ความพยายามรัฐประหารในประเทศสเปน พ.ศ. 2524

ความพยายามรัฐประหารในประเทศสเปน พ.ศ. 2524 (สเปน: Golpe de Estado en España de 1981) หรือ เบย์นตีเตรส-เอเฟ (สเปน: 23-F) เป็นเหตุการณ์ความพยายามรัฐประหารในประเทศสเปน

ความพยายามรัฐประหารในประเทศสเปน พ.ศ. 2524
ส่วนหนึ่งของ การเปลี่ยนผ่านระบอบประชาธิปไตยในสเปน
วันที่23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 -​ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
สถานที่
ผล

รัฐประหารล้มเหลว

  • การคงไว้ซึ่งข้อปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญสเปน
  • ทหาร 27 นายจากกองทัพสเปน ทหาร 70 นาย จากหน่วยยามพลเรือนสเปน และพลเรือนที่ร่วมก่อการ 1 คน ถูกตัดสินจำคุกในฐานก่อกบฏ โดยศาลทหารสูงสุด
  • เลโอโปลโด กัลโบ โซเตโน ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีสเปน
คู่สงคราม

สเปน ราชอาณาจักรสเปน

  • หน่วยพิทักษ์พลเรือน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • กองทัพสเปน (ทุกเหล่าทัพ ยกเว้นกองพลบาเลนเซีย)
  • เหล่าตำรวจแห่งชาติ
  • เซซิด
สนับสนุนโดย:
สหภาพยุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

สเปนภายใต้การนำของฟรังโก กลุ่มทหารหน่วยพิทักษ์พลเรือนและทหารสเปนที่นิยมระบอบฟรังโก

  • นายทหารกองพลบาเลนเซีย
  • ทหารพิทักษ์พลเรือน (ฝ่ายกบฏ)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1
สเปน อาโดลโฟ ซัวเรซ
สเปน เลโอโปลโด กัลโบ โซเตโล
สเปน เฟลิเป กอนซาเลซ
สเปน มานูเอล กูติเอร์เรซ เมยาโด
สเปน กิเยร์โม กินตานา ลากาซิ
สเปน ลันเดลิโน ลาบิยา
สเปนภายใต้การนำของฟรังโก อันโตนิโอ เตเฆโร
สเปนภายใต้การนำของฟรังโก ไฆเม มิลันส์ เดล โบสก์
สเปนภายใต้การนำของฟรังโก อัลฟอนโซ อาร์มาดา
กำลัง
ทหารจากกองทัพสเปนและเหล่าตำรวจสเปนทั้งหมดที่ทำการต่อต้านการรัฐประหาร1,800 นาย (ในบาเลนเซีย)
ทหารพิทักษ์พลเรือน 200 นาย (ใน​มาดริด)
รถถังกับพาหนะทางทหารหลายสิบสัน
ความสูญเสีย
ไม่มีไม่มี

เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 และสิ้นสุดลงในวันรุ่งขึ้น เหตุการณ์นี้ยังรู้จักกันในอีกชื่อว่า เอลเตเฆราโซ (El Tejerazo) ซึ่งมาจากฉายาบุคคลที่โดดเด่นที่สุดของอันโตนิโอ เตเฆโร (Antonio Tejero) ผู้นำกลุ่มสารวัตรทหาร จากหน่วยพิทักษ์พลเรือน (Guardia Civil) ติดอาวุธ 200 นาย พังเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎรสเปนระหว่างกระบวนการเลือกตั้งเลโอโปลโด กัลโบ โซเตโลให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน พระมหากษัตริย์ ทรงออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ประณามรัฐประหารและกระตุ้นให้ธำรงไว้ซึ่งกฎหมายและความต่อเนื่องของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ไม่นานรัฐประหารก็ล้มเหลว หลังยึดรัฐสภาและจับคณะรัฐมนตรีเป็นตัวประกันไว้นาน 18 ชั่วโมง กลุ่มสารวัตรทหารฝ่ายเตเฆโรได้ยอมจำนนและถูกจับกุมโดยกำลังผสมฝ่ายรัฐบาลในเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย

พันโท อันโตนิโอ เตเฆโร ถูกตัดสินโทษจำคุก 30 ปี แต่ได้รับการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2539[1] รวมจำคุกจริง 15 ปี 9 เดือน

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย