร้องไห้หนักมากและกล่าวว่า:

ขอให้พระองค์ทรงเมตตาเจ้า อบู สุไลมาน (คอลิด) สิ่งที่เจ้าทำตอนนี้ดีกว่าสิ่งที่เจ้ามีในวันนี้ ตอนนี้เจ้าอยู่กับองค์อัลลอฮ์แล้ว...[98]

— อุมัร อิบน์ คอฏฏอบ

ครอบครัว

คอลิดมีภรรยาและลูกหลายคน รายชื่อด้านล่างนี้คือลูกที่มีในบันทึกทางประวัติศาสตร์

ลูกชายของวะลีด ได้แก่:
  • ฮิชาม อิบน์ วะลีด
  • วะลีด อิบน์ วะลีด
  • อัมมาระฮ์ อิบน์ วะลีด
  • อับดุลชาม อิบน์ วะลีด[7]
ลูกสาวของวะลีด ได้แก่:
  • ฟัคตะฮ์ บินต์ วะลีด
  • ฟาติมะฮ์ บินต์ วะลีด[7]
  • นาจิยะฮ์ บินต์ อัลวะลีด (เป็นข้อโต้เถียง)[ต้องการอ้างอิง]

ไม่มีใครรู้ว่าคอลิดมีลูกกี่คน แต่มีอยู่สามคนที่ถูกกล่าวในประวัติศาสตร์ ได้แก่:

  • สุไลมาน อิบน์ วะลีด
  • อับดุลเรมาน อิบน์ วะลีด
  • มุฮาญิร อิบน์ วะลีด[99]

สุไลมาน ลูกชายที่แก่ที่สุดของคอลิดถูกฆ่าในอียิปต์[99] แต่มีบางรายงานเขียนว่าเขาถูกฆ่าในสงครามดิยาร์บากิรในปี ค.ศ. 639[100] มุฮาญิร อิบน์ วะลีดเสียชีวิตในสงครามซิฟฟิน และอับดุลเรมาน อิบน์ วะลีดยังคงเป็นผู้ว่าราชการเมืองเอมีซาในสมัยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน แล้วเข้าร่วมสงครามซิฟฟินโดยเป็นหนึ่งในแม่ทัพของมุอาวิยะฮ์ที่ 1, เข้าร่วมยึดคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 674 อับดุลเรมาน อิบน์ วะลีด จึงกลายเป็นคนที่จะเป็นกษัตริย์คนต่อไป แต่มีรายงานว่าเขาโดนวางยาพิษของมุอาวิยะฮ์[99] เพราะว่าเขาต้องการให้ยะซีดที่ 1 ลูกชายของเขาเป็นกษัตริย์คนต่อไปแทน[99]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

ข้อมูลปฐมภูมิ

  • Al-Baladhuri, Ahmad ibn Yahya (9th century), Kitab Futuh al-Buldan {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Al-Tabari, Muhammad ibn Jarir al-Tabari (915), History of the Prophets and Kings
  • Al-Waqidi, Abu Abdullah Muhammad Ibn Umar (8th century), Fatuh al Sham (Conquest of Syria) {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Dionysius Telmaharensis (774), Chronicle of Pseudo-Dionysius of Tell-Mahre
  • Ibn Hisham, Abd al-Malik bin Hisham (9th century), As-Sirah an-Nabawiyyah (Biography of Prophet Muhammad) {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Ibn Ishaq (750), Sirah Rasul Allah
  • Ibn Qutaybah, Abdullaah bin Muslim (9th century), ‘Uyūn al-Akhbār (In history) {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • The Maronite Chronicles, 664
  • Palmer, Andrew; Brock, Sebastian P; Hoyland, Robert (637 & 819), "Chronicles of 637 and 819", West-Syrian Chronicles, ISBN 9780853232384 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • Khalid Bin Waleed, Sword of Allah, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2013

ข้อมูลทุติยภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย